0

0

บทนำ

 

Highlight

การประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นโดยกรมสุขภาพจิต พบว่า ร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ร้อยละ 22 มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งประเทศไทยพบอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจากปี 2560 คือ 4.94 ต่อประชากรแสนคน เป็น 5.33 ต่อประชากรแสนคนในปี 2561

ข้อมูลของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า ประเทศไทยมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นให้บริการในหน่วยงานของรัฐเพียงประมาณ 200 คน เท่านั้นเมื่อเทียบกับประชากรวัยรุ่น 15 ล้านคน

ผู้ป่วยที่หายจากโควิดแล้วประมาณ 30-50% ยังมีอาการหลงเหลืออยู่ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีไข้ ไอ ปวดหัว ภาวะนี้เรียกว่า ลองโควิด (Long Covid) ซึ่งหลายรายมีอาการทางจิตใจร่วมด้วย และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาว

 

-----

ความรู้สึกกลัว กังวล เครียด เป็นเรื่องธรรมดาที่มักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน หรือสิ่งที่เราไม่อาจคาดการณ์ได้ ความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้กับคนที่ผ่านประสบการณ์จากการระบาดของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นคนที่ติดเชื้อเอง หรืออยู่ในแวดล้อมของคนที่ติดเชื้อก็ตาม

สถานการณ์โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคนี้มากมาย เช่น ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือหลายคนต้องกลายเป็นผู้ตกงาน เด็ก ๆ ไม่สามารถไปโรงเรียนได้และต้องเรียนออนไลน์ ทุกคนต้องเว้นระยะห่างในการใช้ชีวิต ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้แต่ละคนเกิดความเครียด โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านการติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ไม่เพียงต้องดูแลสุขภาพกายให้ดีเท่านั้น สุขภาพใจก็จำเป็นต้องคอยหมั่นตรวจสอบกันอย่างใกล้ชิดด้วย

การดูแลสุขภาพใจฝ่าวิกฤตโควิด

สุขภาพจิต (Mental Health) มีส่วนสำคัญในการมีชีวิตที่สมดุลและมีสุขภาพดี ในยุคโควิดนำไปสู่ความกังวลสารพัด แม้ว่าความเครียดที่เกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤตจะเป็นกลไกธรรมชาติ แต่ใช่ว่าจะปล่อยผ่านโดยปราศจากแผนการรับมือ นั่นเพราะอาจนำไปสู่ความเสี่ยงมากมาย ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเครียดระดับสูงที่มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด ที่พบได้บ่อยคือ เมื่อผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์จะกลัวการติดเชื้อ รู้สึกหวาดระแวงไปหมด ไม่ว่าจะเป็นคนในบ้าน คนใกล้ตัว บางคนระแวงแม้แต่ตัวเอง มักจะวิตกจริตเกินเหตุอยู่บ่อย ๆ และการที่ไม่รู้ว่าสถานการณ์นี้จะจบลงเมื่อไร ทำให้คนส่วนใหญ่เครียดมากที่สุด

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้วยิ่งเสี่ยงอาการกำเริบหากเครียดเกินไป มีข้อมูลก่อนเกิดวิกฤตโควิด โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานเมื่อต้นปี 2563 ว่า ทั่วโลกมีคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 264 ล้านคน โดยประเทศไทยพบอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจากปี 2560 คือ 4.94 ต่อประชากรแสนคน เป็น 5.33 ต่อประชากรแสนคนในปี 2561 (1)

 

กลุ่มสตรีและเด็กกระทบรุนแรงสุด

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า บางคนอาจมีที่มาของความเครียดหลายทาง ตั้งแต่ความรู้สึกเหงาที่ต้องถูกตัดขาดจากสังคม ต้องโดนแยกห่างจากคนที่รัก ผสมกับการกลัวติดเชื้อ กลัวป่วยหนัก หรือเสียชีวิต นอกจากนี้ ปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเครียด ความกังวล จนส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยรวม

ผลวิจัยล่าสุดจาก Global Burden of Disease ระบุว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของกลุ่มคนอายุน้อย ทำให้พวกเขาคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง นอกจากนี้ ยังพบว่า ส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพกาย และใจของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (2)

 

 

ในประเทศไทย ผลการประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นโดยกรมสุขภาพจิต พบว่า ร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ขณะที่ร้อยละ 22 มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย จากการสำรวจโดยยูนิเซฟยังพบว่า เด็กและเยาวชนไทยจำนวน 7 ใน 10 คนมีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยส่วนใหญ่กังวลกับรายได้ของครอบครัว การเรียน การศึกษา และการจ้างงานในอนาคต

 

 

เด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ประเด็นสุขภาพจิตมักถูกละเลย หรือถูกมองข้าม หรือแม้กระทั่งถูกปกปิดไว้ เนื่องจากยังเป็นเรื่องที่ถูกตีตราหรือเรื่องน่าอาย ทั้งที่ควรได้รับการดูแลใส่ใจอย่างจริงจัง และถูกหยิบยกมาพูดถึงให้เป็นเรื่องปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนที่เผชิญปัญหาด้านสุขภาพจิตเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้สะดวกขึ้น และรวดเร็วขึ้นคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าว

 

 

 

รายงาน The State of the World’s Children 2021; On My Mind: promoting, protecting and caring for children’s mental health ของยูนิเซฟ ชี้ให้เห็นว่า เด็กอย่างน้อย 1 ใน 7 คนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อคดาวน์ ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง (3)

พบจิตแพทย์ประเมินความเครียด

การขาดความรู้และความตระหนักในสุขภาพจิต ประกอบกับการตีตราและการขาดแคลนทรัพยากรด้านสุขภาพจิต ส่งผลให้เด็กและเยาวชนจำนวนมากไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตที่ดี หรือได้รับการช่วยเหลือเมื่อเผชิญปัญหาสุขภาพจิต จากฐานข้อมูลของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า ประเทศไทยมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นให้บริการในหน่วยงานของรัฐเพียงประมาณ 200 คน เท่านั้นเมื่อเทียบกับประชากรวัยรุ่น 15 ล้านคน

เดวอรา เคสเทล ผู้อำนวยการฝ่ายสุขภาพจิตและฝ่ายงบประมาณของ WHO บอกว่า ทุก ๆ ที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 จะต้องใส่ใจกับเรื่องสุขภาพจิต แต่ละประเทศควรต้องแน่ใจว่า ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงการเยียวยาสุขภาพจิต หากพวกเขาต้องการ

ขณะที่ คุณหมออภิสมัย แนะนำว่า หากตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยสุขภาพจิต หรือสงสัยว่าป่วยอยู่ก่อนแล้ว ช่วงนี้ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและรักษาอย่างเหมาะสม หากมีนัดสม่ำเสมอก็ไม่ควรหยุดพบแพทย์ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่อาการรุนแรงและเป็นอันตรายได้ ซึ่งแนวทางการรับมือความเครียดที่ทุกคนสามารถทำได้คือ เริ่มจากการไม่ทำให้สถานการณ์แย่ลง โดยการตัดสินใจในเรื่องใหญ่หรือสำคัญ ควรรักษาตัวให้ดี และระวังอย่าให้ติดเชื้อโควิด

นอกจากนี้ คุณหมอไม่แนะนำให้เสพข่าวสารมากเกินไป เลือกรับข่าวสารจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ตรวจสอบ Fake News รวมทั้งควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทั้งเรื่องการรักษาความสะอาด เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัส และหมั่นเช็กสภาพจิตใจและอารมณ์ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ  พยายามใช้ชีวิตปกติและมีคุณค่า พยายามทำสิ่งที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์ ไม่ทำให้ตัวเองเครียด” (4)

 

‘4 สร้าง 2 ใช้’ ช่วยดูแลจิตใจช่วงรักษาโควิด

สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพจิตควรมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ในการดูแลจิตใจผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาล เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือทางจิตใจ และจิตสังคมได้อย่างเหมาะสม การจัดโครงสร้างควรประกอบด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องกับกรอบความต้องการด้านสุขภาพจิตและจิตสังคม (ภาวะทางด้านจิตใจอารมณ์ของบุคคลที่แสดงออก) ให้บุคคลอื่นเห็นตั้งแต่บริการขั้นพื้นฐานไปจนถึงบริการจากผู้เชี่ยวชาญ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียม และคุณค่าของสังคมและวัฒนธรรม มีการทำงานแบบบูรณาการสอดคล้อง เน้นประสานงานภาคีเครือข่ายช่วยเหลือส่งต่อ

การดูแลจิตใจระหว่างกักตัวรักษาโควิด-19 ประกอบด้วย การดูแลสุขภาพกาย เพื่อให้หายหรืออาการดีขึ้น และนําหลักการ “4 สร้าง 2 ใช้” มาเป็นแนวทางการดูแลจิตใจในการเผชิญภาวะวิกฤต ประกอบด้วย

สร้าง 1 สร้างความปลอดภัย การให้สมาชิกทำตามกฎแห่งความปลอดภัย ตั้งแต่เว้นระยะห่างทางสังคม หมั่นล้างมือด้วยสบู่/แอลกอฮอล์ สวมหน้ากากตลอดเวลา และทำความสะอาดพื้นผิวที่มือสัมผัส

สร้าง 2 สร้างความสงบ ด้วยการเลือกรับฟังข่าวสารที่เชื่อถือได้และใช้เวลากับสื่ออย่างเหมาะสม รวมทั้งฝึกเทคนิคการคลายเครียดที่เหมาะสมกับตัวเอง

สร้าง 3 สร้างความคาดหวัง โดยสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองว่า สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้

สร้าง 4 สร้างความเห็นใจ ดูแลซึ่งกันและกันโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา หรืออาชีพ มีอาสาสมัครที่พร้อมช่วยเหลือและให้กําลังใจ อาจสลับบทบาทกันเป็นแกนนําจัดกิจกรรมส่งเสริมกำลังใจกันและกัน

ใช้ 1 ใช้ศักยภาพให้เต็มที่ เตรียมพร้อมการทำงาน/หารายได้ หลังการรักษา

ใช้ 2 ใช้สายสัมพันธ์สร้างความเข้มแข็ง มีกลุ่มสื่อสารแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น เขียนข้อความให้กําลังใจกัน ส่งเสริมให้มีการติดต่อกันในครอบครัว แลกเปลี่ยนความรู้สึก และความกังวลที่เกิดขึ้น (5)

 

ภาวะ Long Covid ต้องใช้เวลาพักฟื้น

จากข้อมูลผู้ป่วยที่หายจากโควิดแล้วประมาณ 30-50% พบว่า จะยังมีอาการหลงเหลืออยู่ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีไข้ ไอ ปวดหัว ภาวะนี้เรียกว่า ลองโควิด (Long Covid) ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยหลังได้รับเชื้อ 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากอาการทางร่างกายแล้ว ผู้ป่วยหลายรายยังมีอาการทางจิตใจร่วมด้วย และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการของโควิดรุนแรงถึงขั้นต้องนอนรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยวิกฤต (ICU) หรือต้องใส่ท่อช่วยหายใจ อาจจะมีอาการผิดปกติทางจิตใจ มีอาการฟื้นตัวช้า ไม่คล่องตัว ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ เหมือนต้อง “Lock Down” ชีวิตตัวเอง

ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากลองโควิดมักต้องใช้เวลาในการพักฟื้น อาจเสียความคล่องตัวขั้นพื้นฐาน ทำให้สูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน หลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้น เมื่อสูญเสียความมั่นใจในสิ่งที่เคยได้ทำ ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลงและย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจได้ จนเกิดภาวะวิตกกังวล หรือ ซึมเศร้า บางรายเกิดความรู้สึกผิดที่ต้องลาป่วยเป็นเวลานาน และเพื่อนร่วมงานต้องมารับผิดชอบแทน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว

ลองโควิดยังมีผลทำให้มีภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog โดยภาวะที่เกิดขึ้นนี้มาจากอาการทางสมอง ที่อาจแสดงออกมาในลักษณะของการตัดสินใจช้า เช่น ความรู้สึกช้า เบลอ ๆ หรือมีความคิดล่องลอย โดยมักจะมีปัญหาทางด้านความจำ ตัดสินใจไม่เด็ดขาด สมาธิสั้น จิตใจล่องลอย ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ปวดหัว ความคิดสับสน

จากการเก็บข้อมูลของผู้ที่หายป่วยจากโควิดในต่างประเทศพบว่า ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ที่หายจากโควิดจะพบความผิดปกติด้านจิตใจ โดยร้อยละ 18 มีภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 13.6 มีปัญหาด้านอารมณ์ และร้อยละ 5.4 มีภาวะนอนไม่หลับ ขณะที่บางรายพบอาการหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งอาการเหล่านี้มีผลต่อกิจวัตรประจำวัน และการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง (6)

 

คนใกล้ชิด-ครอบครัวช่วยเยียวยาจิตใจ

เนื่องจากลองโควิดมีผลต่อสุขภาพจิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งกรณีที่อยู่ระหว่างการรักษา หรืออยู่ในช่วงพักฟื้นตัวหลังจากหายป่วย ซึ่งอาศัยแนวทางเดียวกับวิธีรับมือกับความเครียดทั่วไป เช่น เมื่อรู้สึกว่าเครียด กังวล หรือมีอารมณ์ที่ผิดปกติ อาจจะหาโอกาสชวนใครออกไปเดินเล่นรอบ ๆ บ้าน พูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่อยู่ห่างไกลผ่านการโทรศัพท์หรือใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียด

 

นอกจากนี้ควรงดการดูหรือติดตามข่าวที่ทำให้เครียด หรือส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจ หางานอดิเรกที่ชอบ ทำกิจกรรมที่ช่วยให้มีสมาธิ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา ที่สำคัญ ควรงด ลด หรือเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ลองกำหนดเป้าหมายที่จะทำในแต่ละวัน อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ เมื่อสามารถทำได้ตามเป้าหมายจะทำให้รู้สึกภูมิใจกับตัวเองมากขึ้น อย่าเก็บความเครียดไว้ในใจ ควรพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเมื่อรู้สึกว่าสภาพจิตใจไม่เป็นปกติ จะช่วยลดภาวะอารมณ์ที่หดหู่ เครียด หรือซึมเศร้าลงได้

หากปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังไม่หายจิตตก ไม่ควรปล่อยไว้ แต่ให้ปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะพูดคุยซักถามเพื่อวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ซึ่งแพทย์อาจให้การรักษาร่วมกับการกินยาเพื่อลดภาวะดังกล่าวด้วย

สำหรับผู้ที่มีญาติหรือคนใกล้ชิดที่เคยป่วยเป็นโควิดหรือมีอาการลองโควิดอยู่ ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าเริ่มมีอาการผิดปกติทางด้านจิตใจหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วย ซึ่งบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย เมื่อพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการควรพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากแพทย์ (7)

ป่วยกายรักษาหายได้ไม่ยากเท่าป่วยใจ ปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องน่าอาย ควรรีบออกจากความเครียด และถ้าจัดการเองไม่ไหวต้องรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนจะสายเกินไป

อ้างอิง

1, 4 https://thestandard.co/why-mental-health-important-in-covid-era/

2 https://www.who.int/news/item/02-03-2022-covid-19-pandemic-triggers-25-increase-in-prevalence-of-anxiety-and-depression-worldwide

3 https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้โควิด-19

 

5 https://www.mhc10.go.th/view_media.php?id=41

6, 7 https://www.praram9.com/long-covid-depression/

0 ถูกใจ 911 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ยอมรับ! ต่างรุ่นต่างประสบการณ์ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ยอมรับ! ต่างรุ่นต่างประสบการณ์ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว

ส่วนที่ 3 บริบทแวดล้อมและปัจจัยเอื้อ เครื่องมือ/สื่อในการสร้างเสริมสุขภาวะด้านความปลอดภัยทางถนน
1708932589.JPG

Writer Don ID2

ส่วนที่ 3 บริบทแวดล้อมและปัจจัยเอื้อ เครื่องมือ/สื่อในการสร้างเสริมสุข...

การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
defaultuser.png

Don Admin

การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)

เพิ่มพลังนม เพื่อสุขภาพ (และส่วนสูง) เด็กไทย!
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เพิ่มพลังนม เพื่อสุขภาพ (และส่วนสูง) เด็กไทย!

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว
1717644549.jpg

เบนจี้ ชลพรรษ

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

• จากการสํารวจของ WHO พบว่า ในแต่ละปีมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน หรือทุก ๆ 40 วินาที จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน โดยในสหรัฐอเมริกาพบว่า มีวัยรุ่นหญิงร้อยละ 57 กำลังประสบกับความรุนแรง ความโศกเศร้า และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ขณะที่วัยรุ่นชายอยู่ที่ร้อยละ 29

• การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย และจากการสำรวจ เมื่อปี 2564 พบว่า ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นกลุ่มอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

• ข้อมูลสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐฯ) ระบุว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของวัยรุ่นที่เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคทางจิตเวชอย่างน้อย 1 โรค โดยทั่วไปคือ โรคซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับการฆ่าตัวตายในหมู่วัยรุ่น

 

 

 

เป็นวัยรุ่นมันอาจจะยากและเจ็บปวด!

เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่พัฒนาการด้านต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นวัยที่เปราะบางทางอารมณ์

เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายรอบตัว ทำให้บางครั้งวัยรุ่นเลือกจัดการปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งส่งผลต่อทั้งตัววัยรุ่น ครอบครัว สถานศึกษา และสังคม นำมาซึ่งความสูญเสียที่มิอาจจะประเมินค่าได้

ปัจจุบันปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก สังคมจึงต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังและเร่งดำเนินการเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพจิตและเฝ้าระวังการเกิดภาวะซึมเศร้า