0

0

บทนำ

ทุกปี มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ โศกนาฏกรรมเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้น หากผู้โดยสารจักรยานยนต์อายุน้อยได้สวมหมวกนิรภัย

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สถิติการเสียชีวิตของเด็กอายุ 1-14 ปี จากอุบัติเหตุและความรุนแรง มีจำนวนถึง 32,297 ราย โดยสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กมาจากการโดยสารรถจักรยานยนต์

ขณะที่ข้อมูลการสํารวจของมูลนิธิไทยโรดส์ เรื่องอัตราการสวมหมวกนิรภัยรวมทั้งประเทศ ปี 2562 ในการสำรวจจำแนกตามกลุ่มอายุพบว่า กลุ่มเด็ก (ผู้โดยสาร) ใส่หมวกนิรภัยน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น

ด้วยตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องจริงจังมากขึ้นกับการสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อยบนอานจักรยานยนต์

เช่นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายรณรงค์สวมใส่หมวกนิรภัย เพื่อปลูกฝังวินัยเรื่องความปลอดภัยให้เด็ก รวมถึงสร้างความตระหนักให้กับผู้ปกครองและสถานศึกษา หาวิธีเพื่อปกป้องชีวิตเด็ก ๆ รวมถึงการผลักดันให้โรงเรียนสร้างที่เก็บหมวกกันน็อกเพื่อป้องกันปัญหาผู้ปกครองลืมหมวกกันน็อกของบุตรหลาน

“หมวกกันน็อก” ฮีโร่ของเด็ก ๆ จริงหรือ?

ประสิทธิผลของการสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อกสำหรับรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ได้รับการยืนยันอย่างชัดเจน จากผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) พบว่า การสวมหมวกนิรภัยช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตเนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะได้ ร้อยละ 43 สำหรับผู้ขับขี่ และร้อยละ 58 สำหรับผู้นั่งซ้อนท้าย ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การสวมหมวกนิรภัยมีส่วนลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้มากกว่า 200,000 บาทต่อคน (โดยประมาณ)

 

การทำงานของหมวกนิรภัย

หมวกนิรภัยป้องกันการสัมผัสโดยตรงระหว่างกะโหลกศีรษะกับสิ่งที่มากระทบ ทำหน้าที่ป้องกันศีรษะจากวัตถุที่มาชน ที่สำคัญหมวกนิรภัยมีจุดประสงค์ลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่สมองและศีรษะอย่างรุนแรง โดยการลดแรงกระแทกหรือการชนเข้ากับศีรษะ วัสดุอ่อนนุ่มที่เป็นส่วนหนึ่งของหมวกนิรภัยจะดูดซับแรงสะเทือนทำให้ศีรษะหยุดหรือเคลื่อนที่ช้าลง สมองจะได้ไม่ชนกับกะโหลกอย่างรุนแรง หมวกนิรภัยจะกระจายแรงกระแทกไปยังพื้นที่ที่กว้างขึ้น ทำให้แรงกระแทกไม่ไปรวมอยู่ ณ พื้นที่เล็ก ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกะโหลกเท่านั้น

วิธีเลือกหมวกกันน็อกให้น้อง

- เลือกหมวกกันน็อกที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ เด็กอายุ 2-4 ปี ใช้หมวกขนาด 500 มม. เด็กอายุ 5-8 ปี ใช้หมวกขนาด 530-540 มม. เด็กอายุมากกว่า 8 ปี ใช้หมวกขนาด 570-580 มม.

- มีสายรัดคางดี ไม่หลุดง่าย

- ไม่หนักเกินไป เพราะกล้ามเนื้อต้นคอของเด็กยังไม่แข็งแรง อาจทำให้กระดูกต้นคอหัก เมื่อชนกระแทก

- เลือกหมวกกันน็อกที่มีตรามาตรฐานอุตสาหกรรม

 

ทุกครั้งเมื่อให้เด็กขึ้นนั่งบนรถมอเตอร์ไซค์ ต้องสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก ๆ อย่าคิดว่าเดินทางใกล้ ๆ หรือใช้เวลาเพียงไม่นาน เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

อ้างอิง

http://trso.thairoads.org/statistic/helmet

www.roadsafetythai.org/edoc/doc_20181120164756.pdf

https://www.rakluke.com/family-lifestyle-all/news-update/item/1-3.html

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ส่วนที่ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสืบค้น
1708932589.JPG

Writer Don ID2

ส่วนที่ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสืบค้น

เกี่ยวกับเรา
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

เกี่ยวกับเรา

นโยบายเว็บไซต์
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

นโยบายเว็บไซต์

คู่มือการเริ่มต้นเขียนบทความบน THKS
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

คู่มือการเริ่มต้นเขียนบทความบน THKS

Self management
defaultuser.png

ORAPIN WIMONPHUSIT

Self management

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

กลุ่มคนเดินเท้ามีความเสี่ยงประสบอุบัติเหตุและมีโอกาสเสียชีวิตจากการถูกรถชนมากกว่าผู้ขับขี่และผู้โดยสาร จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชีย

ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า คนเดินถนนประสบเหตุสูงถึง 2,500 - 2,900 คนต่อปี กว่า 1 ใน 3 อยู่ในเขตกรุงเทพฯ เฉลี่ย 900 คนต่อปี ขณะที่ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน ระบุว่า ในปี 2564 มีผู้บาดเจ็บ 879,940 คน เสียชีวิต 13,425 คน

ญี่ปุ่นเข้มงวดเรื่องกฎหมายจราจรมากที่สุดประเทศหนึ่ง โดยให้ความคุ้มครองและดูแลคนเดินเท้าเป็นพิเศษ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนเดินเท้าและจักรยานสำหรับคนทุกกลุ่มทุกวัย การทำใบขับขี่ในญี่ปุ่นเป็นเรื่องยากมาก การถูกตัดแต้มจนถูกเพิกถอนใบขับขี่จึงเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นค่อนข้างระมัดระวัง