0

0

บทนำ

เชียงใหม่ ต้องเผชิญกับวิกฤตฝุ่น PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ไฟป่า ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์
เพื่อจัดการกับปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงชุมชนในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการช่วยดูแลป้องกันไฟป่า อย่างเช่น ชุมชนปงใต้ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
 

ชุมชนปงใต้รับมือป้องกันไฟป่า

บ้านปงใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย ซึ่งเป็นอุทยานฯ ที่อยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่มากที่สุด หากมีการเผาหรือเกิดไฟป่าขึ้นจะสร้างผลกระทบโดยตรงกับเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น
เพื่อปกป้องพื้นที่อุทยานฯ ประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของปงใต้ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและร่วมกันทำแนวกันไฟบริเวณสันเขาเชิงดอยเขตพื้นที่อุทยานฯ กว้าง 8 เมตร ระยะทางยาว 5.5 กิโลเมตร โดยกำจัดหญ้าและใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงออก ทำต่อเนื่องตั้งแต่เข้าสู่ฤดูแล้งราวเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเมื่อเริ่มฤดูฝนในเดือนพฤษภาคมของทุกปี
พร้อมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังไฟป่าในชุมชน จัดเวรลาดตระเวน พร้อมหน่วยกำลังเสริม มาตรการนี้ประสบความสำเร็จด้วยดำเนินการพร้อมกันทั้ง 11 หมู่บ้านของ ต.บ้านปง ที่ผ่านมา ไฟป่าที่เกิดขึ้นรอบบ้านปงมักมากจากคนต่างพื้นที่ซึ่งเข้ามาหาของป่า
 

ดับไฟด้วยการสนับสนุนร่วมมือ

การร่วมแรงร่วมใจของชาวปงใต้ทำให้ 10 ปีที่ผ่านมาไม่มีการเผาหรือเกิดไฟป่าในอุทยานฯ ช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่ได้
บ้านปงใต้และหลายชุมชนได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐให้มีบทบาทป้องกันและควบคุมไฟป่า เมื่อเกิดไฟป่าชาวบ้านสามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุเพื่อช่วยดับไฟและควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความชำนาญพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องรอเครื่องมือหรือบุคลากรจากภายนอก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสภาลมหายใจเชียงใหม่ได้ร่วมสนับสนุนชุมชนในเรื่องการดูแลรักษาป้องกันไฟป่า โดย สสส. ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่สร้างองค์ความรู้ จัดหาเครื่องมือที่ทันสมัยให้กับชาวบ้าน
ทั้งยังได้ร่วมกับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังได้จัดการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชน และสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน



 

ลดแหล่งกำเนิด PM 2.5 เพิ่มประโยชน์

การร่วมกันปกป้องป่า ยังทำให้ภูเขาที่แห้งแล้งในอดีตของพื้นที่บ้านปงใต้ กลายมาเป็นผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ในปัจจุบัน และชุมชนยังได้รับประโยชน์มากมายจากการดูแลป่า บางชุมชนสามารถสร้างงานและรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
นอกจากนี้ทาง สสส. ยังสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น การจัดการใบไม้แห้งแปลงเป็นปุ๋ย สร้างรายได้ ด้วยแนวคิด "ลดการเผา-สร้างรายได้" เพื่อหาวิธีการจัดการกับใบไม้แห้งแทนการเผา โดยมีบริการรับทิ้ง บดกิ่งใบไม้ และสอนทำปุ๋ยหมัก
ทั้งยังมีการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยลดการเผาด้วยการกำหนด 1 วันใน 1 สัปดาห์ให้เป็นวันรับเก็บขยะใบไม้ เมื่อไม่มีขยะใบไม้ให้เผาจึงช่วยลดมลพิษทางอากาศจากชุมชนได้
แนวทางการป้องกันไฟป่าของบ้านปงใต้ถือเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ในการร่วมมือกันแก้ไขต้นตอของภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เช่น หมอกควันและฝุ่น PM 2.5 นอกจากจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังเน้นย้ำถึงพลังของชุมชน ความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและความพยายามร่วมกันในการกำหนดอนาคตที่ยั่งยืนด้วย
 

อ้างอิง

  • สสส. เสริมพลังชุมชนปงใต้ ต้นแบบหมู่บ้านป้องกันไฟป่าตลอด 10 ปี ทำแนวกันไฟ ลดฝุ่น PM2.5 เพื่อลมหายใจคนเชียงใหม่, https://shorturl.asia/nLigd

'ฝุ่น ไฟป่า เผา' ลดได้ เมื่อชุมชนมีส่วนร่วม,  https://shorturl.asia/iS5x2

0 ถูกใจ 560 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

นโยบายเว็บไซต์
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

นโยบายเว็บไซต์

มหัศจรรย์แห่งการอ่านสร้างพัฒนาการเด็ก ขับเคลื่อนสวัสดิการหนังสือ ‘อ่านสร้างลูก ลูกสร้างโลก’
1708931705.jpg

Super Admin ID1

มหัศจรรย์แห่งการอ่านสร้างพัฒนาการเด็ก ขับเคลื่อนสวัสดิการหนังสือ ‘อ่าน...

หยุดกินตามอารมณ์ ตัดวงจรพฤติกรรมทำลายสุขภาพ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

หยุดกินตามอารมณ์ ตัดวงจรพฤติกรรมทำลายสุขภาพ

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง

อุบัติเหตุบนท้องถนน คนเดินเท้าเสี่ยงเสียชีวิต-บาดเจ็บมากสุด
1708931705.jpg

Super Admin ID1

อุบัติเหตุบนท้องถนน คนเดินเท้าเสี่ยงเสียชีวิต-บาดเจ็บมากสุด

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้าน “ความมั่นคงทางอาหาร” อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยหลายปัจจัย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น  ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารรุนแรงมากขึ้น การผลิตและการเข้าถึงแหล่งอาหารมีความลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนา กลุ่มคนยากจน ผู้มีรายได้น้อย ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีทรัพยากรไม่เพียงพอสำหรับปรับตัวรับมือกับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และมหันตภัยต่าง ๆ