1

0

บทนำ

Highlight

• การใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติมีประโยชน์กว่าที่คิด สิ่งนี้เรียกว่า 'บริการระบบนิเวศทางวัฒนธรรม' หรือที่เรียกว่า การมีส่วนร่วมกับธรรมชาติที่ไม่ใช่วัตถุ ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ที่จับต้องไม่ได้ แต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ทัศนคติ พฤติกรรม และค่านิยมในระยะเวลาสั้น

• การอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติส่งผลต่อสุขภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจลดลง ความดันโลหิตลดลง ลดฮอร์โมนความเครียดลงได้ ลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า เกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่ดีขึ้น

• การศึกษาในปี 2019 พบว่าการใช้เวลานอกสถานที่ 120 นาทีในแต่ละสัปดาห์ มีความสัมพันธ์กับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอีกการศึกษาในปี 2021 พบว่าการใช้เวลากลางแจ้งเพียง 30 นาทีสามารถลดความดันโลหิตได้เกือบ 10%

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เวลาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เพราะการที่เราเชื่อมต่อกับธรรมชาติจะให้โอกาสเราได้พักผ่อนหย่อนใจ ได้เติมเต็มจิตวิญญาณ การพัฒนาตัวเอง เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม และประสบการณ์ทางสุนทรียะ ซึ่งประโยชน์เหล่านี้มีมากกว่ากว่าที่เราเคยเชื่อกัน

 

สิ่งนี้เรียกว่า 'บริการระบบนิเวศทางวัฒนธรรม' (Cultural Ecosystem Services - CESs) หรือที่เรียกว่า “ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติแบบที่จับต้องไม่ได้"  ที่ทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีที่ธรรมชาติได้มอบให้

 

งานวิจัยได้กำหนด "กลไกของปัจเจกบุคคล" ที่เป็นการเชื่อมต่อกับธรรมชาติอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้นเป็น 10 กลไก หนึ่งในกลไกเหล่านั้น เช่น การพัฒนาความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีความหมายผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ทัศนคติ พฤติกรรม และค่านิยมในระยะเวลาสั้น ๆ หลังมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ รู้สึกว่าความคาดหวังและความต้องการของเราได้รับความพึงพอใจจากการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ และยังมีกลไกที่เหนือวัตถุ คือ เกิดประโยชน์ด้านคุณค่าทางศาสนาหรือจิตวิญญาณหลังจากมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ

 

กลไกเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น การเดินเล่นสบาย ๆ ในป่า ช่วยทำความสะอาดชายหาด สำรวจชุมชนใหม่ ๆ หรือหาผลไม้ป่า ล้วนเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกผูกพัน หรืออาจทำกิจกรรมนันทนาการที่มีพื้นฐานมาจากธรรมชาติ เช่น การทำสวน นี่คือปฏิสัมพันธ์แบบข้ามประเภทที่จะครอบคลุมทั้งกลไกทางความคิดและวิวัฒนาการ

 

ถึงจะมีข้อดีมากมาย แต่นักวิจัยยังเห็นผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยดีนักระหว่าง CES กับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยค้นพบกลไกเชิงลบบางประการ เช่น การเสื่อมสภาพหรือการสูญเสียของระบบ CES ที่มีอยู่ เช่น  สวนสาธารณะที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาหรือการสร้างอาคารในเขตเมือง หรืออาจเกิดการ "การก่อกวน" เช่น นกร้องส่งเสียงดังตลอดเวลาที่อยู่นอกหน้าต่าง ซึ่งบางคนอาจรู้สึกรำคาญ

 

นอกจากนี้ยังมี "การแลกเปลี่ยน" ซึ่งบางคนได้รับประโยชน์จาก CES เฉพาะอย่าง แต่บางคนไม่ได้รับประโยชน์แบบนั้น ตัวอย่างเช่น ในชุมชนพื้นเมือง การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างโอกาสในการพักผ่อนหย่อนใจให้กับผู้มาเยือน และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อคนในท้องถิ่นบางส่วน อย่างไรก็ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาอาจทำลายจิตวิญญาณท้องถิ่น ถึงกระนั้นผลการศึกษาส่วนใหญ่ก็เป็นไปในเชิงบวก

 

ธรรมชาติไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจจากสิ่งเร้าทางสายตาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเสียง กลิ่น และประสาทสัมผัสอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย และมนุษย์อาจจะมีการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อการอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจลดลง ความดันโลหิตลดลง และความตึงของกล้ามเนื้อลดลง และยังสามารถลดคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ซึ่งเพิ่มระดับของการฟื้นฟูทางจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิที่ดีขึ้น และความรู้สึกเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

ผู้เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ได้รายงานถึงประโยชน์จากการเชื่อมโยงกับธรรมชาติต่อสภาวะจิตใจ เช่น ลดระดับความเครียด ลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า เกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่ดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจ เป็นต้น

 

แม้ว่าเราจะไม่มีเวลาเข้าไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติได้มาก เพราะไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่เวลารัดตัว แต่การสัมผัสกับธรรมชาติแบบง่าย ๆ ก็ส่งผลสะเทือนยิ่งใหญ่แล้ว มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการมองดูธรรมชาติจากเตียงในโรงพยาบาลอาจทำให้การฟื้นตัวจากการผ่าตัดสั้นลง และส่งผลต่อความเจ็บปวดที่เรารู้สึก

 

การศึกษาในปี 2019 พบว่าการใช้เวลานอกสถานที่ 120 นาทีในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ มีความสัมพันธ์กับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และอีกการศึกษาหนึ่งในปี 2021 พบว่าการใช้เวลากลางแจ้งเพียง 30 นาทีสามารถลดความดันโลหิตได้เกือบ 10% แต่โดยสรุปคือควรใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น และเพียง 20 นาทีต่อวันก็สามารถส่งผลดีได้

เราอาจหางานอดิเรกที่ช่วยให้เราได้ใช้เวลานอกบ้านมากขึ้น เช่น ดูนก ทำสวน หรือเพียงแค่ออกไปวิ่ง หากอยู่ในเมืองก็อาจเดินเล่นในย่านใหม่ ๆ หรือแม้แต่การเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางตอนเช้าก็อาจสร้างความแตกต่างได้เช่นกัน จะยิ่งดีหากเดินทางไปทำงานโดยผ่านสวนสาธารณะ หรือบริเวณที่เงียบสงบซึ่งมีต้นไม้เยอะ ๆ

 

ในสถานที่ทำงานก็อาจสร้างบรรยากาศด้วยการเพิ่มพืชในร่มมากขึ้น ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้  ควรให้แสงแดดส่องเข้ามาได้มากที่สุด รวมถึงการแขวนภาพและงานศิลปะสถานที่ทางธรรมชาติ วิธีง่าย ๆ ดังกล่าวสามารถช่วยกระตุ้นความรู้สึกเชื่อมโยงกับธรรมชาติได้แล้ว เพื่อสุขภาพกาย-ใจที่ดีขึ้น

อ้างอิง

เรียบเรียงจาก: https://www.healthline.com/health-news/spending-time-in-nature-is-good-for-you-new-research-explains-why#How-nature-benefits-the-body-and-mind

1 ถูกใจ 590 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

การแต่งเพลงช่วยเยียวยารักษาใจ  ท่วงทำนองชีวิตวัยรุ่นยุคนิวนอร์มอล
1708931705.jpg

Super Admin ID1

การแต่งเพลงช่วยเยียวยารักษาใจ ท่วงทำนองชีวิตวัยรุ่นยุคนิวนอร์มอล

ส่วนที่ 3 : บริบทแวดล้อม และปัจจัยเอื้อ เครื่องมือ โปรแกรม สื่อ ในการสร้างเสริมสุขภาวะด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 3 : บริบทแวดล้อม และปัจจัยเอื้อ เครื่องมือ โปรแกรม สื่อ ในการส...

การให้คุณค่าและรับฟังเสียงพนักงาน  ปัจจัยสร้างองค์กรแห่งความสุขในอนาคต
1708931705.jpg

Super Admin ID1

การให้คุณค่าและรับฟังเสียงพนักงาน ปัจจัยสร้างองค์กรแห่งความสุขในอนาคต

หยุดกินตามอารมณ์ ตัดวงจรพฤติกรรมทำลายสุขภาพ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

หยุดกินตามอารมณ์ ตัดวงจรพฤติกรรมทำลายสุขภาพ

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี
1708931705.jpg

Super Admin ID1

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือ การใช้ดนตรีและวิธีการทางดนตรีในการช่วยฟื้นฟู รักษา และพัฒนาด้านอารมณ์ ร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

 

ความมหัศจรรย์ของดนตรีบำบัด คือ ลดความเจ็บปวด คนไข้ผ่าตัด ฟังดนตรีจะลดอาการปวด ใช้ยาแก้ปวดน้อยลง ทำให้เลือดลมดี หากฟังเพลงที่ค่อย ๆ

 เพิ่มความดังทีละน้อย ทำให้เส้นเลือดขยาย เลือดลมเดินสะดวก

 

วิชาชีพดนตรีบำบัดเป็นที่รู้จักและเผยแพร่ในหลายประเทศในยุโรปและอเมริกา ขณะที่ในประเทศไทยมีนักดนตรีบำบัดที่มีใบอนุญาตไม่เกิน 10 คน ทุกคนเรียนจบและได้รับใบอนุญาตจากต่างประเทศ ปัจจุบันเริ่มมีการเปิดหลักสูตรดนตรีบำบัด เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

ท่ามกลางคนแปลกหน้าจำนวนมาก บ้างคุยกันเงียบ ๆ บางคนพยายามเพ่งความสนใจไปยังโทรทัศน์ คว้านิตยสารมาเปิดอ่าน ไถโทรศัพท์ในอุ้งมือ สีหน้าท่าทางเต็มไปด้วยความกังวลใจ เคร่งเครียด เจ็บปวด บางคนร้องไห้ และดูเหมือนเวลารอบ ๆ คนเหล่านั้นจะเคลื่อนผ่านไปอย่างเชื่องช้า โมงยามในสถานพยาบาลมักเป็นอย่างนี้

พลันใดนั้น เสียงดนตรีล่องลอยมาจากมุมนั่งคอย เมื่อการแสดงสดของวงดนตรีเริ่มบรรเลง นำพาความคิดจิตใจของผู้คนไปยังที่มาของเส้นเสียงเหล่านั้น

ความเครียด ความวิตกกังวล หรือพลังงานลบต่าง ๆ ที่ทุกคนแบกมันไว้ในอาณาบริเวณนั้นก็ค่อย ๆ เบาบางเจือจางลงด้วยพลังเสียงจากดนตรี

มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายยืนยันว่า ดนตรีนั้นมีพลังช่วยกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์เชิงบวก นำไปสู่การปลดปล่อยสารแห่งความสุข จึงเป็นวิธีง่าย ๆ ในการเปลี่ยนอารมณ์ บรรเทาความเครียด เหนื่อยล้า หรือแม้แต่ลดความเจ็บปวด

ในมุมนั่งคอยในสถานพยาบาลที่ให้ความบันเทิงและผ่อนคลาย ดนตรีในฐานะเครื่องมืออันทรงพลังของกระบวนการ “ดนตรีบำบัด”​ ก็จะช่วยบรรเทาหรือรักษาอาการเจ็บป่วยทางกายและจิตใจ เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับการยอมรับในนานาประเทศ