1

0

บทนำ

ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่พร้อม  

วันนี้ ประเทศไทยได้ก้าวย่างเข้าสู่ ​“สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” ไปแล้ว

ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้คาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วนของสังคม จึงนับเป็นความท้าทายที่ไทยจะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ โดยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางที่เหมาะสมมารองรับ

สถานการณ์สูงวัยของไทย

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยในปี 2565 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือจำนวน 12.9 ล้านคน จากจำนวนประชากรสัญชาติไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน 66,080,812 คน

และอีกไม่ถึง 10 ปี ไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีมากถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2583 เพิ่มขึ้นเป็น 20.8 ล้านคนหรือร้อยละ 31 ของประชากรทั้งหมด (ประมาณ 65.4 ล้านคน) จากข้อมูลสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

สังคมสูงวัยสร้างผลกระทบกับประเทศในหลากหลายมุม ทั้งเรื่องภาระงบประมาณที่ต้องนำเงินภาษีของประชาชนวัยทำงานมาจัดสรรเป็นสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น การขาดแคลนแรงงาน ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่รองรับวิถีชีวิต รายได้หลังเกษียณไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่อาจจะแย่ลง

เพื่อเตรียมการรับมือปัญหานี้ แนวคิดเรื่อง "ธนาคารเวลา" จึงถือกำเนิดขึ้น

ธนาคารเวลาคืออะไร

ธนาคารเวลาเป็นนวัตกรรมช่วยเหลือเกื้อกูลในชุมชน เพื่อดูแลและรองรับคนไทยในสังคมสูงวัย เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนช่วยดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยได้รับ “เวลา” เป็นสิ่งตอบแทน

ธนาคารเวลามีจุดเริ่มต้นจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่พบสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก เป้าหมายคือ ทำให้ผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยแต่ละชุมชนจะพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่

การช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อาจจะเป็นการขับรถพาไปโรงพยาบาล ช่วยซื้อของ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ตัดหญ้า ทำความสะอาดบ้าน ดูแลสัตว์เลี้ยง ตัดผม ฯลฯ

สำหรับผลตอบแทนที่ได้จากการช่วยเหลือดูแลผู้สูงวัยคือ เวลา ซึ่งสามารถเก็บสะสมและบันทึกลงในสมุดบัญชีธนาคารเวลา แล้วเบิกถอนมาใช้เมื่อมีความจำเป็นต้องการความช่วยเหลือต่าง ๆ จากสมาชิกในอนาคต

 

สมาชิกธนาคารเวลาพาสุข จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงวัย

ซึ่งเป็นคนพิการเนื่องจากการผ่าตัดสมอง ทำให้ไม่สามารถใช้งานร่างกายได้ครึ่งซีก

ประโยชน์ของธนาคารเวลา

ธนาคารเวลาช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานคอยดูแล

ทำให้คนในสังคมรู้จักกัน สามัคคีกัน เกิดการเรียนรู้ในชุมชน มีกิจกรรมร่วมกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และใส่ใจดูแลกัน ช่วยจัดการปัญหาสังคม และพึ่งพากันในยามวิกฤต ที่สำคัญคือ ส่งเสริมให้เกิดสังคมสูงวัยที่มีสุขภาวะดี แนวคิดนี้สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตคนไทยซึ่งมีจิตสาธารณะและอยู่กันแบบเครือญาติ

แนวคิดเรื่องธนาคารเวลายังมีเป้าหมายเพื่อทำให้สังคมตระหนักว่า การออมเวลาสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออมเงิน แม้ธนาคารเวลาจะไม่ช่วยเพิ่มรายได้ แต่สามารถช่วยลดรายจ่ายของสมาชิกได้

สมาชิกโครงการธนาคารเวลาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สูงอายุ สามารถเข้าเป็นสมาชิกได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป การเข้าร่วมโครงการธนาคารเวลาทำได้ 3 วิธี คือ สมัครเป็นจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ, จัดตั้งโครงการท้องถิ่นเพื่อเป็นกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ และช่วยงานโครงการตามถนัด

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการธนาคารเวลาสามารถติดตามได้เพิ่มเติมที่ เพจ Facebook : “ธนาคารเวลา

ชุมชมร่วมสร้าง “ธนาคารเวลาภาษีเจริญ”

โครงการธนาคารเวลาได้ดำเนินการแล้วกว่า 80 พื้นที่ หลายโครงการได้รับความร่วมมือจากชุมชน มีความก้าวหน้าและมองเห็นผลสำเร็จ อย่างเช่น ธนาคารเวลา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่ง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสยาม, ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.), สำนักงานเขตภาษีเจริญ และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันสร้างสถานที่ทำการธนาคารเวลาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ มีคณะทำงานอย่างจริงจัง มีฐานข้อมูลสมาชิกธนาคารเวลาและมีการสะสมเวลาต่อเนื่อง ทั้งยังมีกองทุนธนาคารเวลาขับเคลื่อนการดำเนินงานระยะยาว เพื่อทำให้เป็นต้นแบบและองค์ความรู้ ขับเคลื่อนกลไกระดับประเทศ

ธนาคารเวลาสำหรับทุกกลุ่มวัยภาษีเจริญ มีกระบวนการทำความเข้าใจ เรียนรู้แนวคิด และหลักการจัดตั้งธนาคารเวลาให้เหมาะสมตามบริบทชุมชน เพราะว่าสังคมสูงวัยส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่เพียงผู้สูงอายุ จึงควรบูรณาการด้านการเรียนการสอนเกี่ยวกับธนาคารเวลาสำหรับทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของเยาวชน เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้และร่วมพัฒนาซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญ

 

 

ธนาคารเวลา เขตภาษีเจริญ มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยสยามร่วมขับเคลื่อน โดยได้บรรจุแนวคิดธนาคารเวลาในรายวิชา ทำกิจกรรมสร้างความเข้าใจเรื่องการออมเวลา ควบคู่กับการออมเงินเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณ เป็นต้น

แนวคิดเรื่องธนาคารเวลา นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการรับมือกับความท้าทายจากสังคมสูงวัย เพื่อให้สังคมไทยสามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขึ้นอยู่กับความพยายามร่วมกันของทุกภาคส่วน

 

ถ้าหากการเก็บออมช่วยทำให้ชีวิตมั่นคงทางการเงินในอนาคต การเก็บออมเวลากับ “ธนาคารเวลา” จะเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในยามสูงวัยได้เช่นกัน

อ้างอิง

www.thairath.co.th/scoop/theissue/2602088

https://www.thaihealth.or.th/?p=312912

https://www.thaihealth.or.th/?p=313351

www.bangkoklife.com/emagazinehappylife/Issue/2563/10/HappyPlus/20

https://www.thaihealth.or.th/?p=332251

 

1 ถูกใจ 569 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน   ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป

ห้องปลอดฝุ่น ลดเสี่ยง PM2.5
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ห้องปลอดฝุ่น ลดเสี่ยง PM2.5

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว
1717644549.jpg

เบนจี้ ชลพรรษ

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว

เรื่องกินเรื่องใหญ่…กว่าที่คิด  พฤติกรรมกินขาด ๆ เกิน ๆ โรคร้ายจะมาเยือน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เรื่องกินเรื่องใหญ่…กว่าที่คิด พฤติกรรมกินขาด ๆ เกิน ๆ โรคร้ายจะมาเยื...

รู้เท่าทัน ‘ไข้เลือดออก’ ภัยร้ายคุกคามชีวิต
1708931705.jpg

Super Admin ID1

รู้เท่าทัน ‘ไข้เลือดออก’ ภัยร้ายคุกคามชีวิต

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

  • เมื่อสูงวัย เราไม่อาจปฏิเสธการสูญเสียคนที่เรารักหรือแม้แต่สิ่งของของเรา ประเด็นที่ต้องคิดคือ การยอมรับความจริง เพราะยิ่งเก็บซ่อนความรู้สึกเอาไว้ อาจนำไปสู่ความโกรธ ความไม่พอใจ และเกิดภาวะซึมเศร้าได้

  • การปล่อยวางหรือลดจุดมุ่งหมายของชีวิตในวันที่อายุมากขึ้นถือเป็นทางออกที่สำคัญ เพราะถึงเราไม่ลด มันก็จะค่อย ๆ ถดถอยไปตามธรรมชาติ แต่ให้คิดในทางตรงกันข้ามว่านี่เป็นช่วงเวลาสำหรับความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน การเข้าสังคมกับเพื่อนใหม่ ๆ ฯลฯ

  • อายุที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นปัจจัยให้เราเหี่ยวเฉาเสมอไป เพราะหากเรารักษาสุขภาพด้วยอารมณ์ขัน และทำกิจกรรมที่สนุก เสียงหัวเราะจะเป็นยาชั้นเลิศทั้งต่อร่างกายและจิตใจที่จะช่วยให้เรามีพลัง มีความสุข และมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการออกกำลังกายจะเป็นตัวช่วยให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้น