ยอมรับ! ต่างรุ่นต่างประสบการณ์ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว

<p><span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><strong><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">&ldquo;ครอบครัว&rdquo;</span></span></strong><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa"> เป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญต่อรากฐานความเข้มแข็งของสังคมโดยรวม หากครอบครัวไหนมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีของคนในครอบครัว แต่ครอบครัวไหนมีปัญหาเชิงโครงสร้างจะมีโอกาสที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวไม่มีความสุขและอาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้</span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">จากการสำรวจเยาวชนไทย ปี 2565 พบว่า เยาวชนที่อยู่ในครอบครัวข้ามรุ่นจะมีความขัดแย้งทางความคิดในประเด็นต่าง ๆ มากกว่าเยาวชนที่อยู่กับพ่อแม่ หรือเยาวชนที่อยู่กับพ่อแม่และญาติ โดยประเด็นที่ขัดแย้งทางความคิดของเยาวชนในครอบครัวข้ามรุ่น คือ <strong>การศึกษาและการทำงาน</strong> สูงถึงร้อยละ 16.7 รองลงมา<strong>การใช้ชีวิตประจำวัน</strong> ร้อยละ 13.6 <strong>ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว</strong> ร้อยละ 12 <strong>และความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรัก</strong> ร้อยละ 8.7</span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">ขณะที่เยาวชนที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่มีสัดส่วนความคิดเห็นขัดแย้งกับคนในครอบครัวสูงกว่าเยาวชนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวสามรุ่น และที่อาศัยอยู่ในครอบครัวข้ามรุ่นใน<strong>ประเด็นสังคมและการเมือง</strong> สูงถึงร้อยละ 11 และ<strong>ประเด็นศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม</strong> ร้อยละ 6.3 ซึ่งความคิดขัดแย้งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในทุกครอบครัว จะมากน้อยขึ้นอยู่กับประเด็น </span></span></span></span><br /> <img alt="" height="578" src="https://knowledgesharing.thaihealth.or.th/userfiles/14/images/image-20240605125018-1.jpeg" width="1028" /><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">การป้องกันไม่ให้ความคิดเห็นขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรงในครอบครัว ต้องปรับจูนให้เข้าใจว่า รุ่นเราและรุ่นเขาอาจมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน จึงไม่จำเป็นต้องคิดเห็นเหมือนกันในทุกเรื่อง ดังนั้น หลักการสื่อสาร 4</span></span><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa"> E จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างคนต่างรุ่นได้ </span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">1. </span></span><strong><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">Empathy</span></span></strong><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa"> การสื่อสารควรอยู่บนฐานของความเข้าอกเข้าใจ เพราะทุกคนเติบโตมาต่างช่วงวัยกัน จึงผ่านความยากลำบากแตกต่างกัน ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี แม้แต่คนรุ่นใหม่แต่ละรุ่นก็แตกต่างกัน เช่น กลุ่มคนรุ่น First Jobber มุ่งทำงานสร้างเนื้อสร้างตัว ผูกโยงใกล้ชิดอยู่กับปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่คนวัยเรียนจะสนใจเรื่องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองทั้งระบบ มากกว่าประเด็นปากท้อง ดังนั้นไม่ว่ารุ่นใหญ่ รุ่นกลาง หรือรุ่นเล็ก จึงมีความแตกต่างกันจากหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการเลี้ยงดู ระบบการศึกษา สถานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ ฯลฯ </span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">2. </span></span><strong><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">Equality </span></span></strong><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">คือ<strong> </strong>ยอมรับพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน คนรุ่นใหม่จะไม่ชอบการแบ่งชนชั้นลำดับอาวุโส (</span></span><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">Hierarchy) แต่ต้องการเพื่อนคู่คิดต่างวัย (Equal Partner) ในเรื่องของบทบาทหน้าที่ของรัฐ คนรุ่นใหม่มองว่า ประชาชนเป็นผู้จ่ายภาษีจ้างให้รัฐทำหน้าที่บริการแก่ประชาชนทุกคน แต่คนรุ่นก่อนมองว่าทุกคนมีหน้าที่ความเป็นพลเมือง คนทั้งสองรุ่นจึงต้องรับฟังและยอมรับคู่คิดต่างวัยซึ่งกันและกัน </span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">3. </span></span><strong><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">Express</span></span></strong><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa"> เปิดใจต่อการกับการแสดงออก คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยโตมากับประสบการณ์ที่ว่า พูดเสียงเบา ๆ ในระบบไม่มีใครได้ยิน จึงไปส่งเสียงในโซเชียลมีเดียให้เกิดเป็นกระแส ขณะเดียวกันก็ชอบความโปร่งใส พูดตรงๆ เปิดเผย มากกว่าการ &ldquo;รักษาหน้า&rdquo; แบบที่ผู้ใหญ่ชอบทำ และไปคุยกันนอกรอบ โดยคนรุ่นใหม่มองว่า การพูดอย่างเปิดเผยจะช่วยแก้ปัญหาได้เร็ว ซึ่งบางครั้งการพูดนอกรอบที่ผู้ใหญ่ทำอาจช่วยแก้ปัญหาได้มีประสิทธิภาพกว่า</span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">4. เข้าใจเรื่อง </span></span><strong><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">Eco system </span></span></strong><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">คนรุ่นใหม่มองว่า ระบบปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนทางสังคม จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบ ไม่ยึดที่ตัวบุคคล สนับสนุนคนที่มีอุดมการณ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และมักไม่เชื่อว่าผู้นำที่เป็น &ldquo;คนดี&rdquo; จะแก้ปัญหาได้ ฯลฯ ในขณะที่คนรุ่นก่อนไม่บ่นเรื่องระบบ เพราะเชื่อว่าแก้ไขได้ยาก แต่ทุกคนต้องพยายามพัฒนาตนเอง </span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">การลดระดับความเห็นต่างของคนในครอบครัวและคนแต่ละช่วงวัย ต้องเริ่มต้นจากความเข้าอกเข้าใจและยอมรับฟังกันมากขึ้น ทุกคนไม่จำเป็นต้องมีความเห็นเหมือนกัน แต่ต้องถกเถียง แลกเปลี่ยน และแสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละฝ่ายออกมาได้ </span></span></span></span><br /> &nbsp;</p>

2024-06-05 05:50:47 - Super Admin ID1

โพสต์เพิ่มเติม