1

0

บทนำ

Highlight

การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะการทำงานของสมองเสื่อมถอยลง (Cognitive decline) รวมถึงภาวะสมองเสื่อม จากการศึกษาพบว่า ภาวะการทำงานของสมองเสื่อมถอยลง พบได้เกือบสองเท่าในผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เมื่อเทียบกับผู้ที่มีกิจวัตรที่คล่องแคล่วหรือมักเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ

ผู้ใหญ่ต้องออกกำลังกายแบบเข้มข้นปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายแบบเข้มข้นอย่างน้อย 75 นาที โดยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในคราวเดียว ตัวอย่างเช่น กิจกรรมที่มีความเข้มข้นปานกลางอาจแบ่งออกเป็น 30 นาทีต่อวัน รวม 5 วันต่อสัปดาห์

กิจกรรมที่จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น เปิดเพลงที่บ้านแล้วเต้น, นั่งยอง ๆ หรือเดินระหว่างช่วงคั่นเวลารายการ (โฆษณา) ขณะที่กำลังดูโทรทัศน์, ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์, ลงรถก่อนถึงหนึ่งป้ายแล้วเดินไปยังจุดหมาย ฯลฯ

การออกกำลังกายเป็นประจำดีต่อร่างกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำดีต่อหัวใจ กล้ามเนื้อ และกระดูก แต่รู้ไหมว่ามันยังส่งผลดีต่อสมองของคุณด้วย?

การออกกำลังกายสามารถช่วยให้คุณคิด เรียนรู้ แก้ปัญหา และเพลิดเพลินไปกับความสมดุลทางอารมณ์ ช่วยเพิ่มความจำและลดความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า

การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะการทำงานของสมองเสื่อมถอยลง (Cognitive decline) รวมถึงภาวะสมองเสื่อมด้วย การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ภาวะการทำงานของสมองเสื่อมถอยลง พบได้เกือบสองเท่าในผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เมื่อเทียบกับผู้ที่มีกิจวัตรที่คล่องแคล่วหรือมักเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ

การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้คุณนอนหลับและรู้สึกดีขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งประเภทที่พบได้บ่อย และช่วยเพิ่มอายุขัยของคุณ

คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟิตเนสเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกาย ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรหรือแข็งแรงแค่ไหน การออกกำลังกายปริมาณเท่าใดก็ได้ก็สามารถช่วยได้

ควรออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน

ผู้ใหญ่ต้องออกกำลังกายแบบเข้มข้นปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายแบบเข้มข้นอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในคราวเดียว ตัวอย่างเช่น กิจกรรมที่มีความเข้มข้นปานกลางอาจแบ่งออกเป็น 30 นาทีต่อวัน รวม 5 วันต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกาย ครั้งละน้อย ๆ รวมกัน

 

ผู้ใหญ่ทุกคนยังต้องการกิจกรรมเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ และผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไปต้องการกิจกรรมการออกกำลังกายที่ช่วยเรื่องความสมดุลของร่างกาย เช่น ยืนขาข้างเดียว การเดินต่อส้นเท้า เป็นต้น ประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์

 

 

 

 

 

4 กิจกรรมที่จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

1. เปิดเพลงที่บ้านแล้วเต้น

การบิดเนื้อบิดตัวเป็นวิธีออกกำลังกายที่สนุกสนานได้เหมือนกัน

2. หยุดพักเพื่อเคลื่อนไหว

แบ่งเวลาให้กับการออกกำลังกาย เช่น นั่งยอง ๆ หรือเดินระหว่างช่วงคั่นเวลารายการ (โฆษณา) ขณะที่คุณกำลังดูโทรทัศน์ หรือยืนบนขาข้างเดียวเพื่อพัฒนาการทรงตัว

3. เพิ่มการออกกำลังกายให้กับกิจวัตรประจำวันของคุณ

เวลาชอปปิงให้จอดรถด้านหลังลานจอดรถแล้วเดินไปที่ร้าน เมื่อถึงข้างในให้เดินรอบ ๆ บริเวณร้านก่อนจะเจอของที่ต้องการ ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ ลงรถก่อนถึงหนึ่งป้ายแล้วเดินไปยังจุดหมายปลายทางของคุณ หากคุณเดินเป็นประจำอยู่แล้ว เมื่อเดินออกกำลังกายให้ถือดัมเบลยกน้ำหนักไปด้วย

4. พาสุนัขไปเดินเล่น

สุนัขเป็นเพื่อนเดินเล่นที่ดีเยี่ยมและสามารถช่วยให้คุณมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงได้ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า เจ้าของสุนัขโดยเฉลี่ยเดินมากขึ้น 22 นาทีทุกวัน เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้เลี้ยงสุนัข และคุณควรลองเดินเล่นกับสุนัขให้ไกลขึ้นอีกหน่อยก็ได้

เริ่มต้นด้วยการเขียนบันทึกกิจกรรมประจำวันของคุณเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ให้คิดถึงช่วงเวลาตลอดทั้งวันที่คุณสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และจัดเวลาเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของตารางรายวันหรือรายสัปดาห์ของคุณ

บทบาทผู้ให้บริการด้านสุขภาพต่อผู้ป่วย

ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายมากขึ้นเพื่อปรับปรุงสุขภาพของตนเอง สิ่งที่พวกเขาทำได้ คือ

• ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการออกกำลังกายกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต

• ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวมากขึ้นและนั่งน้อยลง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการออกกำลังกาย

• ส่งเสริมให้ผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การออกกำลังกายได้ โดยให้ออกกำลังกายตามปกติเท่าที่ทำได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมสามารถเดินไปกับผู้ดูแล แทนการเดินตามลำพัง

• ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงแหล่งข้อมูลการออกกำลังกาย

• กำหนดโปรแกรมด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและใจ และอาจช่วยลดอุปสรรคสำหรับผู้สูงอายุ เช่น SilverSneakers ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดขึ้นเพื่อการออกกำลังกายที่หลากหลายรูปแบบ การฝึกความแข็งแกร่งและการทรงตัว ไทเก๊ก โยคะ แอโรบิกในน้ำ และซุมบ้า รวมถึงสิทธิ์เข้าใช้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส หรืออีกหนึ่งโปรแกรม คือ EnhanceFitness เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายแบบกลุ่มอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรคข้ออักเสบ เพื่อป้องกันการล้ม เพิ่มความแข็งแรง และปรับปรุงความยืดหยุ่นและสมดุลของกล้ามเนื้อ เป็นต้น

อ้างอิง

เรียบเรียงจาก:

Centers for Disease Control and Prevention, Physical Activity Boosts Brain Health, 24

February 2023, https://www.cdc.gov/nccdphp/dnpao/features/physical-activity-brain-health/index.html

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ลด ละ เลิกเหล้า ด้วยพลังของชุมชน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ลด ละ เลิกเหล้า ด้วยพลังของชุมชน

เอาชนะการตื่นนอนกลางดึก ปัญหาสุขภาพที่ถูกมองข้าม
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เอาชนะการตื่นนอนกลางดึก ปัญหาสุขภาพที่ถูกมองข้าม

ติดต่อเรา
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

ติดต่อเรา

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง

การแต่งเพลงช่วยเยียวยารักษาใจ  ท่วงทำนองชีวิตวัยรุ่นยุคนิวนอร์มอล
1708931705.jpg

Super Admin ID1

การแต่งเพลงช่วยเยียวยารักษาใจ ท่วงทำนองชีวิตวัยรุ่นยุคนิวนอร์มอล

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คือ กิจกรรมที่แทบไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น  นั่งดูโทรทัศน์ เล่นเกม ขับรถ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต จนเกิดเป็นพฤติกรรมติดจอทําให้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ

การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ตามมา โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็ง

สำหรับกิจกรรมทางกายแบ่งเป็นระดับเบา รู้สึกเหนื่อยน้อย เช่น ยืน เดินระยะสั้น ๆ ฯลฯ ระดับปานกลาง กิจกรรมที่รู้สึกเหนื่อยไม่มาก เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ทํางานบ้าน ฯลฯ  และระดับหนัก กิจกรรมที่ทําให้รู้สึกเหนื่อยมาก ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น วิ่ง เดินขึ้นบันได ออกกําลังกาย เล่นกีฬา ฯลฯ

 

----

 

เมื่อกลับมาทำงานในออฟฟิศอีกครั้ง หลังจากเวิร์คฟอร์มโฮมยาวช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ชีวิตของเราก็กลับเข้าสู่โหมดเดิม ๆ ทุก ๆ วัน เหมือนเอาร่างกายผูกติดอยู่กับโต๊ะเก้าอี้เป็นระยะเวลานาน การลุกขึ้นเดินเพียงระยะสั้น ๆ ก็กลายเป็นเรื่องยาก แม้แต่การเปลี่ยนอริยาบถไปทำกิจกรรมห่างจากโต๊ะทำงานเพียงไม่กี่นาทีก็ยังไม่มีเวลา ไม่ต้องพูดถึงการออกกำลังกาย นอกจากนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลาแปดชั่วโมงต่อวัน ห้าวันต่อสัปดาห์แล้ว แถมบางคนนั่งนิ่ง ๆ บนรถระหว่างการเดินทาง แล้วยังดูโทรทัศน์ เล่มเกม ใช้โทรศัพท์มือถืออีกต่างหาก

หนึ่งวันในชีวิตคนทำงานส่วนใหญ่จึงหมดไปกับการนั่งนิ่งเสียครึ่งค่อน ด้วยพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้เกิดผลเสียต่อสมรรถภาพร่างกาย ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ไม่เพียงเท่านั้น ยังอาจส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และประเทศด้วย

ทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้ และเริ่มต้นแก้ไข ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการทำกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ