0

0

บทนำ

ทุกวันนี้ สังคมมีความรู้และความเข้าใจที่ก้าวหน้ามากขึ้นเกี่ยวกับแง่มุมทางเพศอันหลากหลาย

แต่เมื่อพูดถึงความหลากหลายทางเพศของลูกหลานแล้ว พ่อแม่หรือผู้ปกครองหลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นภาระหนักและเป็นความท้าทายมากกว่าที่คาดไว้

พ่อแม่ทุกคนย่อมต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก ๆ แม้การให้การสนับสนุนไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แต่ถ้าเป้าหมายคือ การทำให้บ้านเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อให้พวกเขารู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สบายใจ และมั่นใจในตัวเอง ทำให้พวกเขามีที่ปรึกษาและผู้สนับสนุนอยู่ในครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถศึกษาเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจ และปรับตัวได้

อะไรคือ ความหลากหลายทางเพศ

LGBTQ ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เริ่มต้นจาก LGBT ภายหลังจึงเพิ่มตัวอักษรและเครื่องหมาย + (พลัส) เข้ามา เช่น LGBTQ+, LGBTQIA+ เป็นต้น
 

ความหมายของอักษรย่อ

L (Lesbian) คือ ผู้หญิงที่มีรสนิยมชอบผู้หญิง

G (Gay) คือ ผู้ชายที่มีรสนิยมชอบผู้ชาย

ทั้ง L และ G อาจกล่าวรวมว่าคือคนที่ชอบเพศเดียวกัน (Homosexual)
B (Bisexual) คือ คนที่มีรสนิยมสามารถชอบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
T (Transgender) คือ บุคคลข้ามเพศ การเปลี่ยนแปลงเพศสภาพของตนไปเป็นเพศตรงข้าม เช่น ผู้หญิงที่ข้ามเพศมาจากผู้ชาย
Q (Queer/Questioning) คือ คนที่ไม่ได้จำกัดกรอบรสนิยมว่าชอบเพศไหน

สำหรับเครื่องหมาย + (พลัส) คือ ความหลากหลายทางเพศด้านอื่น ๆ เช่น I (Intersex) คือ กลุ่มคนที่มีสองเพศในทางการแพทย์ และ A (Asexual) คือ กลุ่มคนที่ไม่รู้สึกดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น เป็นต้น

LGBTQ ไม่ใช่ความผิดปกติ!

เรื่องเพศและรสนิยมความชอบเป็นเรื่องทางธรรมชาติที่มีกรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยส่งเสริม เช่นเดียวกันกับความชอบในเรื่องอื่น ๆ เช่น สี อาหาร ฯลฯ ซึ่งแตกต่างกันได้ ไม่ใช่ความผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ถือว่าเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษา

นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ LGBTQ อีกหลายอย่าง เช่น เพศหลากหลายไม่ได้เกิดจากการเลือกหรือกําหนดเอง แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากเรียนรู้ตนเองทางธรรมชาติจนเกิดการยอมรับและเลือกแสดงออกตามวิถีของตัวเอง ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลใดระบุว่าเพศหลากหลายเกิดจากสาเหตุใด แต่พบว่าสัมพันธ์กับเรื่องยีนส์และกรรมพันธุ์บางส่วน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง โดยเฉพาะเพศตรงข้ามมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ อีกทั้งบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้แสดงอารมณ์รุนแรงมากกว่าคนอื่น และคนทุกเพศมีสิทธิ์มีความสุข โดยสังคมควรให้ความยอมรับและเข้าใจ

 

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น LGBTQ

ศึกษาทำความเข้าใจ: การศึกษาและค้นหาข้อมูลจะช่วยให้เข้าใจลูกได้มากขึ้นและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเป็นและต้องการได้อย่างดี ความเข้าใจจากครอบครัวมีความสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมการเติบโตของลูก ก่อนพูดคุยกับลูก พ่อแม่ควรเตรียมตัวและจัดการอารมณ์ให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มต้น

พูดคุยรับฟัง: รับฟังและพูดคุยกับลูกอย่างตั้งใจ ใส่ใจ และจริงใจ การแสดงทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับ LGBTQ ที่พ่อแม่แสดงออกหรือพูดคุยในชีวิตประจำวันอย่างปกติจะช่วยให้ลูกกล้าพูดคุยและเปิดใจมากขึ้น สร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและปลอดภัยเพื่อกระตุ้นการสนทนา เพื่อเปิดเผยความรู้สึก ประสบการณ์ และความกังวลของลูก ชื่นชมเมื่อลูกกล้าพูดความจริง อบรมสั่งสอนเมื่อทำผิด ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาหรือไม่สบายใจโดยไม่มีอคติ ไม่ตำหนิและทำให้รู้สึกผิด ไม่ใช้รูปลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศมาเป็นข้อติเตียน

ยอมรับสนับสนุน: การแสดงความรักและยอมรับจากครอบครัวสำคัญมาก เด็กที่ได้รับการยอมรับจากพ่อแม่มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข การยอมรับและสนับสนุนในสิ่งที่ลูกเป็นช่วยสร้างความมั่นใจ ทำให้เติบโตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี การสนับสนุนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัยและถูกกาลเทศะ รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะมีความเป็นอยู่ที่ดีและได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน คอยสังเกตและเตรียมพร้อมช่วยเหลือแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้อื่นยอมรับสิ่งที่ลูกเป็น สร้างความเข้าใจกับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ รวมทั้งสนับสนุนยอมรับมิตรภาพและความสัมพันธ์ของลูกกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศคนอื่น ๆ

เชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญ: หากยังมีบางอย่างที่ไม่รู้หรือเข้าใจ พ่อแม่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเช่น นักจิตวิทยาเด็ก รวมถึงเข้ากลุ่ม องค์กร บุคคลหรือผู้ปกครองของ LGBTQ อื่น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งปันประสบการณ์และให้ความรู้เพื่อข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

 

 

ไม่ทำอย่างนี้กับลูก LGBTQ

-ไม่ใช้ความรุนแรง บังคับ หรือกดดัน เพราะไม่ได้ช่วยให้ลูกเปลี่ยน

-ไม่ล้อเลียน ทำให้เกิดความอับอาย

-ไม่กีดกันจากญาติหรือเพื่อน ไม่ปิดกั้นข้อมูล อนุญาตให้ลูกเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ

-ไม่กล่าวโทษกันเองระหว่างพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัว ไม่กล่าวโทษลูก

-ไม่บอกลูกว่าเป็น LGBTQ คือ บาป ต้องตกนรก ต้องถูกลงโทษ เป็นกรรมไม่ดี ฯลฯ ไม่บอกลูกว่าอับอาย ไม่บอกให้ลูกเก็บเป็นความลับ หรือห้ามไม่ให้คนในครอบครัวพูดถึง เป็นต้น

 

เมื่อลูก “รู้ตัว” หรือ “เปิดตัว” ว่าเป็น LGBTQ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขาคือ ความรัก ความเข้าใจ และ การยอมรับจากครอบครัว เมื่อบ้านเป็นสถานที่อันอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย และสามารถเป็นตัวของตนเองได้ พวกเขาจะเติบโต เข้มแข็ง และมั่นใจ พร้อมเผชิญหน้ากับโลกภายนอกและผ่านช่วงเวลายากลำบากใด ๆ ไปได้

 

อ้างอิง

https://www.sosthailand.org/blog/supporting-your-lgbtq-child

https://www.คุยเรื่องเพศ.com/talk-with/2340/

https://www.คุยเรื่องเพศ.com/talk-with/2479/

https://www.คุยเรื่องเพศ.com/talk-with/1774/

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

“บ้านปงใต้” ต้นแบบชุมชนป้องกันไฟป่า ลดแหล่งกำเนิด PM 2.5 เชียงใหม่
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“บ้านปงใต้” ต้นแบบชุมชนป้องกันไฟป่า ลดแหล่งกำเนิด PM 2.5 เชียงใหม่

โรคซึมเศร้า ไม่ใช่แค่เราคิดไปเอง
defaultuser.png

ศศิตา ปิติพรเทพิน

โรคซึมเศร้า ไม่ใช่แค่เราคิดไปเอง

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี
1708931705.jpg

Super Admin ID1

งานวิจัยชี้ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติช่วยลดภาวะซึมเศร้า สร้างสุขภาพที่ดี

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน   ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป

ทำบุญให้ได้บุญอย่างแท้จริง เลือกอาหารเพื่อสุขภาพถวายพระสงฆ์
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ทำบุญให้ได้บุญอย่างแท้จริง เลือกอาหารเพื่อสุขภาพถวายพระสงฆ์

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

การคุกคามทางเพศเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทย โดยเฉพาะการคุกคามทางเพศเด็กและเยาวชน

จากสถิติที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลรวบรวมจากหน้าหนังสือพิมพ์ระบุว่า สถานการณ์ความรุนแรงทางเพศปี 2562 ผู้ถูกกระทำมากที่สุด คือเด็กและเยาวชน 11-15 ปี รองลงมา อายุ 16-20 อายุ 6-10 ปี และอายุ 21-25 ปี อายุผู้ถูกกระทำที่น้อยสุด เป็น เด็กหญิง วัย 4 ขวบ โดยร้อยละ 84.8 เป็นนักเรียน นักศึกษา

แสดงให้เห็นว่า การรณรงค์ที่ผ่านมาไม่ได้ผล ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่ทุกครอบครัวต้องสอนเรื่องนี้กับลูกอย่างจริงจัง