0

0

บทนำ

การคุกคามทางเพศเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทย โดยเฉพาะการคุกคามทางเพศเด็กและเยาวชน

จากสถิติที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลรวบรวมจากหน้าหนังสือพิมพ์ระบุว่า สถานการณ์ความรุนแรงทางเพศปี 2562 ผู้ถูกกระทำมากที่สุด คือเด็กและเยาวชน 11-15 ปี รองลงมา อายุ 16-20 อายุ 6-10 ปี และอายุ 21-25 ปี อายุผู้ถูกกระทำที่น้อยสุด เป็น เด็กหญิง วัย 4 ขวบ โดยร้อยละ 84.8 เป็นนักเรียน นักศึกษา

แสดงให้เห็นว่า การรณรงค์ที่ผ่านมาไม่ได้ผล ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่ทุกครอบครัวต้องสอนเรื่องนี้กับลูกอย่างจริงจัง

การคุกคามทางเพศ คือ อะไร?

การคุกคามทางเพศ หรือ Sexual Harassment คือ การกระทำหรือการแสดงออกในทางเพศทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้ที่ตกเป็นเป้า เกิดความรู้สึกอึดอัด เดือดร้อน รำคาญใจ ไม่พอใจ เครียด หวาดระแวง รู้สึกไม่ปลอดภัย หรือถูกคุกคาม เกิดได้กับเหยื่อทุกเพศวัย เกิดขึ้นได้ทุกที่รวมทั้งทางออนไลน์

 

การคุกคามทางเพศมีหลายรูปแบบ คือ การคุกคามด้วยคำพูด สายตา การคุกคามทางร่างกาย การสัมผัสร่างกาย โดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม การคุกคามด้วยข้อความหรือภาพที่สร้างความอึดอัดไม่สบายใจ การแอบถ่ายภาพ/คลิป รวมถึงการติดตามเหยื่อไปในสถานที่ต่าง ๆ

 

การถูกคุกคามทางเพศสร้างบาดแผลให้เหยื่อ ทำให้เครียด หวาดระแวง และกลัว ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาจก่อให้เกิดโรคเครียด ภาวะซึมเศร้า ภาวะ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) เกิดพฤติกรรมใช้สารเสพติดหรือติดสุรา

 

 

เรื่องคุกคามทางเพศที่ต้องสอน

หากว่าเด็กๆ รู้สึกว่าถูกคุกคาม ผู้ปกครองควรสอนให้หาทางออก หาทางช่วย บอกผู้ใหญ่เป็น บันทึกข้อมูลเพื่อเป็นหลักฐาน ควรสอนให้เด็กรู้จักสิทธิ์ในร่างกายด้วยการปฏิเสธไม่ให้ใครมาสัมผัส

 

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรปลูกฝังหรือเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการไม่คุกคามผู้อื่นด้วย เมื่อพบสถานการณ์เข้าข่ายคุกคาม แม้จะเป็นการเล่นตลก ชวนคุยและบอกให้ลูกรู้ สอนให้ไตร่ตรองและยับยั้งตนเองทั้งในโลกแห่งความจริงและโลกออนไลน์ที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตภายหลัง ถ้าหากจะสัมผัสผู้อื่นต้องได้รับการยินยอมก่อน สอนและปลูกฝังให้เห็นใจผู้อื่น รับผิดชอบผลของการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและตัวเอง

 

สำหรับกรณีเมื่อลูกพบเจอสถานการณ์ที่คนรอบข้างกำลังถูกคุกคาม พ่อแม่สามารถสอนให้รู้จักการสังเกตตรวจสอบสถานการณ์ ช่วยเหลือเพื่อนได้ รู้จักที่จะบอกผู้ใหญ่ สอนให้เรียนรู้ความหมายการแสดงอารมณ์ สีหน้า ภาษากายของตนเองและคนอื่น

ป้องกันและแก้ไขการคุกคามทางเพศ

เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการคุกคามทางเพศควรเริ่มตั้งแต่ราก โดยเฉพาะวิธีคิดชายเป็นใหญ่ที่ทำให้มีการใช้อำนาจความรุนแรงคุกคามกระทำเพศหญิง เช่น ฉากข่มขืนในละคร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผู้หญิงถูกข่มขืนน่าอาย ทำให้เหยื่อไม่กล้าขอความช่วยเหลือ หรือเมื่อมีการล่วงละเมิดทางเพศมักจะโทษเสื้อผ้าที่ผู้หญิงสวมใส่ และคิดว่าคนข่มขืนคือคนโรคจิต ความจริงผู้กระทำอาจเพียงใช้อำนาจของเพศชาย

 

นอกจากนี้การสอนให้เด็กเคารพคนมีอำนาจ เชื่อฟังผู้ใหญ่ กตัญญูรู้คุณ ควรสอนให้เด็กแยกแยะได้ด้วยระหว่างผู้ใหญ่ที่น่าเคารพกับผู้ใหญ่ที่ใช้อำนาจเกินขอบเขต แสวงหาประโยชน์ ละเมิดสิทธิ หรือทำร้ายเด็ก

 

สถานศึกษาควรมีหลักสูตรให้นักเรียนตระหนักถึงการคุกคามทางเพศ ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือที่มีผู้ปกครองหรือบุคคลภายนอกร่วมกัน ต้องมีการทำงานเชิงรุกกับครูและคนในชุมชน

อ้างอิง

https://www.xn--42cg3eof6a6a9eg5fe7g.com/reading/sexual-behavior/2458/

https://www.thairath.co.th/news/society/2054988

https://www.xn--42cg3eof6a6a9eg5fe7g.com/talk-with/pre-teen/2515/

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

เรื่องกินเรื่องใหญ่…กว่าที่คิด  พฤติกรรมกินขาด ๆ เกิน ๆ โรคร้ายจะมาเยือน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เรื่องกินเรื่องใหญ่…กว่าที่คิด พฤติกรรมกินขาด ๆ เกิน ๆ โรคร้ายจะมาเยื...

‘ลองโควิด’ สึนามิลูกต่อมา ฉุดเศรษฐกิจและกระทบการใช้ชีวิต
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ลองโควิด’ สึนามิลูกต่อมา ฉุดเศรษฐกิจและกระทบการใช้ชีวิต

ชีวิตที่ติดอยู่ตรงกลาง เรียนรู้และเข้าใจ ‘แซนด์วิชเจเนอเรชัน’
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ชีวิตที่ติดอยู่ตรงกลาง เรียนรู้และเข้าใจ ‘แซนด์วิชเจเนอเรชัน’

คู่มือการเริ่มต้นเขียนบทความบน THKS
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

คู่มือการเริ่มต้นเขียนบทความบน THKS

เรื่องควรรู้ … รับมือวัยเกษียณ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เรื่องควรรู้ … รับมือวัยเกษียณ

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

ทุกวันนี้ สังคมมีความรู้และความเข้าใจที่ก้าวหน้ามากขึ้นเกี่ยวกับแง่มุมทางเพศอันหลากหลาย

แต่เมื่อพูดถึงความหลากหลายทางเพศของลูกหลานแล้ว พ่อแม่หรือผู้ปกครองหลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นภาระหนักและเป็นความท้าทายมากกว่าที่คาดไว้

พ่อแม่ทุกคนย่อมต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก ๆ แม้การให้การสนับสนุนไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แต่ถ้าเป้าหมายคือ การทำให้บ้านเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อให้พวกเขารู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สบายใจ และมั่นใจในตัวเอง ทำให้พวกเขามีที่ปรึกษาและผู้สนับสนุนอยู่ในครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถศึกษาเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจ และปรับตัวได้