รายงานทบทวนและประมวลผลองค์ความรู้สุขภาวะเชิงประเด็น “ลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนน” อย่างเป็นระบบ

<p><strong>บทสรุปผู้บริหาร</strong></p> <p>ในช่วงที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนภาคีเครือข่ายดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพจนเกิดองค์ความรู้ต่างๆ จำนวนมาก ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะจึงได้สนับสนุนการประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้สุขภาวะ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือสำหรับสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการเนื้อหาสารานุกรมข้อมูลสุขภาวะและสื่อสารในช่องทางที่หลากหลาย เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้สุขภาวะ โดยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับ <strong>&ldquo;ความปลอดภัยทางถนน (อุบัติเหตุ)&rdquo;</strong> เป็นหนึ่งในประเด็นดังกล่าว&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>การประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้ครั้งนี้ ใช้ &ldquo;ห้าเสาหลัก (5 Pillars) ของการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน&rdquo; ซึ่งเป็นกรอบข้อเสนอตามแผนปฏิบัติการทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) พร้อมทั้งกรอบแนวคิดการดำเนินงานและห่วงโซ่ผลลัพธ์ของแผนการจัดการความปลอดภัยทางถนน สสส. เป็นกรอบในการดำเนินงาน</p> <p>ผลจากการสืบค้นข้อมูลองค์ความรู้ทั้งจาก สสส. ภาคีเครือข่ายที่ สสส. สนับสนุนและหน่วยงานอื่นๆ มากกว่า 200 ชิ้นงาน โดยนำมาจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ พบว่า มีข้อมูลความรู้ที่สำคัญ ดังนี้&nbsp;</p> <p><strong>1. ข้อมูลความรู้ที่แสดงสถานการณ์การเกิดอุบัติทางถนน </strong>จัดทำโดยหน่วยงานต่างๆ อาทิ หน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิไทยโรดส์ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ (ThaiRSC) ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ฯลฯ ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลแตกต่างกันไป อาทิ ข้อมูลตามตัวชี้วัดในภาพรวม จำแนกตามกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้รถใช้ถนน (เช่น กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ กลุ่มเปราะบาง VRUs และอื่นๆ)&nbsp; จำแนกตามประเภทยานพาหนะ (เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถโดยสารสาธารณะ ฯลฯ) จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง (ถนนและสิ่งแวดล้อม) /พฤติกรรมเสี่ยง (เช่น เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ใช้ความเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด ฯลฯ) จำแนกรายจังหวัด/พื้นที่ (เมืองหลัก-เมืองรอง-ชนบท) สถานการณ์เกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาล (ปีใหม่/สงกรานต์) รวมทั้งนำเสนอในรูปแบบหลากหลาย เช่น ตาราง/กราฟ รายงาน แผนที่ GIS ฯลฯ &nbsp;</p> <p><strong>2. ข้อมูลความรู้ที่บ่งชี้ถึงสาเหตุและผลกระทบของอุบัติเหตุทางถนน </strong>พบว่า มีงานศึกษาปัจจัยจากพฤติกรรมของคนเป็นส่วนใหญ่ เช่น การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยก พฤติกรรมการใช้ความเร็ว พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ รถยนต์และรถกระบะ พฤติกรรมการขับขี่ของวัยคะนอง ส่วนข้อมูลความรู้ที่สะท้อนผลกระทบจากอุบัติเหตุทางถนนพบงานศึกษาอยู่บ้าง เช่น การศึกษาผลกระทบ การประกันภัยและการชดเชยเยียวยาผู้ประสบเหตุรถโดยสารสาธารณะ การศึกษาผลกระทบ<br /> ทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น&nbsp;</p> <ol> <li><strong>ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนน</strong>ภายใต้แนวคิด 5 เสาหลัก (5 Pillars) จำแนกเป็น</li> </ol> <p>เสาหลักที่ 1: การบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Management) อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนากลไกขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนนตั้งแต่ระดับประเทศสู่ระดับจังหวัด อำเภอและท้องถิ่นของหน่วยงานภาคีต่างๆ ที่มีการสรุปบทเรียนการดำเนินงานทั้งเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ออกมาเป็นรายงาน คู่มือ แนวทาง (How to) หรือ Power point ฯลฯ รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน&nbsp;</p> <p>เสาหลักที่ 2: การสร้างความปลอดภัยด้านโครงสร้างถนนและสภาพแวดล้อมริมทาง (Safer Road and Mobility) มีการพัฒนาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการสร้างและปรับปรุงถนนให้ปลอดภัย เช่น คู่มือการออกแบบทางข้าม หนังสือทางแยกชุมชนปลอดภัย กล่องความรู้การแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน ฯลฯ รวมถึงงานศึกษาการพัฒนากลไกการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนสำหรับรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ อปท.</p> <p>เสาหลักที่ 3 การส่งเสริมการใช้ยานพาหนะที่ปลอดภัย ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะ</p> <p>เสาหลักที่ 4 การส่งเสริมความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน มีข้อมูลความรู้รองรับมากที่สุดและมีความหลากหลายทั้งในเชิงประเด็นและเชิงกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมการสร้างความปลอดภัยทางถนนในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน และการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน มีการนำเสนอหลากหลายรูปแบบ เช่น คู่มือจัดการความเร็วในชุมชน ชุดคู่มือเสริมสร้างความปลอดภัยของคนเดินเท้า คู่มือการดำเนินโครงการติดตั้งกล้อง CCTV ผลการศึกษาวิจัย เอกสารสรุปถอดบทเรียนจากการดำเนินงานในพื้นที่ ข้อเสนอเชิงนโยบายและอื่นๆ</p> <p>เสาหลักที่ 5 การช่วยเหลือและรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน&nbsp; มีข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อยและเป็นงานศึกษาที่เจาะจงบางกลุ่มบางพื้นที่&nbsp;</p> <p>ในการจัดระดับข้อมูลองค์ความรู้ พบว่า ข้อมูลความรู้ที่ประมวลไว้ทั้งหมดมีความหลากหลายทั้งในเชิงรูปแบบ ความเข้มข้นและปริมาณของเนื้อหาสาระ อายุของผลงานแต่ละเรื่อง รวมถึงข้อจำกัดในการตรวจสอบคุณภาพและความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน จึงทำการคัดเลือกบางหมวดข้อมูลความรู้ที่มีสาระความรู้เพียงพอต่อการใช้งาน ควบคู่ไปกับการพิจารณาความต้องการหรือประโยชน์ในการขับเคลื่อนงานของกลุ่มเป้าหมาย มานำเสนอเป็นตัวอย่างให้เห็นโอกาสของการพัฒนาเป็นชุดความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ เอกสารคู่มือ หลักสูตรการเรียนรู้ ฯลฯ ที่จะใช้ในการปฏิบัติงานทั้งในเชิงกลุ่มเป้าหมาย เชิงประเด็นและเชิงกลไก ยกตัวอย่างการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนนระดับจังหวัด &ndash; อำเภอ &ndash; ท้องถิ่น การจัดการความเร็ว ระบบการจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างโรงเรียนสอนขับรถเอกชนกับกรมการขนส่งทางบกและภาคีเครือข่ายในการสร้างผู้ขับขี่ที่มีคุณภาพและปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีกระบวนการตรวจสอบจากเจ้าขององค์ความรู้ต้นทางและกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นผู้ใช้ประโยชน์อย่างรอบคอบ เพื่อประเมินความจำเป็นและแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุดความรู้ สื่อการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนรู้จากองค์ความรู้นั้นๆ ในรายละเอียดต่อไป</p> <p>ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะต่อ สสส. สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป ดังนี้</p> <ol> <li><strong>การพัฒนาข้อมูลความรู้ด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนน </strong>สสส. ควรสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายหลักด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะ ศวปถ.และ สอจร. มีกระบวนการทบทวนข้อมูลองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัย ถูกต้องและพร้อมใช้งานได้จริง รวมทั้งเป็นตัวกลางในการจัดระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เป็นผู้ใช้ข้อมูลองค์ความรู้และนักวิชาการ เพื่อสะท้อนความต้องการใช้งานและประเด็นที่ควรจัดทำเพิ่มเติมไว้ในข้อมูลความรู้นั้นๆ รวมถึงประเด็นที่ควรมีการพัฒนาขึ้นใหม่ อาทิ งานศึกษาพฤติกรรมการขับขี่และแนวทางการพัฒนาระบบประกันภัยของกลุ่มไรเดอร์ พฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนและความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุ ผลกระทบของการบรรทุกเกินน้ำหนักของรถบรรทุก/รถขนส่งสินค้า การส่งเสริมให้มีระบบขนส่งมวลชนที่ปลอดภัย เข้าถึงง่ายและเป็นธรรมสำหรับทุกกลุ่ม การประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในมาตรการต่างๆ เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การกำหนดและปรับปรุงมาตรการที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิผลต่อไป</li> <li><strong>ระบบการจัดเก็บข้อมูลความรู้ของสำนัก 10 และศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. มีส่วนช่วยให้การวางแผนและขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนนของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น </strong>สสส.ในฐานะหน่วยงานให้ทุนควรกำหนดแนวทางและรูปแบบการจัดทำผลงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ระบุช่วงเวลาที่จัดทำไว้ทุกครั้งในทุกผลงาน (ยกตัวอย่างแผ่นพับ โปสเตอร์ รายงานฉบับสมบูรณ์ คลิปวีดีโอ ฯลฯ) ขณะเดียวกัน มีระบบการรวบรวมผลงานที่สามารถสืบค้นและเข้าถึงได้ง่ายทั้งในส่วนของ สสส.และหน่วยงานภาคีที่เป็นผู้ดำเนินงาน&nbsp;</li> </ol> <p>จากข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นโอกาสในการพิจารณาความเป็นไปได้ของการก่อตั้ง <strong>&ldquo;สถาบันวิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน&rdquo;</strong> ที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาข้อมูลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยทางถนนให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งจัดบริการให้หน่วยงานหรือภาคีที่สนใจเข้าใช้งานได้สะดวก เพื่อร่วมกันจัดการความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้</p>

2023-09-26 09:37:42 - Don Admin

โพสต์เพิ่มเติม