0

0

บทนำ

ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม (ThaiHealth Knowledge Sharing : THKS) 

หมายถึง ระบบสำหรับบริหารจัดการความรู้ (Collaborative knowledge management platform) และแบ่งปันองค์ความรู้สุขภาวะ (Knowledge Sharing) ในรูปแบบบล็อก (Blog) ที่จดบันทึกเนื้อหาผ่านเว็บไซต์ และสามารถสร้างลิงค์ไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นที่มีเนื้อหาเจาะลึกในแต่ละประเด็นได้ โดยอนุญาตให้นักวิชาการของ สสส. และ/หรือภาคีเครือข่าย สสส. ที่ลงทะเบียนสามารถแสดงความคิดเห็น/แก้ไข/สร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ มีลักษณะคล้ายกับ Webboard ที่มีการสื่อสารทั้งสองทิศทาง ทำให้มีข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น และมีการแบ่งปันความรู้กันมากขึ้น ทั้งนี้เนื้อหาที่บันทึกจะควบคุมการแสดงผลด้วยวันที่/เวลาที่เผยแพร่

เกี่ยวกับระบบ

ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วม พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักวิชาการของ สสส. และ/หรือภาคีเครือข่าย สสส. ใช้ประโยชน์ในการรวบรวม ประมวล และเผยแพร่องค์ความรู้
สุขภาวะเชิงประเด็นในลักษณะแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการองค์ความรู้สุขภาวะของ สสส. ซึ่งจะมุ่งเน้นดำเนินการใน 7 ประเด็นสุขภาวะที่เป็นเป้าหมายหลักตามทิศทางและเป้าหมาย ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2565-2574) ของ สสส. และขยายสู่ประเด็นสุขภาวะอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

 

ความเป็นมา

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีภารกิจในการขยายผลองค์ความรู้ และขยายฐานผู้รับประโยชน์จากองค์ความรู้และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ของ สสส. เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เกิดจากการผสานความรู้ ประสบการณ์การขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และภาคีเครือข่ายร่วมกับการพัฒนารูปแบบ/ นวัตกรรมการสื่อสารและการพัฒนากลไกการขยายผลองค์ความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพอย่างก้าวกระโดด ด้วยการขยายผลต้นแบบงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกขน และภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการสื่อสารที่มีประสิทธิผลและยั่งยืน โดยคำนึงถึงพลวัตเชิงพื้นที่และกลุ่มประชากร ตลอดจนสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในกลุ่มประชากร เพื่อสร้างและรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้ การสื่อสาร การจัดการ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในยุคดิจิทัล

ในปี 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. จึงได้พัฒนาต้นแบบระบบบริหารจัดการองค์ความรู้สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Knowledge Management Platform : Thaihealth Knowledge Sharing) ขึ้น เพื่อเป็นระบบในการบริหารจัดการองค์ความรู้สุขภาวะเชิงประเด็นให้พร้อมใช้สำหรับการพัฒนาเป็นข้อมูล/ องค์ความรู้ที่พร้อมนำไปเผยแพร่ และ/ หรือ พัฒนาเป็นสื่อ/ กระบวนการเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาวะแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ต่อไป เพื่อให้ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Knowledge Management Platform : Thaihealth Knowledge Sharing) ดังกล่าว พร้อมสำหรับนักวิซาการนักจัดการความรู้ ตลอดจนภาคีเครือข่ายของ สสส. ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จึงพัฒนาโครงการ "จ้างบำรุงรักษาและพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม" ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมให้พร้อมใช้งาน

วัตถุประสงค์

1)   บำรุงรักษาและพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

2)   สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างและรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้ การสื่อสาร การจัดการ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในยุคดิจิทัล

กลุ่มเป้าหมาย

ระบบการจัดการความรู้งานวิจัยด้านสุขภาวะเพื่อการขยายผลด้วยปัญญาของฝูงชน (Collaborative Knowledge Management) ด้วยฐานความรู้ภายใต้แพลตฟอร์ม Decentralize Website ด้วยระบบConsortium Blockchain แบบเฉพาะกลุ่มเพื่อการขยายผลในอนาคต เสริมประสิทธิภาพให้ Co-Creation Platform ส่งผลให้เกิด Ecosystem ด้านดิจิทัลรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Next Normal ของ สสส.

 

1. นักวิชาการ สสส. นักจัดการความรู้ และศูนย์วิชาการที่เป็นภาคีเครือข่ายของ สสส.

2. ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.

 

อ้างอิง

ระบบ Thaihealth Knowledge Sharing (THKS) UAT

 

สามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://knowledgesharing.thaihealth.or.th

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ส่วนที่ 4 การประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้สุขภาวะ ประเด็นสุขภาพจิต
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 4 การประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้สุขภาวะ ประเด็นสุขภาพจิต

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี
1708931705.jpg

Super Admin ID1

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี

ปรับเปลี่ยนทัศนคติคนไม่กินผัก ลองก่อนแล้วจะเห็นผลดีตามมา
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ปรับเปลี่ยนทัศนคติคนไม่กินผัก ลองก่อนแล้วจะเห็นผลดีตามมา

ชีวิตที่ติดอยู่ตรงกลาง เรียนรู้และเข้าใจ ‘แซนด์วิชเจเนอเรชัน’
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ชีวิตที่ติดอยู่ตรงกลาง เรียนรู้และเข้าใจ ‘แซนด์วิชเจเนอเรชัน’

สร้างรากฐานชีวิตเด็ก ๆ ด้วยหนังสือ ไม่มีวิธีการสื่อสารใดทดแทนการอ่านได้
1708931705.jpg

Super Admin ID1

สร้างรากฐานชีวิตเด็ก ๆ ด้วยหนังสือ ไม่มีวิธีการสื่อสารใดทดแทนการอ่านได...

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

ORAPIN