0

0

บทนำ

Highlight

ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 ระบุว่า หญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 38,559 ราย หญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไปเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 19,776 ราย รองลงมา อายุ 50 – 59 ปี จำนวน 12,181 ราย และอายุ 40 – 49 ปี จำนวน 5,177 ราย

การตรวจเต้านมด้วยตนเองควรทำในช่วงหลังหมดประจำเดือน 2-3 วัน สามารถดูด้วยตาและคลำด้วยมือ โดยคลำครอบคลุมเนื้อเต้านม ขอบด้านล่างเสื้อชั้นใน บริเวณหัวนม ใต้รักแร้ และไหปลาร้า

ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกายจะยิ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น คนอายุ 15 – 49 ปี ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ด้วย

มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่ผู้หญิงไทยจำนวนมากกำลังเผชิญอยู่ มะเร็งเต้านมสามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงควรมีการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอย่างเช่นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

มะเร็งเต้านมภัยร้ายใกล้ตัวหญิงไทย

ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2565 ระบุว่า หญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 38,559 ราย หญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไป เป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุดจำนวน 19,776 ราย รองลงมา คือ อายุ 50 – 59 ปี จำนวน 12,181 ราย และ อายุ 40 – 49 ปี จำนวน 5,177 ราย

มะเร็งเต้านมเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก่อนที่จะกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

มะเร็งเต้านมมักพบในหญิงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ หรือเคยพบก้อนบริเวณเต้านมที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ รวมถึงกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี หรือเคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกก่อนอายุ 30 ปี ผู้หญิงที่ยังไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนสั้นหรือยาวกว่าค่าเฉลี่ย 26-29 วัน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินยาฮอร์โมนทดแทน

ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกายจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น คนอายุ 15 – 49 ปี ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม

 

 

ตรวจเต้านมคัดกรองมะเร็ง ทำได้ด้วยตนเอง

กรมอนามัย, กรมอนามัย เผยหญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านมสูงสุด แนะควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน, 14

มีนาคม 2566, https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140366/

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล, รู้จักมะเร็งเต้านม, 21 มกราคม 2565,

https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/breast-cancer/

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า, แอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม, 4 กุมภาพันธ์ 2565,

          https://sdnthailand.com/9691.html

PPTV online, “แอลกอฮอล์” ปัจจัยกระตุ้น “มะเร็งเต้านม”ในผู้หญิงขึ้น 15 %, 2 สิงหาคม 2566,

https://www.pptvhd36.com/health/care/3780

สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ, คลำอก ลดเสี่ยง มะเร็งเต้านม, 8 กรกฎาคม 2565,

https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/mo0G

 

 

อ้างอิง

กรมอนามัย, กรมอนามัย เผยหญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านมสูงสุด แนะควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน, 14

มีนาคม 2566, https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140366/

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล, รู้จักมะเร็งเต้านม, 21 มกราคม 2565,

https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/breast-cancer/

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า, แอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม, 4 กุมภาพันธ์ 2565,

          https://sdnthailand.com/9691.html

PPTV online, “แอลกอฮอล์” ปัจจัยกระตุ้น “มะเร็งเต้านม”ในผู้หญิงขึ้น 15 %, 2 สิงหาคม 2566,

https://www.pptvhd36.com/health/care/3780

สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ, คลำอก ลดเสี่ยง มะเร็งเต้านม, 8 กรกฎาคม 2565,

 

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ลาออกไปเงียบ ๆ ชีวิตวิถีใหม่ของคนทำงาน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ลาออกไปเงียบ ๆ ชีวิตวิถีใหม่ของคนทำงาน

ยอมรับ! ต่างรุ่นต่างประสบการณ์ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ยอมรับ! ต่างรุ่นต่างประสบการณ์ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว

Self management
defaultuser.png

ORAPIN WIMONPHUSIT

Self management

รับมือความ Toxic อย่างไรดี
defaultuser.png

อภิรักษ์ รุ่งเรือง

รับมือความ Toxic อย่างไรดี

เข้าใจความหลากหลายในบ้าน สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก LGBTQ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เข้าใจความหลากหลายในบ้าน สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก LGBTQ

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังคงเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญของประเทศไทย ท่ามกลางการต่อสู้อันยาวนานนี้ หนึ่งในสัญญาณแห่งความหวังที่จะสนับสนุนให้ประชากรเลิกสุราได้ คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน
จากรายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย ปี 2557 พบว่า การเสพติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุลำดับที่ 5 ของการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs) ในเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 4.5 และเป็นสาเหตุลำดับที่ 1 ของการสูญเสียปีสุขภาวะจากภาวะบกพร่องทางสุขภาพ (YLDs) ในเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 13.1 และเป็นสาเหตุลำดับที่ 12 ในเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 1.7 


ในการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร ปี 2560 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 55.9 ล้านคน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 10.7 ล้านคน กลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการดื่มสุราสูงสุด ร้อยละ 36.0
ผลการสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี 2556 พบว่า คนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.7 ล้านคน แต่เข้ารับบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 1.6 และในปี 2563 จากรายงานกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้มีปัญหาจากการดื่มสุราเข้ารับการบำบัดในสถานบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 9.47

ด้วยสถานการณ์ที่เป็นอยู่นี้มีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการบำบัดฟื้นฟูและเลิกดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง โดยดึงชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญ
สมาคมฮักชุมชน โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) ได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมการลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เน้นการทำงานผ่านชุมชนและวัด ซึ่งใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย โดยถือเอาช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เป็นจุดเริ่มต้น
เป้าหมายเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนโดยที่คนในชุมชนซึ่งเข้าใจปัญหาได้เข้ามามีส่วนร่วม ด้วยการให้ความรู้ ทักษะ เครื่องมือในการดูแลผู้มีปัญหาสุรา และสามารถติดตามผลได้ นอกจากช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและชุมชน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย











โครงการมี 2 รูปแบบคือ “รูปแบบธรรมนำทาง” เป็นกิจกรรมในวัดที่มีพระสงฆ์ช่วยสร้างสติเสริมปัญญา ควบคู่ไปกับการให้ความรู้จากบุคลากรสุขภาพ พร้อมมีชุมชนและครอบครัวร่วมสนับสนุน
ส่วน “รูปแบบกลุ่มฮักครอบครัว” เป็นการทำกิจกรรมกลุ่ม โดยผู้มีปัญหาสุราและสมาชิกในครอบครัวต้องเข้าร่วมทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีการติดตามผล
ทั้ง 2 รูปแบบใช้เวลา 12 เดือน ระหว่างนั้นจะมีการติดตาม การฝึกพัฒนาทักษะให้อาชีพสร้างรายได้ เพื่อให้เลิกสุราได้อย่างยั่งยืน
หนึ่งในพื้นที่ต้นแบบซึ่งประสบความสำเร็จจากการดูแลผู้มีปัญหาสุราโดยชุมชนคือ เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพื้นที่นำร่องใน 8 หมู่บ้านของตำบลสบเตี๊ยะซึ่งเป็นรูปแบบกลุ่มฮักครอบครัว หลังจากดำเนินการมา 2 ปี ได้มีการอบรมพัฒนาทักษะคนในพื้นที่ 124 คน ให้มีความรู้ด้านบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมกลุ่มฮักครอบครัว และบำบัดการเลิกเหล้า



ในจำนวนนี้ผู้มีปัญหาจากการดื่มสุราที่มีแนวโน้มดื่มจนทำให้เกิดปัญหากับตนเอง ครอบครัว และชุมชน เข้าร่วมจำนวน 55 คน สามารถปรับพฤติกรรมจนเลิกดื่มสำเร็จ 12 คน (ร้อยละ 22) ลดการดื่มลง 38 คน (ร้อยละ 69) ดื่มในระดับเดิม 4 คน (ร้อยละ 7) และเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัว 1 คน
ผู้มีปัญหาสุราส่วนใหญ่ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยลดการดื่มสุราลงได้ จะมีสุขภาพดีขึ้น ได้รับโอกาสการจ้างงาน มีความเข้าใจกันในครอบครัวมากขึ้น และเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น
จากผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ ทำให้เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะมีศักยภาพพร้อมเป็นพื้นที่ต้นแบบชุมชนสุขภาวะและจะมุ่งขยายให้เกิดพื้นที่ต้นแบบในทุกภูมิภาคต่อไป