0

0

บทนำ

 

 

รู้หรือไม่ว่า เด็กไทยจำนวนมากใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นิ่ง ๆ และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ?

“พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ดังกล่าว เป็นต้นเหตุปัญหาสุขภาวะที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยทุกภาคส่วนสามารถช่วยสร้าง สนับสนุน และส่งเสริมให้เด็กไทยมีวิถีชีวิตที่ “แอ็กทีฟ” ยิ่งขึ้น ด้วยการขยับตัว ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ทั้งสนุก มีความสุข ไปพร้อมกับการรักษาสุขภาพ!

พฤติกรรมเนือยนิ่งและผลกระทบที่ซ่อนอยู่

พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายเคลื่อนไหวน้อย เช่น นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ โดยใช้พลังงาน 1.5 MET(Metabolic Equivalent of Task) หรือต่ำกว่า

เด็กไทยในปัจจุบันมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่ทำให้เด็ก ๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจอมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เล่นเกม ดูวิดีโอ หรือการใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์

ตามข้อมูลของ Active Healthy Kids Global Alliance ในการสำรวจประเทศสมาชิก 57 ประเทศ เมื่อปี 2565 พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากและสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งของเด็กไทยนั้นอยู่ลำดับที่ 2 ของโลก ขณะที่การทำกิจกรรมทางกายหรือการเล่นของเด็กไทยอยู่อันดับที่ 27 ของโลก

ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา พบว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากและออกกำลังกายน้อย ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ วัยรุ่นควรออกกำลังกายระดับปานกลางหรือหนักอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน แต่จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Child & Adolescent Health เมื่อปี 2019 ระบุว่า วัยรุ่นอเมริกันที่ไปโรงเรียนมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20 ที่ออกกำลังกายระดับปานกลางหรือหนักอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน

พฤติกรรมเนือยนิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อร่างกายขาดการขยับเขยื้อน ระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายจะทำงานแย่ลง รวมทั้งอัตราการเผาผลาญพลังงานจะน้อยไปด้วย ก่อให้เกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง ฯลฯ ซึ่งทำให้คนไทยเสียชีวิตถึง 3 แสนคนต่อปี

พฤติกรรมเนือยนิ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ยังมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตด้วย

แอ็กทีฟได้ … สนุกด้วย

เพื่อต่อสู้กับพฤติกรรมเนือยนิ่งและผลเสียที่จะตามมา เด็กไทยต้องขยับตัวมากขึ้นเพื่อให้มีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ นอกจากจะเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักตัวแล้ว ยังช่วยปรับปรุงสุขภาพระบบต่าง ๆ ของร่างกาย มีประโยชน์ต่อสมอง สร้างสมาธิ ช่วยลดความเครียด เป็นต้น

การสร้าง “แอ็กทีฟไลฟ์สไตล์” ให้กับเด็ก ๆ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วย

-หากิจกรรมที่ชื่นชอบและเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะได้เคลื่อนไหวร่างกายแล้วยังมีความสนุกสนานเป็นแรงจูงใจด้วย

-กิจกรรมทางกายไม่ได้มีเพียงแต่กีฬา แต่ยังรวมถึงกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ เช่น ขี่จักรยานในสวนสาธารณะ ไปแคมปิงว่ายน้ำ ปีนเขา พายเรือ สเก็ตบอร์ด เต้นรำ ฯลฯ

-งานบ้านง่าย ๆ ไม่ว่าจะ ดูดฝุ่น ตัดหญ้า ทำสวน ฯลฯ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ การเดินหรือการปั่นจักรยานเพื่อการเดินทาง ฯลฯ ต่างช่วยเรียกเหงื่อและเผาผลาญแคลอรีได้เช่นกัน

-การทำกิจกรรมทางกายร่วมกับครอบครัวหรือเพื่อนช่วยเป็นแรงกระตุ้นทำให้มีแรงจูงใจ สนุกสนาน ไม่รู้สึกเบื่อ

 

การให้ความรู้ สนับสนุน ส่งเสริม สร้างโอกาส และออกแบบให้เด็ก ๆ มีวิถีชีวิตที่แอ็กทีฟในวันนี้จะสร้างประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งทุกฝ่ายจำทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และภาคนโยบาย ผู้ปกครอง นักการศึกษา และผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องช่วยกัน เพื่อให้เด็กไทยสดใส มีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วยความกระฉับกระเฉง หลุดพ้นจากพฤติกรรมเนือยนิ่งและบอกลาโรคอ้วน

 

อ้างอิง

https://web.facebook.com/TPAK.Thailand/photos/a.125522615729926/731033961845452/?_rdc=1&_rdr

https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/พฤติกรรมเนือยนิ่ง-ปัญหาหลักของโรค-ncds

https://edition.cnn.com/2022/09/22/health/how-to-get-teens-exercising-wellness/index.html

 

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

พลิกวิกฤตการระบาดโควิด - 19 สู่บริการระบบสุขภาพวิถีใหม่
1708931705.jpg

Super Admin ID1

พลิกวิกฤตการระบาดโควิด - 19 สู่บริการระบบสุขภาพวิถีใหม่

กุญแจสู่การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี
1708931705.jpg

Super Admin ID1

กุญแจสู่การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี

ทำความรู้จัก เพจ "สารส้ม" พื้นที่ปลอดภัย เสริมพลังเยาวชน ห่างยาเสพติด
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ทำความรู้จัก เพจ "สารส้ม" พื้นที่ปลอดภัย เสริมพลังเยาวชน ห่างยาเสพติด

‘ภาวะหมดไฟ’ ด้านมืดของอิสรภาพในโลกฟรีแลนซ์
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ภาวะหมดไฟ’ ด้านมืดของอิสรภาพในโลกฟรีแลนซ์

ดนตรีบำบัด: เครื่องมือทรงพลังเชิงบวก ช่วยรักษาอาการป่วยทางกายและจิตใจ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ดนตรีบำบัด: เครื่องมือทรงพลังเชิงบวก ช่วยรักษาอาการป่วยทางกายและจิตใจ

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คือ กิจกรรมที่แทบไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น  นั่งดูโทรทัศน์ เล่นเกม ขับรถ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต จนเกิดเป็นพฤติกรรมติดจอทําให้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ

การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ตามมา โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็ง

สำหรับกิจกรรมทางกายแบ่งเป็นระดับเบา รู้สึกเหนื่อยน้อย เช่น ยืน เดินระยะสั้น ๆ ฯลฯ ระดับปานกลาง กิจกรรมที่รู้สึกเหนื่อยไม่มาก เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ทํางานบ้าน ฯลฯ  และระดับหนัก กิจกรรมที่ทําให้รู้สึกเหนื่อยมาก ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น วิ่ง เดินขึ้นบันได ออกกําลังกาย เล่นกีฬา ฯลฯ

 

----

 

เมื่อกลับมาทำงานในออฟฟิศอีกครั้ง หลังจากเวิร์คฟอร์มโฮมยาวช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ชีวิตของเราก็กลับเข้าสู่โหมดเดิม ๆ ทุก ๆ วัน เหมือนเอาร่างกายผูกติดอยู่กับโต๊ะเก้าอี้เป็นระยะเวลานาน การลุกขึ้นเดินเพียงระยะสั้น ๆ ก็กลายเป็นเรื่องยาก แม้แต่การเปลี่ยนอริยาบถไปทำกิจกรรมห่างจากโต๊ะทำงานเพียงไม่กี่นาทีก็ยังไม่มีเวลา ไม่ต้องพูดถึงการออกกำลังกาย นอกจากนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลาแปดชั่วโมงต่อวัน ห้าวันต่อสัปดาห์แล้ว แถมบางคนนั่งนิ่ง ๆ บนรถระหว่างการเดินทาง แล้วยังดูโทรทัศน์ เล่มเกม ใช้โทรศัพท์มือถืออีกต่างหาก

หนึ่งวันในชีวิตคนทำงานส่วนใหญ่จึงหมดไปกับการนั่งนิ่งเสียครึ่งค่อน ด้วยพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้เกิดผลเสียต่อสมรรถภาพร่างกาย ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ไม่เพียงเท่านั้น ยังอาจส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และประเทศด้วย

ทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้ และเริ่มต้นแก้ไข ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการทำกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ