บทนำ
บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic Cigarettes หรือ E-cigarettes) เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน คำว่า “ลดอันตราย” คือ คำชวนเชื่อเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของทางเลือกใหม่นี้ให้ดูแตกต่างและดีไปกว่าบุหรี่มวนแบบเดิม การที่ไม่ได้จุดไฟเพื่อเผาไหม้ให้มีเขม่า หรือควันดำ ดูคล้ายกับว่าอันตรายก็น่าจะลดลงด้วย บุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อหวังที่จะเพิ่มจำนวนนักสูบให้ไกลออกไปจากแค่กลุ่มผู้บุหรี่มวนแบบเดิม โดยกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยกว่าเดิม มีรสชาติและสัมผัสของรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่1 แต่อย่างไรก็ตาม บุหรี่ไฟฟ้าก็ยังมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน ก่อนที่จะตัดสินใจหันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า เราควรทราบถึงความเป็นจริงและความสำคัญของมันก่อน
บุหรี่ไฟฟ้า หยุดโกหกได้แล้ว
บุหรี่ไฟฟ้าทำงานโดยใช้ความร้อนจากไฟฟ้าทำให้น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าระเหยเป็นไอให้ผู้ใช้สูดเข้าไป น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าถูกแต่งกลิ่นและรสออกมามากมาย เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มนักสูบหน้าใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นผลไม้ หรือแม้แต่กลิ่นอาหาร หรือขนมหวานก็ต่างถูกผลิตขึ้นมา ส่วนใหญ่แล้วน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วยนิโคติน สารแต่งกลิ่นและรสชาติ รวมทั้งสารเคมีอื่น ๆ ที่มักจะเป็นสารพิษ แม้ว่าน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะแปรเปลี่ยนเป็นไอให้สูดเข้าไปจนหมด ไม่มีการเผาไหม้ของใบยาสูบ หรือเกิดเป็นเขม่าควันเหมือนการสูบบุหรี่แบบเดิม แต่อย่างไรก็ตาม น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วยสารเติมแต่งมากมายเหล่านี้เองที่ยังเป็นสารพิษ การเปลี่ยนเป็นไอระเหยจากความร้อนของไฟฟ้ายังทำให้เกิดสารพิษที่ไม่อาจคาดเดาได้ ไอระเหยที่ถูกสูดเข้าไปของมันยังมีขนาดเล็กมากจนเข้าไปในถึงปอดส่วนลึกและทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอดได้ นิโคตินและสารเติมแต่งนี่เองที่มีความเกี่ยของกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ยังชักนำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้อีกด้วย2,3
อีกหนึ่งเหตุผลที่บุหรี่ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น คือ การมองว่าเป็นเครื่องมือในการเลิกบุหรี่ โดยมีความเชื่อว่า สามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ เนื่องจากมันมีอันตรายน้อยกว่า แต่ความเป็นจริงแล้วกลับพบว่า บุหรี่ไฟฟ้านี่เองนำพาให้เกิดความเสี่ยงในการติดบุหรี่ได้มากขึ้น ทั้งในรูปแบบมวนดั้งเดิมและแบบไฟฟ้า เพราะยังคงมีการใช้และติดนิโคตินเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง4 นอกจากนี้ยังไม่มีการรับรองบุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐานที่ช่วยเลิกบุหรี่
บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปราศจากความเสี่ยงหรือดีเกินกว่าบุหรี่แบบมวนอย่างที่มีการโฆษณาเคลือบแฝงเอาไว้ ภายใต้หน้ากากที่เปลี่ยนแปลงไป มีการศึกษามากมายเชื่อมโยงการใช้บุหรี่ไฟฟ้ากับโรคภัยและอันตรายต่อสุขภาพ และผลกระทบระยะยาวของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรับทราบถึงข้อมูลและข้อควรระวังของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อไม่ให้ถูกล่อลวงจากฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ถูกเปลี่ยนไป การตัดสินใจอย่างรอบด้านเกี่ยวกับสุขภาพของเราเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเสมอ
ตอกย้ำความเข้าใจ ด้วยเรื่องจริงที่ “หนู” อยากจะบอก แก้ไข
ในปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นผลกระทบต่อสมองจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า Social Marketing Thaihealth by สสส. จึงได้รวบรวมงานวิจัยจากสมาคมพิษวิทยาแห่งเกาหลี (Korean Society of Toxicology) มาสรุปให้ฟังแบบเข้าใจง่าย และทำให้เห็นภาพของปัญหาได้ตรงจุด ภายใต้แคมเปญการตลาดเพื่อสังคมที่มีชื่อว่า คุณจะเชื่อมั้ย ถ้าหนูมาเล่าเรื่องจริงให้คุณฟัง5
ในงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า หนูที่ได้รับควันบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะหาอาหารได้ช้าลง เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลอันตรายต่อสมองได้ โดยเมื่อนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย นิโคตินจะส่งผลทำให้เซลล์สมองของหนูอักเสบ เกิดการหดตัวลง และเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์สมอง ส่งผลให้เซลล์สมองไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง ไม่ว่าจะเป็นระบบความจำ ระบบการแสดงออก รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ แย่ลง
เช่นเดียวกับกับหลายๆ คน ที่อาจเคยสงสัย ว่าทำไมบางครั้งสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วถึงรู้สึกมึนงง? ลองศึกษาผลงานวิจัยนี้ รวมถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อชั่งน้ำหนักการตัดสินใจให้ดีถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว เมื่อร่างกายของเราได้รับสารนิโคติดและสารเคมีต่าง ๆ ที่อัดแน่นรวมกันอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงบุหรี่มวน ซึ่งแคมเปญคุณจะเชื่อมั้ย?? ถ้าหนูมาเล่าเรื่องจริงให้คุณฟัง ได้มีการเผยแพร่ทั้งช่องทางออนไลน์ โทรทัศน์หรือภาพนิ่งตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ที่ถูกต้องให้แก่คนในสังคม เพราะสุดท้ายแล้ว ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการให้ความรู้ ควบคุม และสามารถตัดสินใจไม่รับสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายของคุณได้นั้น นั่นคือตัวของคุณเอง
สามารถรับชม “เรื่องจริงที่หนูอยากจะบอก” เพิ่มเติมได้ทาง Facebook: Social Marketing Thaihealth by สสส.
แก้ไข
ตอกย้ำความเข้าใจ ด้วยเรื่องจริงที่ “หนู” อยากจะบอก แก้ไข
ในปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นผลกระทบต่อสมองจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า Social Marketing Thaihealth by สสส. จึงได้รวบรวมงานวิจัยจากสมาคมพิษวิทยาแห่งเกาหลี (Korean Society of Toxicology) มาสรุปให้ฟังแบบเข้าใจง่าย และทำให้เห็นภาพของปัญหาได้ตรงจุด ภายใต้แคมเปญการตลาดเพื่อสังคมที่มีชื่อว่า คุณจะเชื่อมั้ย ถ้าหนูมาเล่าเรื่องจริงให้คุณฟัง5
ในงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า หนูที่ได้รับควันบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะหาอาหารได้ช้าลง เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลอันตรายต่อสมองได้ โดยเมื่อนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย นิโคตินจะส่งผลทำให้เซลล์สมองของหนูอักเสบ เกิดการหดตัวลง และเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์สมอง ส่งผลให้เซลล์สมองไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง ไม่ว่าจะเป็นระบบความจำ ระบบการแสดงออก รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ แย่ลง เช่นเดียวกับกับหลายๆ คน ที่อาจเคยสงสัย ว่าทำไมบางครั้งสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วถึงรู้สึกมึนงง? ลองศึกษาผลงานวิจัยนี้ รวมถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อชั่งน้ำหนักการตัดสินใจให้ดีถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว เมื่อร่างกายของเราได้รับสารนิโคติดและสารเคมีต่าง ๆ ที่อัดแน่นรวมกันอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงบุหรี่มวน ซึ่งแคมเปญคุณจะเชื่อมั้ย?? ถ้าหนูมาเล่าเรื่องจริงให้คุณฟัง ได้มีการเผยแพร่ทั้งช่องทางออนไลน์ โทรทัศน์หรือภาพนิ่งตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ที่ถูกต้องให้แก่คนในสังคม เพราะสุดท้ายแล้ว ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการให้ความรู้ ควบคุม และสามารถตัดสินใจไม่รับสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายของคุณได้นั้น นั่นคือตัวของคุณเอง สามารถรับชม “เรื่องจริงที่หนูอยากจะบอก” เพิ่มเติมได้ทาง Facebook: Social Marketing Thaihealth by สสส.
อ้างอิง
1. Pepper JK, Brewer NT. Electronic nicotine delivery system (electronic cigarette) awareness, use, reactions and beliefs: a systematic review. Tob Control. 2014;23(5):375-384. doi:10.1136/tobaccocontrol-2013-051122
2. Novelli CE, Higginbotham EJ, Kapanke KA, Webber-Ritchey KJ, Parker CH, Simonovich SD. A systematic review examining the pulmonary effects of electronic vapor delivery systems. J Clin Anesth. 2022;82:110952. doi:10.1016/j.jclinane.2022.110952
3. Cao DJ, Aldy K, Hsu S, et al. Review of Health Consequences of Electronic Cigarettes and the Outbreak of Electronic Cigarette, or Vaping, Product Use-Associated Lung Injury. J Med Toxicol Off J Am Coll Med Toxicol. 2020;16(3):295-310. doi:10.1007/s13181-020-00772-w
4. Kalkhoran S, Glantz SA. E-cigarettes and smoking cessation in real-world and clinical settings: a systematic review and meta-analysis. Lancet Respir Med. 2016;4(2):116-128. doi:10.1016/S2213-2600(15)00521-4
5. Facebook: Social Marketing Thaihealth by สสส., 2565. https://www.facebook.com/socialmarketingth/posts/pfbid0wUnqbjsMEGkRAaF6jEQAXkg4jZysaXZ6f496nENccVCvWnmomUFx95xw6QCgCRVal?_rdc=1&_rdr
0 ถูกใจ 544 การเข้าชม
งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ
งานบทความที่เกี่ยวข้อง
เข้าสู่ระบบเพื่อโพสต์ความคิดเห็น
ความคิดเห็น 0