ปรับเปลี่ยนทัศนคติคนไม่กินผัก ลองก่อนแล้วจะเห็นผลดีตามมา

<p><span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">ใคร ๆ ก็ทราบดีว่าการกินและผักผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่จากการสำรวจของโครงการศึกษาพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทยโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จากกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 6,991 คน พบว่า<strong> เกือบ 2 ใน 3 ของคนไทย หรือร้อยละ 65.5 กินผักและผลไม้เฉลี่ยเพียง 336.9 กรัมต่อวัน ขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินอย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน</strong> โดยปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอของคนไทย</span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">ยกตัวอย่างผลสำรวจ ผู้ชายมีแนวโน้มกินผักและผลไม้น้อยกว่าผู้หญิง ซึ่งสะท้อนว่าผู้ชายอาจมีความตระหนักด้านสุขภาพน้อยกว่า กลุ่มวัยอายุน้อย (15-29 ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากกว่าวัยอื่น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่า คนเข้าสู่วัยหนุ่มสาวจะเริ่มใช้ชีวิตอย่างอิสระและเสี่ยงต่อพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ด้านคนโสดก็มีแนวโน้มกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากกว่ากลุ่มคนที่แต่งงานแล้ว หรือคนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากกว่าคนในพื้นที่อื่น เนื่องจากชีวิตประจำวันที่ถูกจำกัดด้วยเวลา ฯลฯ </span></span></span></span><br /> <img alt="" height="880" src="https://knowledgesharing.thaihealth.or.th/userfiles/14/images/image-20240605125627-1.jpeg" width="1320" /><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">คำถามก็คือ จะรณรงค์อย่างไรให้คนไทยหันมากินผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น อันดับแรกคงต้องตอกย้ำทัศนะคติที่ว่า การไม่กินผักผลไม้ไม่เห็น (ป่วย) เป็นอะไร เป็นเรื่องที่ยังไม่เห็นผลในระยะสั้น แต่จะเกิดผลในระยะยาว โดยการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอในแต่ละวัน สามารถช่วยลดภาวะโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ หัวใจขาดเลือด&nbsp; เส้นเลือดในสมองตีบ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่&nbsp; </span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">อย่างไรก็ดี เข้าใจได้ว่า คนที่ไม่ชอบกินผักและผลไม้เป็นทุนเดิม เป็นเรื่องยากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน แต่เพื่อสุขภาพที่ดี เมื่อรู้ว่ากินแล้วมีประโยชน์ ทำไมถึงจะไม่ทำ <strong>ขั้นตอนแรกคงต้องเปิดใจลองกินผักสดต่าง ๆ ดู ถ้ายังยากอยู่อาจจะเริ่มจากการกินสลัดผัก หรือยำประเภทต่าง ๆ ที่มีผักเยอะ ๆ อาจจะช่วยให้กินผักได้ง่ายขึ้น หรือกินผักชุบแป้งทอดก็อาจมีรสชาติให้กินได้ง่ายขึ้น</strong></span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">นอกจากนั้น ควรลองเมนูใหม่ ๆ ที่มีส่วนผสมของผักในสัดส่วนที่พอ ๆ กับเนื้อสัตว์ อย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน แกงเลียง แกงอ่อม หรือเกาเหลา และหากพบว่าทั้ง </span></span><span style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">3 มื้อในหนึ่งวันยังกินผักในสัดส่วนที่ยังไม่มากพอก็ให้เพิ่มสัดส่วนการกินผลไม้เพิ่มเติม โดยเลือกผลไม้ที่รสไม่หวานจนเกินไป ซึ่งหากลองปรับเปลี่ยนการกินมาได้ระยะหนึ่งอาจจะเห็นผลในเรื่องการขับถ่ายที่ดีขึ้น และรูปร่างดีขึ้นอีกด้วย </span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">ปัญหาใหญ่ที่หลายคนอาจวิตกกังวลคือ จะเลือกกินผักอย่างไรให้ปลอดภัย เพราะผักในตลาดทั่วไปมักมีสารเคมีตกค้างเยอะ เพื่อความสบายใจในเรื่องนี้ <strong>เราอาจต้องเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยมาทำอาหารเองที่บ้านตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น เลือกผักตามฤดูกาล &nbsp;หรือผักพื้นบ้านที่ปลูกง่าย ไม่ต้องพึ่งสารเคมี เพื่อเพิ่มสัดส่วนการกินผักในแต่ละมื้อจากร้านอาหาร </strong></span></span></span></span><br /> <span style="font-size:11pt"><span style="font-family:Calibri,"><span dir="ltr" lang="TH" style="font-size:16.0pt"><span style="font-family:KaLaTeXa">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่า ผักผลไม้ที่กินในแต่ละวันมีสัดส่วนเพียงพอตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำหรือไม่ วิธีการง่าย ๆ <strong>คงต้องใช้วิธีการคำนวณให้มีผักโดยรวมประมาณครึ่งจาน ที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรต บวกกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์</strong> หากทำได้อย่างสม่ำเสมอ เราจะเริ่มเคยชินกับการกินผักและผลไม้มากขึ้น ได้สัดส่วนมากขึ้น เมื่อทำได้จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพทั้งในระดับครัวเรือน และประเทศตามมา&nbsp; </span></span></span></span><br /> &nbsp;</p>

2024-06-05 05:56:34 - Super Admin ID1

โพสต์เพิ่มเติม