0

0

บทนำ

คำนำ

1.กิจกรรมทางกาย

1.กิจกรรมทางกาย

แทรก1 แก้ไข

แทรก1

2.กิจกรรมทางกาย

2.กิจกรรมทางกาย

แทรก2 แก้ไข

แทรก2

อ้างอิง

อ้างอิง

0 ถูกใจ 546 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

สุขภาพดี…เพราะมีสวน ‘พื้นที่สีเขียว’ ตัวกระตุ้นกิจกรรมทางกาย
1708931705.jpg

Super Admin ID1

สุขภาพดี…เพราะมีสวน ‘พื้นที่สีเขียว’ ตัวกระตุ้นกิจกรรมทางกาย

ขยับตัวเพื่อสุขภาพ เด็กไทยเอาชนะพฤติกรรมเนือยนิ่งและบอกลาโรคอ้วน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ขยับตัวเพื่อสุขภาพ เด็กไทยเอาชนะพฤติกรรมเนือยนิ่งและบอกลาโรคอ้วน

อุบัติเหตุบนท้องถนน คนเดินเท้าเสี่ยงเสียชีวิต-บาดเจ็บมากสุด
1708931705.jpg

Super Admin ID1

อุบัติเหตุบนท้องถนน คนเดินเท้าเสี่ยงเสียชีวิต-บาดเจ็บมากสุด

ส่วนที่ 4 การประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้สุขภาวะ ประเด็นสุขภาพจิต
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 4 การประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้สุขภาวะ ประเด็นสุขภาพจิต

ลาออกไปเงียบ ๆ ชีวิตวิถีใหม่ของคนทำงาน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ลาออกไปเงียบ ๆ ชีวิตวิถีใหม่ของคนทำงาน

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

• กิจกรรมทางกายคือ การทำกิจกรรมให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและเผาผลาญพลังงาน อย่างเช่น การเดิน ปั่นจักรยาน เล่นกีฬา ฯลฯ รวมไปถึงทำกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งในวัยผู้ใหญ่ควรมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

• ในปี 2562 ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนไทยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอร้อยละ 74.6 หลังการแพร่ระบาดในปี 2563 กิจกรรมทางกายลดลงเหลือร้อยละ 55.5 และปี 2564 ระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอขยับขึ้นเป็นร้อยละ 63.0 อีกร้อยละ 11.6 ยังไม่สามารถฟื้นคืนกิจกรรมทางกายได้

• การเข้าถึงสวนสาธารณะ สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวอื่น ๆ กระตุ้นให้ผู้คนบรรลุการทำกิจกรรมทางกาย อย่างเช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน หรือเล่นกีฬา เพราะการมีพื้นที่สีเขียวช่วยให้กิจกรรมทางกายสนุกสนานยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประชากรมีสุขภาพดี และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

 

หากเคยสังเกต คุณเองอาจจะได้พบว่า พื้นที่สีเขียวใกล้ ๆ ตัวสามารถสร้างแรงกระตุ้นให้รู้สึกอยากออกไปทำกิจกรรมทางกายมากขึ้น และถ้ามากเพียงพอ กิจกรรมทางกายเหล่านั้นจะส่งผลดีต่อสุขภาพ

ที่ผ่านมามีหลายผลการศึกษาระบุตรงกันถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่สีเขียวต่อสุขภาวะในเชิงบวก ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนและปรับปรุงคุณภาพพื้นที่สีเขียวในเมือง ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในฐานะที่เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

แต่ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแต่ละเมืองต่างมีปัญหาของตัวเอง เช่น พื้นที่ไม่เพียงพอหรือพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหรือเข้าถึงได้ยาก เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงของประเทศไทย