1

0

admin
บทนำ

อารมณ์  หมายถึง การแสดงออกของภาวะจิตใจที่ได้รับการกระทบหรือกระตุ้นให้เกิดมีการแสดงออกต่อสิ่งที่มากระตุ้น  อารมณ์สามารถจำแนกออกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ

1. อารมณ์สุข   คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความสบายใจ หรือ ได้รับความสมหวัง

2. อารมณ์ทุกข์  คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สบายใจ หรือ ได้รับความไม่สมหวัง

ผลแห่งอารมณ์ ไม่ว่าอารมณ์สุข หรือ อารมณ์ทุกข์ จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติและจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมและความรู้สึกตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น

 

1. องค์ประกอบของอารมณ์

อารมณ์จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ  คือ
1. องค์ประกอบด้านสรีระ (Physiological  dimension) หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ทางร่างกายที่จะต้องเกิดขึ้นควบคู่กับปฏิกิริยาทางอารมณ์  เช่น  หัวใจเต้นเร็ว  เหงื่อออกตามร่างกาย  หรือ  ใบหน้าร้อนผ่าว  เป็นต้น   อารมณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้มากที่สุดคือ  อารมณ์กลัว  และ  อารมณ์โกรธ   อารมณ์กลัวจะก่อให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมน แอดรีนาลีนจากต่อมแอดรีนัล (Adrenal gland)    ส่วนอารมณ์โกรธ  จะก่อให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมน นอร์แอดรีนาลีน (Noradrenalin) 
2. องค์ประกอบทางด้านการนึกคิด (Cognitive dimension)  หมายถึง  การมีปฏิกิริยาด้านจิตใจที่เกิดขึ้นต่อสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่และเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา   เช่น  ชอบ -ไม่ชอบ  หรือ  ถูกใจ- ไม่ถูกใจ  เป็นต้น
3. องค์ประกอบทางด้านการมีประสบการณ์ (Experiential dimension)  หมายถึง  การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของแต่ละบุคคลซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป

แบบทดสอบ EQ คุณแสดงอารมณ์แบบไหนกัน?

อารมณ์เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนแต่เราสามารถรู้สึกถึงสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลที่แวดล้อมเราอยู่ได้  เช่น  อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นภาษาหรือคำพูด (Nonverbal language)  เช่น  การแสดงออกทางสีหน้า  ท่าทาง  แต่อาจเกิดความสับสนในการตีความหมายได้  เพราะสังคมแต่ละแห่งอาจมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน  เช่น การแลบลิ้นให้  บางกลุ่มชนจะถือว่าเป็นการทักทาย  แต่ในสังคมจีน  ถือว่าเป็นการแสดงอารมณ์แปลกใจ  หรือประหลาดใจ  เป็นต้น
จงจำไว้ อารมณ์สำคัญกว่าเหตุผล - Tawatchai Suwannasarn
อารมณ์
อารมณ์เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนแต่เราสามารถรู้สึกถึงสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลที่แวดล้อมเราอยู่ได้  เช่น  อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นภาษาหรือคำพูด (Nonverbal language)  เช่น  การแสดงออกทางสีหน้า  ท่าทาง  แต่อาจเกิดความสับสนในการตีความหมายได้  เพราะสังคมแต่ละแห่งอาจมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน  เช่น การแลบลิ้นให้  บางกลุ่มชนจะถือว่าเป็นการทักทาย  แต่ในสังคมจีน  ถือว่าเป็นการแสดงอารมณ์แปลกใจ  หรือประหลาดใจ  เป็นต้น
จงจำไว้ อารมณ์สำคัญกว่าเหตุผล - Tawatchai Suwannasarn
อารมณ์
อารมณ์ของมนุษย์จะเริ่มมีขึ้นนับตั้งแต่เกิด  ซึ่งนักจิตวิทยาพบว่าอารมณ์แรกของมนุษย์นั้นคือ  อารมณ์ตื่นเต้น  ทารกอายุ  3  เดือน จะมีเพียง  อารมณ์เศร้า และอารมณ์ดีใจ  ส่วนอารมณ์ที่มีความสลับซับซ้อนจะปรากฏมากขึ้นตามวุฒิภาวะ  อารมณ์ก้าวร้าวและรุนแรงเป็นผลมาจากการที่บุคคลเกิดความคับข้องใจหรือความรู้สึกว่าตนถูกกดขี่อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์ของตนให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่สังคมแต่ละแห่งได้กำหนดไว้  ก็จะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น
2. การควบคุมอารมณ์และการจัดการอารมณ์

5 วิธีรู้จักอารมณ์เรา เพื่อเข้าสังคมได้ง่าย

 

ในวัน ๆ หนึ่ง เราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าเราจะได้เจอกับอารมณ์ที่เข้ามาให้เรารับรู้อย่างไรบ้าง แล้วเราก็ไม่รู้ว่าเมื่อสิ่งนั้นๆ เข้ามาให้เรารับรู้แล้ว เราจะมีอารมณ์และความนึกคิด ที่จะแสดงพฤติกรรม. โต้ตอบออกไปอย่างไร ฉะนั้นเมื่อเราไม่สามารถล่วงรู้สถานการณ์ได้ เราก็ควรหมั่นฝึกให้มีสติ คือระลึกรู้อยู่เสมออย่าประมาณในการดำเนินชีวิต เมื่อมีอะไรเข้ามากระทบทำให้เราเกิดความคิดและอารมณ์ที่ไม่ดี ก็ควรจะใช้สติในการขบคิดพิจารณา เพื่อให้เราเท่าทัน และไม่ต้องตกเป็นทาสของอารมณ์นั้น 

 โดยการกำหนดอารมณ์และความรู้สึกของเราไม่ให้ส่งผลไปถึงการแสดงออกในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร   วิธีควบคุมอารมณ์ของเราอาจทำได้หลายวิธี ได้แก่

1. ให้มีสติอยู่เสมอเพื่อควบคุมอารมณ์ที่รุนแรงให้คลายลง  เช่น  อารมณ์วิตกกังวล  อารมณ์โกรธ  อิจฉาริษยา    การใช้อารมณ์ของคน  หากใช้เพียงเล็กน้อยแล้วพยายามควบคุมมันให้ได้โดยใช้  “สติ”  หรือหลักธรรมะเข้ามาช่วยในการเผชิญกับเหตุการณ์หรือปัญหาต่าง   ก็จะทำให้เหตุการณ์หรือปัญหาต่าง นั้นเป็นไปในทางที่ดีขึ้นได้  ในทางตรงกันข้ามหากผู้ใดใช้อารมณ์มากหรือรุนแรงเกินไป  ก็อาจจะทำให้เหตุการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ  ที่เผชิญอยู่กลับเลวร้ายลงไปได้เช่นกัน

  2. ใช้คำพูดแสดงความรู้สึกแทนการกระทำ (เทคนิคการแสดงออกที่เหมาะสม)  เช่น  โกรธเพื่อนที่ผิดนัด  ไม่ควรแสดงออกโดยการตำหนิดุด่าแต่ควรใช้คำพูดแทนว่า  “ฉันโกรธมากที่เธอผิดนัดเมื่อวาน”  หรือ  ถูกเพื่อนตำหนิบางเรื่องที่ทำให้โกรธ  ก็ไม่ควรแสดงออกโดยการทะเลาะกับเพื่อน  แต่ควรใช้คำพูดแทนว่า “คำพูดของเธอทำให้ฉันรู้สึกโกรธมากและมันจะทำลายความเป็นเพื่อนของเราด้วย”  เป็นต้น

3. ให้ยืดเวลาออกไปก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป  หรือพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์รุนแรงหรืออารมณ์เสีย   บางคนอาจใช้วิธีการนับหนึ่งถึงสิบ หรือถึงร้อยในใจเพื่อยึดเวลาให้อารมณ์ที่รุนแรงลดลง  จะช่วยให้การแสดงออกที่รุนแรงลดลงไปได้   หรืออาจจะใช้วิธีออกจากเหตุการณ์ตรงนั้นไปก่อน  รอให้อารมณ์ลดความรุนแรงลงแล้วจึงกลับมาเผชิญเหตุการณ์นั้นอีกครั้ง ก็จะทำให้เรามีสติมากขึ้นในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ลงไป

4. ใช้การข่มใจ  การให้อภัยและมองโลกในแง่ดี   ให้คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นถ้าเราแสดงอะไรออกไปด้วยอารมณ์ที่รุนแรง   รู้จักให้อภัยและพยายามฝึกมองสิ่งที่เกิดขึ้นต่าง ในด้านดีเสมอถ้าทำได้  จะทำให้เรามีอารมณ์ที่เป็นสุขมากยิ่งขึ้น  หรือถ้าข่มใจไม่อยู่จริง   ก็อาจใช้วิธีระบายออกโดยการเลี่ยงไปแสดงออกกับสิ่งอื่น แทนก็ได้  เช่น  เขียนระบายอารมณ์  ในกระดาษ  แอบร้องไห้ปลดปล่อยอารมณ์  หรือต่อยตีกระสอบทราย  (อาจใช้ตุ๊กตาแทน)  แต่อย่าให้กลายเป็นการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น

5. เมื่อมีเรื่องทุกข์ใจหรือเครียดควรปรึกษาเพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้หรือผู้ใหญ่ที่เราให้ความเคารพนับถือ    การที่คนเรามีความทุกข์หรือความเครียดแล้วเก็บกดไว้ในใจตนเองอยู่เสมอ  เปรียบเสมือนลูกโป่งที่ถูกอัดอากาศเข้าไปเรื่อย   หากไม่มีการปลดปล่อยลมออกมาเสียบ้าง ไม่นานลูกโป่งก็จะแตก  เช่นเดียวกันหากคนเรามีแต่ความทุกข์เก็บสะสมไว้มากเกินไป  สักวันหนึ่งก็อาจจะกลายเป็นโรคประสาท หรือโรคจิตต่อไปได้  จึงควรปลดปล่อยความทุกข์ที่มีอยู่ออกไปเสียบ้าง
คนที่ควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติได้เร็วจะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้นและจะส่งผลให้ทุกคนที่อยู่รอบตัวมีความสุขไปด้วย

 
อ้างอิง

เทพ สงวนกิตติพันธุ์นักวิชาการศึกษา
ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ข้ามพ้นภาวะเครียดช่วงโควิด-19 รักษาสุขภาพใจ ลดผลกระทบระยะยาว
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ข้ามพ้นภาวะเครียดช่วงโควิด-19 รักษาสุขภาพใจ ลดผลกระทบระยะยาว

หยุดกินตามอารมณ์ ตัดวงจรพฤติกรรมทำลายสุขภาพ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

หยุดกินตามอารมณ์ ตัดวงจรพฤติกรรมทำลายสุขภาพ

ติดต่อเรา
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

ติดต่อเรา

ส่วนที่ 2 : กระบวนการ และกลไก สร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อส่งเสริมจัดการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 2 : กระบวนการ และกลไก สร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อส่งเสริมจัดการแก้...

“ติดเค็ม” … สะเทือนไต  คนวัยทำงาน ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรค
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“ติดเค็ม” … สะเทือนไต คนวัยทำงาน ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรค

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

Sasitha

โรคซึมเศร้า มิใช่โรคจิตหรือโรคประสาท เป็นโรคทางอารมณ์ อารมณ์เศร้านี่เอง ทำให้คิดทุกอย่างด้านลบ คิดว่าตนเองผิด คิดว่าตนเองไร้ค่า คิดว่าหมดหวัง อาการของโรคมักเริ่มจากเป็นน้อย ๆ และมากขึ้นไปจนถึงคิดอยากตาย 

โรคซึมเศร้ามีสาเหตุจากการสูญเสีย หรือความเครียดทางจิตใจก็ได้ เช่น ปัญหาการเรียน การทำงาน หรือความสูญเสียในชีวิต (เช่น สอบตก อกหัก คนรักเสียชีวิต หย่าร้าง ตกงาน) หรือเกิดจากการทำงานน้อยลง ของสารสื่อนำประสาทบางตัว

 

โรงเรียนและผู้ปกครอง สามารถช่วยเหลือนักเรียนด้านจิตใจเบื้องต้นด้วย หลักการปฐมพยาบาลทางใจ 3 ส จะช่วยให้เข้าถึง เข้าใจ และช่วยเหลือนักเรียนได้ทันเวลา

ส.ที่หนึ่ง คือ สอดส่อง มองหา ตรวจสอบคนที่มีพฤติกรรมผิดปกติ โดยสังเกตอาการเบื้องต้นหรือสอบถามอาการ 9 ข้อ

ส.ที่สอง คือ ใส่ใจ รับฟัง

ส.ที่สาม คือ ส่งต่อ เชื่อมโยง

หากโรงเรียน คุณครู เพื่อน และผู้ปกครอง ช่วยกันสอดส่อง ใส่ใจ ช่วยเหลือ ก็จะช่วยให้การรับมือกับปัญหาโรคซึมเศร้าได้ช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดี  
มีภาวะทางอารมณ์ที่ดี และพร้อมเติบโตรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม