0

0

บทนำ

หนึ่งในแนวทางการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นคือ การจัดตั้งและการอนุรักษ์ป่าชุมชน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลังและมีผลกระทบในวงกว้าง
 

ป่าชุมชนคืออะไร?

ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ป่าชุมชน หมายถึง ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์หรือพื้นที่อื่นของรัฐนอกเขตป่าอนุรักษ์ ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นป่าชุมชน โดยชุมชนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บํารุงรักษา ตลอดจนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน อย่างสมดุลและยั่งยืน
การใช้ประโยชน์ป่าชุมชนแบ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และพักผ่อนหย่อนใจ เก็บหาของป่า ใช้ประโยชน์จากไม้เพื่อการยังชีพและสาธารณะประโยชน์ ใช้บริการทางนิเวศ ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ เสริมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ปัจจุบันป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติจัดตั้ง มีจำนวน12,117 แห่ง ชุมชนมีส่วนร่วม 13,855 หมู่บ้าน เนื้อที่รวม 6.64 ล้านไร่

 

ป่าชุมชนกับการลดโลกร้อน

ป่าชุมชนสามารถเป็นหนึ่งในกลไกที่ใช้จัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ได้ เพราะต้นไม้ทำหน้าที่ฟอกอากาศ ดักจับฝุ่นละอองและมลพิษจากอากาศ
ต้นไม้ยังช่วยกักเก็บคาร์บอน โดยจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และนำมาสะสมไว้ตามใบ กิ่ง ลำต้น และรากใต้ดิน ช่วยลดมลพิษทางอากาศและภาวะโลกร้อน จากข้อมูลทั่วไป ระบุว่า ต้นไม้ 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนได้เฉลี่ย 9-15 กิโลกรัม/ปี โดยประมาณ และข้อมูลจากกรมป่าไม้พบว่า ปัจจุบันต้นไม้ในป่าชุมชนช่วยกักเก็บคาร์บอน รวม 42 ล้านตันคาร์บอน
 

เสริมชุมชนเข้มแข็ง

ป่าชุมชนยังช่วยเสริมความเข้มแข็งชุมชน เสริมรายได้ครัวเรือน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น
ประชาชนได้รับประโยชน์จากป่า 3,948,675 ครัวเรือน เกิดมูลค่าการพึ่งพิงป่าชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ จำนวน 4,907 ล้านบาท
หากชุมชนปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกต้นไม้ได้ประมาณ 200 ต้น มูลค่าเฉลี่ยต้นละ 2-3 หมื่นบาท มูลค่ารวมราว 2 ล้านบาท หาก 1 ชุมชนปลูก 1,000 ไร่ จะสร้างมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท สามารถต่อยอดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างพื้นที่สีเขียว
กรมป่าไม้ตั้งเป้าจัดตั้งป่าชุมชนเพิ่มเป็น 15,000 แห่งทั่วประเทศ ชุมชนมีส่วนร่วม 18,000 หมู่บ้าน เนื้อที่รวม 10 ล้านไร่ ในปี 2570

 

ต้นแบบป่าคาร์บอน

ป่าชุมชนสามารถช่วยสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ไปพร้อมกันภายใต้แนวคิด “ป่าคาร์บอน”
เช่น พื้นที่ป่าชุมชนบ้านโค้งตาบาง จ.เพชรบุรี ซึ่งขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน โดยคาร์บอนฐานหรือคาร์บอนสต็อกในป่านี้มีจำนวน 20,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นอีก 743 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
ป่าชุมชนบ้านโค้งตาบางเป็นต้นแบบในการจัดการป่าชุมชนเพื่อนำมาสร้างผลประโยชน์ให้กับชุมชน ผืนป่าจะได้รับการดูแลรักษา มีความอุดมสมบูรณ์ ผืนป่าและชุมชนอยู่ร่วมกันได้
 

ร่วมบริหารจัดการป่าชุมชน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เห็นถึงความสำคัญ จึงได้ลงนามบันทึกความร่วมมือสนับสนุนและขับเคลื่อนการบริหารจัดการป่าชุมชนและฝายมีชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในโครงการป่าชุมชนนำร่อง 15 แห่งทั่วประเทศ ทำให้เกิดรายได้จากเศรษฐกิจหมุนเวียนจากป่าชุมชนคาร์บอนเครดิต ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขภาพอย่างยั่งยืน
การดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการป่าชุมชนและฝายมีชีวิต ใช้งบประมาณดำเนินการรวม 3,498,000 บาท คิดเป็นมูลค่าการตอบแทนทางสังคม 21 ล้านบาทในปีที่ 1 และต่อยอดไปอีกอย่างน้อย 5 ปี
เป้าหมายอนาคตคือ การพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้ โดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชน

 

อ้างอิง

  • สร้างความเข้าใจเบื้องต้น กฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน ปรับปรุงครั้งที่ 1, https://shorturl.asia/GyX53
  • ข้อมูลป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562, https://shorturl.asia/p93Mu
  • สสส. สานพลัง พอช. – กรมป่าไม้ – 5 ภาคีเครือข่าย MOU จัดการป่าชุมชน-ฝายมีชีวิต 3 ปี มุ่งเป้าสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดโลกร้อน ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ นำร่องขับเคลื่อนป่าชุมชนทั่วประเทศ 15 แห่งในปีแรก คาดสร้างผลตอบแทนทางสังคมกว่า 21 ล้านบาท, https://shorturl.asia/RoyYr
  • เปิดเส้นทางลดโลกร้อน : จากป่าชุมชนสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ, https://shorturl.asia/v2cPU
  • สมการ "ปลูกป่า" ≠ การจัดการพื้นที่สีเขียว คุณค่าขึ้นอยู่กับคุณประโยชน์, https://shorturl.asia/cd1kp

0 ถูกใจ 559 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

มลพิษ ‘ไมโครพลาสติก’ คุกคามบลูคาร์บอนป่าชายเลน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

มลพิษ ‘ไมโครพลาสติก’ คุกคามบลูคาร์บอนป่าชายเลน

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง

สอนลูกให้รอดจากการคุกคามทางเพศ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

สอนลูกให้รอดจากการคุกคามทางเพศ

Blue School  นวัตกรรมป้องกันฝุ่น PM2.5
1708931705.jpg

Super Admin ID1

Blue School นวัตกรรมป้องกันฝุ่น PM2.5

รับมือความ Toxic อย่างไรดี
defaultuser.png

อภิรักษ์ รุ่งเรือง

รับมือความ Toxic อย่างไรดี

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

  • องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้จำกัดความคำว่าคลื่นความร้อนว่า เป็นภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน

  • สำหรับประเทศไทย ยังไม่พบการเกิดคลื่นความร้อน แต่เป็นผลกระทบจากหย่อมความกดอากาศต่ำซึ่งปกคลุมประเทศไทยในระดับท้องถิ่น

  • การที่คลื่นความร้อนเกิดมากขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น มีหลักฐานชี้ว่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หรือภาวะโลกร้อน (Global Warming)

  • ยุโรปเคยประสบกับวิกฤติคลื่นความร้อนในปี 2546 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 70,000 คน และในปี 2565  คลื่นความร้อนทำให้ประชาชนเสียชีวิตสูงเกือบ 62,000 ราย

 

“คลื่นความร้อน” กลายเป็น “ประเด็นร้อน” อย่างต่อเนื่อง เมื่อหลายภูมิภาคทั่วโลกต้องเผชิญกับ “ฮีตเวฟ” อย่างหนักหน่วงรุนแรงเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป หรือเอเชีย

คลื่นความร้อนเป็นเหมือนการส่งสัญญาณเตือนให้ต้องเฝ้าระวังวิกฤตอันตรายต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนบนโลก ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน