0

0

บทนำ

ฝุ่นละอองขนาดเล็กส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากการลดฝุ่นละอองที่แหล่งกำเนิดแล้ว การจัดการคุณภาพอากาศภายในบ้านเรือนหรืออาคารไม่ให้มีฝุ่นละออง เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพได้ “ห้องปลอดฝุ่น” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกช่วยให้ห่างไกลจากฝุ่นละออง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เป็นต้น
 

รู้จักกับห้องปลอดฝุ่น

ห้องปลอดฝุ่นเป็นห้องที่จัดเตรียมไว้ก่อนถึงช่วงเวลาที่มีค่าฝุ่นจะสูง เพื่อลดความเสี่ยงจากการหายใจเอาฝุ่นโดยเฉพาะ PM2.5 เข้าสู่ร่างกาย
หลักการของห้องปลอดฝุ่นคือ ป้องกันฝุ่นจากภายนอกไม่ให้เข้าไปภายในห้อง ป้องกันการสะสมฝุ่นตามผนังห้องวัสดุหรืออุปกรณ์และพื้นผิวห้อง กำจัดอนุภาคของฝุ่นที่อยู่ภายในห้อง รวมทั้งไม่ทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นภายในห้อง เช่น จุดธูป สูบบุหรี่ ฯลฯ
ห้องปลอดฝุ่นควรเป็นห้องที่ห่างจากถนนหรือพื้นที่ก่อสร้าง เลือกห้องที่มีประตูหน้าต่างน้อยที่สุด ต้องนำสิ่งของที่เป็นแหล่งสะสมฝุ่นออกจากห้อง ทำความสะอาดห้องและเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้สะอาด
นอกจากนี้ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ห้องปลอดฝุ่นด้วย เช่น ปลูกต้นไม้ดักฝุ่น งดกิจกรรมทำให้เกิดฝุ่น เช่น เผาใบไม้ จุดธูป สูบบุหรี่ ฯลฯ ควรดูแลถนนและบริเวณโดยรอบไม่ให้เกิดฝุ่น  
 

ต้นแบบห้องปลอดฝุ่น

ห้องปลอดฝุ่นเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดโอกาสการสัมผัสมลพิษทางอากาศภายในอาคารเมื่อเกิดภาวะฝุ่นละอองในบรรยากาศสูงช่วยปกป้องกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมอนามัยและภาคีเครือข่าย ได้เปิดตัวนวัตกรรมห้องปลอดฝุ่นรับมือ PM2.5 โดยนำร่องใช้ในกลุ่มเด็กเล็ก สร้างห้องปลอดฝุ่นต้นแบบสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 30 แห่งทั่วประเทศ



ห้องปลอดฝุ่นต้นแบบใช้กลไกการฟอกอากาศและการเติมอากาศลงไป ให้สภาพห้องมีอากาศหมุนเวียนปกติ แต่ปริมาณฝุ่นน้อยกว่าภายนอก โดยใช้เครื่องเติมอากาศดูดอากาศเข้าไป ผ่านการกรองอากาศแล้วจึงฟอกอากาศภายในห้อง อุปกรณ์สำหรับห้องปลอดฝุ่นต้นแบบสามารถซื้อหาและติดตั้งได้ไม่ยาก โดยใช้งบประมาณหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับราคาของเครื่องกรองและฟอกอากาศ ซึ่งต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่
หลังจากทดลองใช้ห้องปลอดฝุ่นต้นแบบแล้วพบว่าเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีสุขภาพร่างกายดีขึ้น อาการไอ หรือจามน้อยลง
 

สร้างห้องปลอดฝุ่นง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

การจัดทำห้องปลอดฝุ่นสามารถทำได้ทั้งในพื้นที่สาธารณะและบ้านเรือน ไม่มีรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง สามารถปรับเปลี่ยนแบบได้ โดยหลักการสำคัญคือ การทำให้ฝุ่นละอองภายนอกเข้ามาภายในห้องไม่ได้ และลดฝุ่นละอองที่จะเกิดขึ้นภายในห้อง
วิธีง่าย ๆ ในการทำห้องปลอดฝุ่น เช่น การปิดห้องให้สนิท การปิดประตู หน้าต่าง ซึ่งก็สามารถลดฝุ่นให้มีระดับที่ต่ำกว่าบรรยากาศ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการลดฝุ่นละอองในห้อง เมื่อระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศจากภายนอกลดต่ำลง ควรเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายอากาศเก่าภายในห้อง
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปิดห้องปิดรอยรั่วมีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร เช่น พลาสติกใส เทปกาวสองหน้า ซิลิโคน แผ่นยิปซัม ฯลฯ วิธีนี้เป็นป้องกันจากภายนอก ใช้งบประมาณไม่สูงและทำได้ง่ายที่สุด
การจัดทำห้องปลอดฝุ่นสำหรับบ้านเรือนอาจใช้ระบบกรองอากาศ โดยเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ สามารถลดฝุ่นละอองในอาคารได้ ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับราคาของเครื่องฟอกอากาศ
สำหรับการจัดทำห้องปลอดฝุ่นขนาดใหญ่ในอาคารสถานที่ซึ่งคนใช้ร่วมกันจำนวนมาก เช่น สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ จะใช้ระบบความดัน เป็นการดูดอากาศจากภายนอกเข้ามาผ่านฟิลเตอร์เพื่อให้ห้องมีแรงดันสูงกว่าภายนอก สามารถป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้ามาในอาคารได้ ซึ่งรูปแบบนี้มีราคาสูงและควรมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

การจัดทำห้องปลอดฝุ่นเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญในการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปจากอันตรายของฝุ่น PM2.5 และมลพิษอากาศอื่น ๆ ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน การติดตามสถานการณ์ PM2.5 การร่วมมือช่วยลดแหล่งกำเนิดฝุ่น เป็นต้น

 

อ้างอิง

  • มาทำความรู้จักกับห้องปลอดกันฝุ่นกันเถอะ!, https://shorturl.asia/tzflx
  • ห้องปลอดฝุ่นต้นแบบแห่งแรก จ.ลำปาง ป้องกัน PM2.5 ได้ผล ลดปัญหาสุขภาพเด็กในพื้นที่เสี่ยง-ต้นทุนต่ำ เตรียมเดินหน้าสู่พื้นที่วิกฤติฝุ่นควันต่อไป, https://shorturl.asia/zctvs
  • แนวทางการจัดทำห้องปลอดฝุ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, https://shorturl.asia/FmWqi

0 ถูกใจ 596 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

Brown-out Syndrome ‘ภาวะหมดใจ’ วิกฤตเงียบในที่ทำงาน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

Brown-out Syndrome ‘ภาวะหมดใจ’ วิกฤตเงียบในที่ทำงาน

ยอมรับ! ต่างรุ่นต่างประสบการณ์ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ยอมรับ! ต่างรุ่นต่างประสบการณ์ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว

ส่วนที่ 1 : สถานการณ์สุขภาพจิตระดับประเทศ และยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ของ สสส. และภาคี
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 1 : สถานการณ์สุขภาพจิตระดับประเทศ และยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ของ...

แผนผังโครงสร้างระบบ (Site map)
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

แผนผังโครงสร้างระบบ (Site map)

เกี่ยวกับเรา
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

เกี่ยวกับเรา

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในแต่ละภูมิภาคของไทยมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันออกไป หากพูดถึงการเกิดมลพิษทางอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี มีปัจจัยหลักมาจากการเผาในพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะไร่อ้อย
ขอนแก่นและอุดรธานีได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุดในประเทศ ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและกำจัดเศษซากใบอ้อยที่เหลือ เกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่มักใช้การเผา ทำให้เกิดเขม่าขี้เถ้า “หิมะดำ” ก่อมลพิษฝุ่น PM2.5 ในปริมาณสูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ยังมีผู้ละเมิดฝ่าฝืนอยู่เป็นจำนวนมาก
หนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนคือ การให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนัก เกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวกับเด็ก ๆ ทั้งในห้องเรียนและด้วยนวัตกรรม