0

0

บทนำ

“ครอบครัว” เป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญต่อรากฐานความเข้มแข็งของสังคมโดยรวม หากครอบครัวไหนมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีของคนในครอบครัว แต่ครอบครัวไหนมีปัญหาเชิงโครงสร้างจะมีโอกาสที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวไม่มีความสุขและอาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้
จากการสำรวจเยาวชนไทย ปี 2565 พบว่า เยาวชนที่อยู่ในครอบครัวข้ามรุ่นจะมีความขัดแย้งทางความคิดในประเด็นต่าง ๆ มากกว่าเยาวชนที่อยู่กับพ่อแม่ หรือเยาวชนที่อยู่กับพ่อแม่และญาติ โดยประเด็นที่ขัดแย้งทางความคิดของเยาวชนในครอบครัวข้ามรุ่น คือ การศึกษาและการทำงาน สูงถึงร้อยละ 16.7 รองลงมาการใช้ชีวิตประจำวัน ร้อยละ 13.6 ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ร้อยละ 12 และความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรัก ร้อยละ 8.7
ขณะที่เยาวชนที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่มีสัดส่วนความคิดเห็นขัดแย้งกับคนในครอบครัวสูงกว่าเยาวชนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวสามรุ่น และที่อาศัยอยู่ในครอบครัวข้ามรุ่นในประเด็นสังคมและการเมือง สูงถึงร้อยละ 11 และประเด็นศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ร้อยละ 6.3 ซึ่งความคิดขัดแย้งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในทุกครอบครัว จะมากน้อยขึ้นอยู่กับประเด็น

การป้องกันไม่ให้ความคิดเห็นขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรงในครอบครัว ต้องปรับจูนให้เข้าใจว่า รุ่นเราและรุ่นเขาอาจมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน จึงไม่จำเป็นต้องคิดเห็นเหมือนกันในทุกเรื่อง ดังนั้น หลักการสื่อสาร 4 E จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างคนต่างรุ่นได้
1. Empathy การสื่อสารควรอยู่บนฐานของความเข้าอกเข้าใจ เพราะทุกคนเติบโตมาต่างช่วงวัยกัน จึงผ่านความยากลำบากแตกต่างกัน ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี แม้แต่คนรุ่นใหม่แต่ละรุ่นก็แตกต่างกัน เช่น กลุ่มคนรุ่น First Jobber มุ่งทำงานสร้างเนื้อสร้างตัว ผูกโยงใกล้ชิดอยู่กับปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่คนวัยเรียนจะสนใจเรื่องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองทั้งระบบ มากกว่าประเด็นปากท้อง ดังนั้นไม่ว่ารุ่นใหญ่ รุ่นกลาง หรือรุ่นเล็ก จึงมีความแตกต่างกันจากหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการเลี้ยงดู ระบบการศึกษา สถานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ ฯลฯ
2. Equality คือ ยอมรับพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน คนรุ่นใหม่จะไม่ชอบการแบ่งชนชั้นลำดับอาวุโส (Hierarchy) แต่ต้องการเพื่อนคู่คิดต่างวัย (Equal Partner) ในเรื่องของบทบาทหน้าที่ของรัฐ คนรุ่นใหม่มองว่า ประชาชนเป็นผู้จ่ายภาษีจ้างให้รัฐทำหน้าที่บริการแก่ประชาชนทุกคน แต่คนรุ่นก่อนมองว่าทุกคนมีหน้าที่ความเป็นพลเมือง คนทั้งสองรุ่นจึงต้องรับฟังและยอมรับคู่คิดต่างวัยซึ่งกันและกัน
3. Express เปิดใจต่อการกับการแสดงออก คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยโตมากับประสบการณ์ที่ว่า พูดเสียงเบา ๆ ในระบบไม่มีใครได้ยิน จึงไปส่งเสียงในโซเชียลมีเดียให้เกิดเป็นกระแส ขณะเดียวกันก็ชอบความโปร่งใส พูดตรงๆ เปิดเผย มากกว่าการ “รักษาหน้า” แบบที่ผู้ใหญ่ชอบทำ และไปคุยกันนอกรอบ โดยคนรุ่นใหม่มองว่า การพูดอย่างเปิดเผยจะช่วยแก้ปัญหาได้เร็ว ซึ่งบางครั้งการพูดนอกรอบที่ผู้ใหญ่ทำอาจช่วยแก้ปัญหาได้มีประสิทธิภาพกว่า
4. เข้าใจเรื่อง Eco system คนรุ่นใหม่มองว่า ระบบปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนทางสังคม จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบ ไม่ยึดที่ตัวบุคคล สนับสนุนคนที่มีอุดมการณ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และมักไม่เชื่อว่าผู้นำที่เป็น “คนดี” จะแก้ปัญหาได้ ฯลฯ ในขณะที่คนรุ่นก่อนไม่บ่นเรื่องระบบ เพราะเชื่อว่าแก้ไขได้ยาก แต่ทุกคนต้องพยายามพัฒนาตนเอง
การลดระดับความเห็นต่างของคนในครอบครัวและคนแต่ละช่วงวัย ต้องเริ่มต้นจากความเข้าอกเข้าใจและยอมรับฟังกันมากขึ้น ทุกคนไม่จำเป็นต้องมีความเห็นเหมือนกัน แต่ต้องถกเถียง แลกเปลี่ยน และแสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละฝ่ายออกมาได้
 

อ้างอิง

  • เปิดสัดส่วน “เยาวชนไทย” มี “ความคิดขัดแย้ง” กับคนในครอบครัว ประเด็นใดบ้าง !!, https://shorturl.asia/DYmJq
  • คู่มือ 4E: วิธีสื่อสารข้ามรุ่น, https://shorturl.asia/fCWlx

0 ถูกใจ 606 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

หญิงวัย 60 เป็นมะเร็งเต้านมมากสุด ดื่มแอลกอฮอล์ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง
1708931705.jpg

Super Admin ID1

หญิงวัย 60 เป็นมะเร็งเต้านมมากสุด ดื่มแอลกอฮอล์ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง

สุขภาพดี…เพราะมีสวน ‘พื้นที่สีเขียว’ ตัวกระตุ้นกิจกรรมทางกาย
1708931705.jpg

Super Admin ID1

สุขภาพดี…เพราะมีสวน ‘พื้นที่สีเขียว’ ตัวกระตุ้นกิจกรรมทางกาย

‘ฝนราชการ’ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ วิธีรับมือเพื่อสุขภาพดีและไร้อุบัติเหตุ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ฝนราชการ’ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ วิธีรับมือเพื่อสุขภาพดีและไร้อุบัติเหตุ

ปรับเปลี่ยนทัศนคติคนไม่กินผัก ลองก่อนแล้วจะเห็นผลดีตามมา
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ปรับเปลี่ยนทัศนคติคนไม่กินผัก ลองก่อนแล้วจะเห็นผลดีตามมา

ติดต่อเรา
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

ติดต่อเรา

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มพลังนม เพื่อสุขภาพ (และส่วนสูง) เด็กไทย!

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

• สถานการณ์การบริโภคนมในประเทศไทยปัจจุบัน จากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่า เด็กวัยเรียนดื่มนมทุกวันเพียงร้อยละ 31.1 และวัยรุ่นร้อยละ 14.9

• ปัจจัยที่ทำให้อัตราการบริโภคนมของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ส่วนหนึ่งเพราะคนไทยมองว่านม เป็นอาหาร จึงมักจะดื่มเพื่อรองท้องหรือเพื่อทำให้อิ่ม จึงจำกัดการดื่มนมเฉพาะช่วงเวลา

• การดื่มนมน้อย ทำให้เด็กไทยเตี้ยเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 9.7 เป็น 12.9 โดยส่วนสูงเฉลี่ยเด็กอายุ 12 ปี เพศชาย 147.1 เซนติเมตร เพศหญิง 148.1 เซนติเมตร ส่วนสูงเฉลี่ยอายุ 19 ปี เพศชาย 170.9 เซนติเมตร เพศหญิง 158.1 เซนติเมตร

วันนี้เด็ก ๆ ของคุณดื่มนมแล้วหรือยัง? ถ้ายัง คุณต้องหันมาสนใจทางนี้!

 

นมเป็นเครื่องดื่มสุดพิเศษที่อัดแน่นด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เต็มไปด้วยสารอาหารซึ่งมีประโยชน์และจำเป็นต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และสุขภาพโดยรวมของเด็ก

 

วัยเด็กเป็นช่วงอายุที่ควรได้รับการบำรุงด้วยการดื่มนมมากที่สุด แต่จากการศึกษาพบว่า เด็กไทยในปัจจุบันดื่มนมน้อย จนทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต รวมถึงส่งผลต่อส่วนสูงด้วย

 

นั่นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการอะไรสักอย่างเพื่อให้แน่ใจว่า บุตรหลานของเราดื่มนมอย่างเพียงพอ