การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: ภัยเงียบที่เพิ่มขึ้น

<p><strong><img alt="" height="370" src="https://knowledgesharing.thaihealth.or.th/userfiles/3/images/%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%86/1708421862.jpg" style="float:left" width="555" />Highlight</strong></p> <p><strong>&bull; จากการสํารวจของ WHO พบว่า ในแต่ละปีมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน หรือทุก ๆ 40 วินาที จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน โดยในสหรัฐอเมริกาพบว่า มีวัยรุ่นหญิงร้อยละ 57 กำลังประสบกับความรุนแรง ความโศกเศร้า และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ขณะที่วัยรุ่นชายอยู่ที่ร้อยละ 29 </strong></p> <p><strong>&bull; การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย และจากการสำรวจ เมื่อปี 2564 พบว่า ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นกลุ่มอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย</strong></p> <p><strong>&bull; ข้อมูลสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐฯ) ระบุว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของวัยรุ่นที่เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคทางจิตเวชอย่างน้อย 1 โรค โดยทั่วไปคือ โรคซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับการฆ่าตัวตายในหมู่วัยรุ่น</strong></p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p><span dir="ltr" lang="TH">เป็นวัยรุ่นมันอาจจะยากและเจ็บปวด</span>!</p> <p><span dir="ltr" lang="TH">เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่พัฒนาการด้านต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นวัยที่เปราะบางทางอารมณ์ </span></p> <p><span dir="ltr" lang="TH">เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายรอบตัว ทำให้บางครั้งวัยรุ่นเลือกจัดการปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งส่งผลต่อทั้งตัววัยรุ่น ครอบครัว สถานศึกษา และสังคม นำมาซึ่งความสูญเสียที่มิอาจจะประเมินค่าได้</span></p> <p><span dir="ltr" lang="TH">ปัจจุบันปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก สังคมจึงต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังและเร่งดำเนินการเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพจิตและเฝ้าระวังการเกิดภาวะซึมเศร้า</span></p>

2024-02-20 09:40:59 - Super Admin ID1

โพสต์เพิ่มเติม