การให้คุณค่าและรับฟังเสียงพนักงาน ปัจจัยสร้างองค์กรแห่งความสุขในอนาคต

<p><strong>Highlight </strong></p> <p>&bull; ผลสำรวจความสุขคนทำงานในระดับประเทศ ปี 2564 พบว่าคะแนนในภาพรวมเพิ่มขึ้นทุกมิติ ยกเว้นมิติสุขภาพกายดี เนื่องจากสถานการณ์โควิด คนทำงานในองค์กรทางการศึกษามีความสุขมากที่สุด อันดับรองลงมาเป็นอุตสาหกรรมทางการเงินและประกันภัย</p> <p>&bull; ภาคการผลิตคนทำงานมีความสุขต่ำ แม้จะไม่ได้ต่ำสุด โดยตัวชี้วัดคือ ความไม่ชัดเจนในการเติบโตในงานที่ทำ, ความเหมาะสมในการพิจารณาเลื่อนขั้น ปรับค่าจ้าง, การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นกับนายจ้าง, ความพึงพอใจกับสวัสดิการ, ความคุ้มค่าระหว่างค่าตอบแทนและความเสี่ยงจากงาน ฯลฯ</p> <p>&bull; ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่มีความรวดเร็ว องค์กรจะต้องปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับเสียงของพนักงาน ในแต่ละเจเนอเรชั่นให้มากกว่าเดิม เพราะคนทำงานเริ่มมองหาคุณค่า ความหมาย ประโยชน์ต่อสังคมจากงานที่เขาทำ</p> <p><span dir="ltr" lang="TH">เมื่อโลกขับเคลื่อนไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ โรคระบาด รวมทั้งเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้หลายองค์กรต้องรับมือกับความอยู่รอดไปพร้อม ๆ กับการดูแลบุคลากรอันเป็นฟันเฟืองสำคัญไปสู่ความสำเร็จ </span></p> <p><span dir="ltr" lang="TH">ในสถานการณ์เช่นนี้นับเป็นความท้าทายขององค์กรและคนทำงานที่ต้องปรับตัว ติดอาวุธทักษะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมกับต้องดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพื่อร่วมกันเผชิญการเปลี่ยนแปลงและสร้างองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน</span></p> <p><strong><span dir="ltr" lang="TH"><span style="background-color:lightgrey">การสร้างเสริมสุขภาวะให้กลายเป็นองค์กรแห่งความสุข (</span></span><span style="background-color:lightgrey">Happy Workplace) จึงเป็นแนวคิดที่ถูกนำมาใช้พัฒนาบุคลากรและปรับเปลี่ยนการทำงานให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้คนทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งมีผลต่อการยกระดับขีดความสามารถขององค์กร</span></strong><span dir="ltr" lang="TH"> โดยใช้ความสุขพื้นฐาน </span>8 ประการ (Happy 8) คือ Happy Body สุขภาพร่างกายดี, Happy Heart น้ำใจงามมีน้ำใจต่อกัน, Happy Society สังคมดีมีความรักสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชนของตน, Happy Relax ผ่อนคลายต่อสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต, Happy Brain ศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ, Happy Soul สงบ มีสติ มีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต, Happy Money ปลอดหนี้ มีเงิน รู้จักเก็บรู้จักใช้ และ Happy Family ครอบครัวดี รักครอบครัว ครอบครัวอบอุ่นและมั่นคง</p> <p><span dir="ltr" lang="TH">สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร </span>(สำนัก 8) มีการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา ช่วยวางแผน เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาคนในองค์กรให้มีสุขภาวะที่ดี&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;รวมพลังทุกภาคส่วนเพื่อสร้างองค์กรสุขภาวะ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาได้นำหลักด้านแนวคิดองค์กรสุขภาวะเข้าสู่ระบบขององค์กรเพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงาน</p> <p>&nbsp;</p> <p><span dir="ltr" lang="TH">ความสำคัญของหลักการ </span>Happy 8 หรือ Happy Workplace&nbsp; ไม่ได้เกี่ยวเฉพาะคนทำงาน แต่รวมถึงครอบครัวและสังคมไทย ซึ่งมีคนวัยทำงานอยู่ราว &nbsp;37 ล้านคน โดยคนเหล่านี้ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตอยู่ในที่ทำงาน แต่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีความสุขน้อยลง&nbsp; มีความเครียดมากขึ้น ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การระบาดของโควิด-19 อีกทั้งสังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย ซึ่งจะเป็นประเด็นสำคัญใน 4-5 ปีข้างหน้า เมื่อสัดส่วนคนทำงาน คนหารายได้ให้กับครอบครัว&nbsp; มีสัดส่วนลดลงในทุกองค์กร บุคลากรจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่ง สสส. มีเครื่องมือและชุดความรู้ที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้ &nbsp;</p> <p>&nbsp;</p>

2024-03-19 07:17:54 - Super Admin ID1

โพสต์เพิ่มเติม