0

0

ืNut@
บทนำ

ถ้าถามว่า “ใครอยากมีความทุกข์ให้ยกมือขึ้น” คงไม่มีใครยกมือเป็นแน่ ใครๆ ก็อยากมีชีวิตที่มีความสุขด้วยกันทั้งนั้น แต่ถ้าถามต่อไปอีกว่า ความสุขของคุณคืออะไร? คำตอบของแต่ละคนคงแตกต่างกันออกไปได้หลากหลายมากมาย

 

สำหรับคนที่มีพร้อมทุกอย่างทั้งรูปร่าง หน้าตา สมบัติพัสถาน เชื่อว่าใครหลายคนคงคิดและมองว่าเขาเหล่านั้นต้องมีความสุขมากอย่างแน่นอน แต่ในความจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นก็ได้ ทั้งนี้เพราะความสุขในชีวิตคนไม่ได้มีเฉพาะความสุขทางกาย แต่ยังมีเรื่องของความสุขทางใจอีกด้วย ซึ่งในชีวิตคนส่วนใหญ่ ความสุขทางใจเป็นตัวกำหนดเรื่องของความสุขในชีวิตมากกว่าความสุขทางกาย

cr.นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย
จิตแพทย์ และกรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์

ความสุขมีกี่ประเภท

https://www.manarom.com/blog/path_to_happiness.htmlความสุขของคฤหัสถ์ตามนัยแห่งคำสอนของพุทธศาสนามีอยู่ 4 ประการคือ

1. อัตถิสุข คือ สุขเกิดจากการมีทรัพย์ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจและเอิบอิ่มใจว่าตนมีทรัพย์ที่ได้มา
ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนและโดยชอบธรรม

2.โภคสุข คือ สุขเกิดจากการใช้ทรัพย์ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจ และเอิบอิ่มใจว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์

3. อนณสุข คือ สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจ และเอิบอิ่มใจว่าตนเป็นไท ไม่เป็นหนี้ติดค้างใคร

4. อนวัชชสุข คือ สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจ และเอิบอิ่มใจว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย อันใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับกาย วาจา และใจ

ความสุข 4 ประการนี้ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนว่าอยู่ดีมีความสุขหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด
 

6 วิธีสร้างความสุขจากการใช้ชีวิต ให้สุขมากขึ้น

“ความสุข” นับว่าเป็นปัจจัยหลักที่เป็นส่วนในการใช้ขับเคลื่อนชีวิตในทุกวันให้ไปต่อได้

จริง ๆ แล้วความสุขอยู่รอบ ๆ ตัวเรามาเสมอ เพียงว่าเราจะมองเห็นหรือไม่

บางครั้งเจออาหารอร่อย เจอคนยิ้มให้ ได้อ่านหนังสือที่ชอบ ก็นับเป็นความสุขเล็ก ๆ ที่เก็บสะสมไปเรื่อย ๆ

 

แต่ในการใช้ชีวิตแต่ละวันก็มักจะต้องเจออุปสรรคมากมายที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะปัญหาเล็ก ๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตแต่มันไม่ยากที่เราจะพาตัวเองผ่านไปเจอความสุขได้ วันนี้เรานำ 6 วิธีสร้างความสุขจากการใช้ชีวิตให้สุขมากขึ้นมาให้ทุกคนได้อ่านกัน

 

1. รอให้เป็น

ทุกวันนี้คนเราใช้ชีวิตด้วยความใจร้อน ไม่ชอบคนในองค์กร หรือ ไม่พอใจกับงานที่ทำ คิดว่าทำไม่ได้ก็เกิดอาการหงุดหงิดไม่พอใจ หรือเอาสิ่งที่เกิดขึ้นไปลงสู่โซเชียล ให้ลองทำดูก่อนที่จะเอาไปพูดต่อ ทุกวันนี้โซเชียลถูกพัฒนาไวมาก สามารถรู้ได้ทันทีว่าคุณทำงานอะไรที่ไหนอย่างไร ก่อนที่จะทำให้คิดก่อนว่าเรามีองค์กรอยู่ที่บ่าจะทำอะไรให้คิดให้ดี รอให้เป็นก่อนที่จะลงมือทำ

 

2. เย็นให้ไว

พออากาศร้อน ก็ทำให้คนเริ่มหัวร้อนกันได้ง่าย อากาศเดียวนี้มีผลต่อการใช้ชีวิตมาก ถ้าอากาศร้อนก็จะเข้าไปดูดพลังงานลบ เมื่อเจอเพื่อนร่วมงานทำตัวไม่ดี หรือพูดจาไม่ดีใส่เราก็จะเอ๊ะ ทำไมถึงทำแบบนั้นล่ะ แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้เพราะต้องอยู่ร่วมองค์กรเดียวกัน จงหาวิธีประนีประนอมที่ดีที่สุดให้ไว สามารถเริ่มได้จากตัวเรา ก็คือใจเย็นเข้าไว้ ทำอะไรต้องคิดให้ถี่ถ้วนต่อผลที่ตามมาว่าควรที่จะทำต่อไปไหม

 

3. คิดให้ได้

Critical Thinking หรือมีวิจารณญาณ เวลาเราเห็นข่าวหรือข้อมูลต่าง ๆ ให้เราคิดก่อนว่าเรื่องนี้มีแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ไหม อย่างเช่นมีชาวต่างชาติถ่ายคลิปมาลงว่าเขารอดจากเหตุการณ์เครื่องบินตก แต่สุดท้ายบอกว่าทุกอย่างคือคอนเทนต์ ซึ่งมันคือการบอกว่าจงมีวิจารณญาณในการรับชมและเชื่อ หรือว่าจะเป็นเรื่องงานก็ตามให้ดูแหล่งที่มาว่าเชื่อถือได้หรือไม่ก่อนจะนำมาใช้ประโยชน์

 

4. สื่อสารเป็น

การสื่อสารถึงเรื่องสำคัญและเป็นสิ่งที่จะทำให้เรื่องงานและชีวิตประจำวันมีประสิทธิภาพจากการใช้การสื่อสารที่ดีและการสื่อสารที่ดีไม่ใช่แค่การพูดอย่างเดียวรวมถึงการฟังและการสื่อสารยังสามารถใช้เพื่อดูแลใจทั้งตัวเราเองและคนรอบข้าง เมื่อไหร่ที่เราดูแลใจคนรอบข้างก็จะทำให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข

 

5. เห็นคุณค่าของการให้

“ดูแลตัวเองได้คือเรื่องปกติ ดูแลคนอื่นคือเรื่องของความภาคภูมิใจ” การทำงานของเรา ก็ถือว่าเป็นการให้ เพราะอยากให้สังคมดีขึ้น เรากำลังสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับผู้คน จงภูมิใจกับงานที่เราทำ ทุกวันนี้ให้เห็นคุณค่าจากรอบข้าง เงยหน้าจากจอขึ้นมาบางคนข้างจะมีตัวตนหันไปถามซะหน่อยช่วงนี้เป็นยังไงบ้างโอเคไหมทำไมช่วงนี้ดูเงียบๆไป อย่างน้อยเราทำให้คนข้าง ๆ รู้ว่าเขายังอยู่ในสายตาของเราเสมอ นั่นคือการให้ที่ง่ายที่สุด

 

6. ไม่ประมาทความเปลี่ยนแปลง

ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งเปลี่ยนไปไม่มีอะไรเหมือนเดิมค่ะอย่าคาดหวังความเหมือนเดิมในวันที่โลกหมุนไปทุกวัน และคนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกคนไม่มีใครมีมากกว่านี้อย่าบอกว่าไม่มีเวลา มีเวลาให้สิ่งไหนเราจะใส่ใจสิ่งนั้นเสมอ วันนี้เราทำงานหนักแค่ไหนสุดท้ายอย่างมองแต่ข้างหน้าจนลืมหันมองคนที่อยู่รอบ ๆ วันหนึ่งความสำเร็จจะอ้างว้าง ถ้าไม่มีคนข้าง ๆ อยู่ดูด้วย

 

เมื่อไรก็ตามที่โลกอยากสอนความเปลี่ยนแปลงให้มนุษย์ มักจะสอนผ่านความรักและการใช้ชีวิต เมื่อวานรักวันนี้รักพรุ่งนี้ไม่รู้ การทำงานเช่นเดียวกันเมื่อวานทำงานได้วันนี้ยังทำงานอยู่พรุ่งนี้ยังได้ทำงานอยู่อีกหรือเปล่าไม่มีใครรู้ เราทำได้แค่ทำสิ่งที่มีให้ดีที่สุด อย่าเห็นคุณค่าของเวลาตอนหมดเวลา และอย่าเห็นคุณค่าของคนบางคนว่าเขามีค่าที่สุดตอนหลุดมือ เพราะฉะนั้นวันนี้อยู่กับปัจจุบันให้เต็มที่ที่สุดทำ 6 ข้อนี้ได้ หัวใจเราจะแข็งแกร่งมากขึ้น หัวใจเราจะมีพลังมากขึ้น และ เมื่อใจของพวกเรามีพลัง พลังทั้งหมดจะถูกส่งไปยังคนรอบๆตัวและในเรื่องของการทำงาน

 

ข้อมูลจาก : ดีเจพี่อ้อย (นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล) : กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา ในหัวข้อ องค์กรยุคใหม่ ดูแลใจ คนทำงานhttps://happy8workplace.thaihealth.or.th/articles/161

อ้างอิง

https://happy8workplace.thaihealth.or.th/articles/161

0 ถูกใจ 543 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

คนรุ่นใหม่กับโรคติดพนัน และสัญญาณเตือนวิกฤตสุขภาพจิต
1708931705.jpg

Super Admin ID1

คนรุ่นใหม่กับโรคติดพนัน และสัญญาณเตือนวิกฤตสุขภาพจิต

พลิกวิกฤตการระบาดโควิด - 19 สู่บริการระบบสุขภาพวิถีใหม่
1708931705.jpg

Super Admin ID1

พลิกวิกฤตการระบาดโควิด - 19 สู่บริการระบบสุขภาพวิถีใหม่

เรื่องกินเรื่องใหญ่…กว่าที่คิด  พฤติกรรมกินขาด ๆ เกิน ๆ โรคร้ายจะมาเยือน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เรื่องกินเรื่องใหญ่…กว่าที่คิด พฤติกรรมกินขาด ๆ เกิน ๆ โรคร้ายจะมาเยื...

ส่วนที่ 1 : สถานการณ์สุขภาพจิตระดับประเทศ และยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ของ สสส. และภาคี
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 1 : สถานการณ์สุขภาพจิตระดับประเทศ และยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ของ...

แผนผังโครงสร้างระบบ (Site map)
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

แผนผังโครงสร้างระบบ (Site map)

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

• จากการสํารวจของ WHO พบว่า ในแต่ละปีมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน หรือทุก ๆ 40 วินาที จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน โดยในสหรัฐอเมริกาพบว่า มีวัยรุ่นหญิงร้อยละ 57 กำลังประสบกับความรุนแรง ความโศกเศร้า และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ขณะที่วัยรุ่นชายอยู่ที่ร้อยละ 29

• การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย และจากการสำรวจ เมื่อปี 2564 พบว่า ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นกลุ่มอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

• ข้อมูลสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐฯ) ระบุว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของวัยรุ่นที่เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคทางจิตเวชอย่างน้อย 1 โรค โดยทั่วไปคือ โรคซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับการฆ่าตัวตายในหมู่วัยรุ่น

 

 

 

เป็นวัยรุ่นมันอาจจะยากและเจ็บปวด!

เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่พัฒนาการด้านต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นวัยที่เปราะบางทางอารมณ์

เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายรอบตัว ทำให้บางครั้งวัยรุ่นเลือกจัดการปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งส่งผลต่อทั้งตัววัยรุ่น ครอบครัว สถานศึกษา และสังคม นำมาซึ่งความสูญเสียที่มิอาจจะประเมินค่าได้

ปัจจุบันปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก สังคมจึงต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังและเร่งดำเนินการเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพจิตและเฝ้าระวังการเกิดภาวะซึมเศร้า