คลื่นความร้อน: สัญญาณวิกฤติภูมิอากาศและภัยคุกคามสุขภาพ
<p><strong><img alt="" height="268" src="https://knowledgesharing.thaihealth.or.th/userfiles/3/images/1708583437.jpg" style="float:left" width="400" />Highlight</strong></p> <ul> <li> <p><strong><span dir="ltr" lang="TH">องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (</span>World Meteorological Organization: WMO) ได้จำกัดความคำว่าคลื่นความร้อนว่า เป็นภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน</strong></p> </li> <li> <p><strong><span dir="ltr" lang="TH">สำหรับประเทศไทย ยังไม่พบการเกิดคลื่นความร้อน แต่เป็นผลกระทบจากหย่อมความกดอากาศต่ำซึ่งปกคลุมประเทศไทยในระดับท้องถิ่น</span></strong></p> </li> <li> <p><strong><span dir="ltr" lang="TH">การที่คลื่นความร้อนเกิดมากขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น มีหลักฐานชี้ว่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (</span>Climate Change) หรือภาวะโลกร้อน (Global Warming)</strong></p> </li> <li> <p><strong><span dir="ltr" lang="TH">ยุโรปเคยประสบกับวิกฤติคลื่นความร้อนในปี </span>2546 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 70,000 คน และในปี 2565 คลื่นความร้อนทำให้ประชาชนเสียชีวิตสูงเกือบ 62,000 ราย</strong></p> </li> </ul> <p> </p> <p><span dir="ltr" lang="TH">“คลื่นความร้อน</span>” กลายเป็น “ประเด็นร้อน” อย่างต่อเนื่อง เมื่อหลายภูมิภาคทั่วโลกต้องเผชิญกับ “ฮีตเวฟ” อย่างหนักหน่วงรุนแรงเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป หรือเอเชีย</p> <p><span dir="ltr" lang="TH">คลื่นความร้อนเป็นเหมือนการส่งสัญญาณเตือนให้ต้องเฝ้าระวังวิกฤตอันตรายต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนบนโลก ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน</span></p> <p> </p>
2024-02-22 06:35:13 - Super Admin ID1