0

0

บทนำ

พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ นำมาสู่อัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ควรลดอาหารหวาน มัน และเค็ม โดยใช้สูตร 6:6:1 เป็นตัวช่วย
 

NCDs โรคร้ายจากการใช้ชีวิต

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 14 ล้านคน ทุกปีมีผู้เสียชีวิตด้วย NCDs กว่า 3 แสนคน รวมถึงคนอายุน้อยที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจำนวนมาก
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น มะเร็ง หัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ทางเดินหายใจเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง อ้วน ฯลฯ สาเหตุไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน แต่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรม กระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง สร้างความสูญเสียให้กับประเทศอย่างมหาศาล
ปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคกลุ่มนี้คือ การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมากเกินไป เพื่อจัดการกับ NCDs สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำให้ใช้สูตร 6:6:1
 

6:6:1 สูตรสุขภาพดี

สูตร 6:6:1 คือ การจำกัดอาหารหวาน มัน และเค็ม โดยในแต่ละวันควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา และเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา (หรือน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชา)
เพราะการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น กระดูกและฟันไม่แข็งแรง เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความหวานยังทำให้เซลล์ผิวสูญเสียความยืดหยุ่น
ถึงแม้ว่าไขมันบางชนิดจะมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่การกินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ สร้างผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น นำไปสู่โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด
ขณะที่การรับประทานอาหารเค็มมาก ทำให้เสี่ยงความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยการเกิดโรคหัวใจ โรคไต และอื่น ๆ

 

อาหารต้องระวังหวาน มัน เค็ม!

อาหารที่เราคุ้นเคยหรือรับประทานอยู่ทุกวัน อาจมีปริมาณความหวาน มัน และเค็มสูงเกินไป

อย่างเช่น เครื่องดื่มสุดโปรดหนึ่งแก้วอาจมีน้ำตาลสูงเกินปริมาณซึ่งควรบริโภคต่อวัน เช่น ชาเขียว 1 ขวด มีน้ำตาล 14 ช้อนชา ชานมไข่มุก 1 แก้ว น้ำตาล 11 ช้อนชา กาแฟสดเย็น 1 แก้ว น้ำตาล 9 ช้อนชา น้ำอัดลม 1 กระป๋อง น้ำตาล 8.5 ช้อนชา เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ขวด น้ำตาล 7 ช้อนชา เป็นต้น

อาหารที่เต็มไปด้วยไขมันซึ่งต้องระวัง เช่น ไข่ดาว ไขมัน 4 ช้อนชา ไข่เจียว 5 ช้อนชา หอยทอด / ข้าวขาหมู 1 จาน 8 ช้อนชา โดนัท 1 ชิ้น 4.5 ช้อนชา พิซซ่า 1 ชิ้น 4 ช้อนชา มันฝรั่งทอด 20 ชิ้น 3 ช้อนชา ฯลฯ

อาหารยอดนิยมอย่าง หมูกระทะ ชาบู ฯลฯ พบโซเดียมกว่า 12,000 มิลลิกรัม ควรหลีกเลี่ยงการกินน้ำซุปหรือกินน้อยลง เพราะน้ำซุปมีปริมาณโซเดียมสูงจากเครื่องปรุงรสหรือซุปก้อน ส่วนส้มตำถาดปูปลาร้านั้นพบมีโซเดียมกว่า 2,000 มิลลิกรัม บะหมี่สำเร็จรูป 1 ห่อ มีโซเดียม 1,500 มล. (3/4 ช้อนชา) เป็นต้น

ในเครื่องปรุงต่าง ๆ มักจะมีโซเดียมสูงเช่น ไตปลา (1 1/2 ช้อนชา) ปลาร้า (3/4 ช้อนชา) เต้าเจี้ยว (1 ช้อนชา) ซุปก้อน (1 1/4 ช้อนชา) ฯลฯ

 

เพื่อการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรค ควรรักษาสมดุลในการบริโภค โดยควบคุมปริมาณน้ำตาล น้ำมัน และโซเดียมให้อยู่ในเกณฑ์แนะนำ

สูตร 6:6:1 สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ทุกคนบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมได้

อ้างอิง

  • สสส. ชวนใช้สูตร 6:6:1 ปรุงอาหาร – 2:1:1 จัดจานสุขภาพดี ลดเสี่ยง NCDs ห่วงเมนูฉลองปีใหม่ “หมูกระทะ-ชาบู-ตำปูปลาร้า” โซเดียมกว่า 12,000 มก,30 ธันวาคม 2566, https://shorturl.asia/NrlWL
  • หวาน มัน เค็ม เลี่ยงได้ ด้วยสูตร 6:1:1, https://shorturl.asia/5VQ4P
  • คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการ สสส. ประจำเดือนมิถุนายน 2566, https://shorturl.asia/Y89bH
  • สุขภาพดีเริ่มที่...อาหาร ลด หวาน มัน เค็ม เติมเต็ม ผัก ผลไม้, สิงหาคม 2562,

https://shorturl.asia/4Lp9r
โรค NCDs ฆาตกรเงียบที่คุกคามอนาคตประเทศไทย, https://shorturl.asia/NJt38

0 ถูกใจ 1.5K การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ดนตรีบำบัด: เครื่องมือทรงพลังเชิงบวก ช่วยรักษาอาการป่วยทางกายและจิตใจ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ดนตรีบำบัด: เครื่องมือทรงพลังเชิงบวก ช่วยรักษาอาการป่วยทางกายและจิตใจ

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี
1708931705.jpg

Super Admin ID1

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี

คู่มือการเริ่มต้นเขียนบทความบน THKS
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

คู่มือการเริ่มต้นเขียนบทความบน THKS

‘ภาวะหมดไฟ’ ด้านมืดของอิสรภาพในโลกฟรีแลนซ์
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ภาวะหมดไฟ’ ด้านมืดของอิสรภาพในโลกฟรีแลนซ์

ปกป้องชีวิตเด็กไทยด้วยหมวกนิรภัย
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ปกป้องชีวิตเด็กไทยด้วยหมวกนิรภัย

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

ใคร ๆ ก็ทราบดีว่าการกินและผักผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่จากการสำรวจของโครงการศึกษาพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทยโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จากกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 6,991 คน พบว่า เกือบ 2 ใน 3 ของคนไทย หรือร้อยละ 65.5 กินผักและผลไม้เฉลี่ยเพียง 336.9 กรัมต่อวัน ขณะที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินอย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน โดยปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอของคนไทย
ยกตัวอย่างผลสำรวจ ผู้ชายมีแนวโน้มกินผักและผลไม้น้อยกว่าผู้หญิง ซึ่งสะท้อนว่าผู้ชายอาจมีความตระหนักด้านสุขภาพน้อยกว่า กลุ่มวัยอายุน้อย (15-29 ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากกว่าวัยอื่น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่า คนเข้าสู่วัยหนุ่มสาวจะเริ่มใช้ชีวิตอย่างอิสระและเสี่ยงต่อพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ด้านคนโสดก็มีแนวโน้มกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากกว่ากลุ่มคนที่แต่งงานแล้ว หรือคนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอมากกว่าคนในพื้นที่อื่น เนื่องจากชีวิตประจำวันที่ถูกจำกัดด้วยเวลา ฯลฯ

คำถามก็คือ จะรณรงค์อย่างไรให้คนไทยหันมากินผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น อันดับแรกคงต้องตอกย้ำทัศนะคติที่ว่า การไม่กินผักผลไม้ไม่เห็น (ป่วย) เป็นอะไร เป็นเรื่องที่ยังไม่เห็นผลในระยะสั้น แต่จะเกิดผลในระยะยาว โดยการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอในแต่ละวัน สามารถช่วยลดภาวะโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ หัวใจขาดเลือด  เส้นเลือดในสมองตีบ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ 
อย่างไรก็ดี เข้าใจได้ว่า คนที่ไม่ชอบกินผักและผลไม้เป็นทุนเดิม เป็นเรื่องยากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน แต่เพื่อสุขภาพที่ดี เมื่อรู้ว่ากินแล้วมีประโยชน์ ทำไมถึงจะไม่ทำ ขั้นตอนแรกคงต้องเปิดใจลองกินผักสดต่าง ๆ ดู ถ้ายังยากอยู่อาจจะเริ่มจากการกินสลัดผัก หรือยำประเภทต่าง ๆ ที่มีผักเยอะ ๆ อาจจะช่วยให้กินผักได้ง่ายขึ้น หรือกินผักชุบแป้งทอดก็อาจมีรสชาติให้กินได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้น ควรลองเมนูใหม่ ๆ ที่มีส่วนผสมของผักในสัดส่วนที่พอ ๆ กับเนื้อสัตว์ อย่างเช่น ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน แกงเลียง แกงอ่อม หรือเกาเหลา และหากพบว่าทั้ง 3 มื้อในหนึ่งวันยังกินผักในสัดส่วนที่ยังไม่มากพอก็ให้เพิ่มสัดส่วนการกินผลไม้เพิ่มเติม โดยเลือกผลไม้ที่รสไม่หวานจนเกินไป ซึ่งหากลองปรับเปลี่ยนการกินมาได้ระยะหนึ่งอาจจะเห็นผลในเรื่องการขับถ่ายที่ดีขึ้น และรูปร่างดีขึ้นอีกด้วย
ปัญหาใหญ่ที่หลายคนอาจวิตกกังวลคือ จะเลือกกินผักอย่างไรให้ปลอดภัย เพราะผักในตลาดทั่วไปมักมีสารเคมีตกค้างเยอะ เพื่อความสบายใจในเรื่องนี้ เราอาจต้องเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยมาทำอาหารเองที่บ้านตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น เลือกผักตามฤดูกาล  หรือผักพื้นบ้านที่ปลูกง่าย ไม่ต้องพึ่งสารเคมี เพื่อเพิ่มสัดส่วนการกินผักในแต่ละมื้อจากร้านอาหาร
            แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่า ผักผลไม้ที่กินในแต่ละวันมีสัดส่วนเพียงพอตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำหรือไม่ วิธีการง่าย ๆ คงต้องใช้วิธีการคำนวณให้มีผักโดยรวมประมาณครึ่งจาน ที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรต บวกกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หากทำได้อย่างสม่ำเสมอ เราจะเริ่มเคยชินกับการกินผักและผลไม้มากขึ้น ได้สัดส่วนมากขึ้น เมื่อทำได้จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพทั้งในระดับครัวเรือน และประเทศตามมา