0

0

บทนำ

โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้าน “ความมั่นคงทางอาหาร” อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยหลายปัจจัย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น  ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารรุนแรงมากขึ้น การผลิตและการเข้าถึงแหล่งอาหารมีความลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนา กลุ่มคนยากจน ผู้มีรายได้น้อย ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีทรัพยากรไม่เพียงพอสำหรับปรับตัวรับมือกับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และมหันตภัยต่าง ๆ
 

บทเรียนความมั่นคงทางอาหารจาก ‘หนองสนิทโมเดล’

ในประเทศไทย มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้วางรากฐานให้ท้องถิ่นสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสมาชิกในชุมชน และเข้าถึงความมั่นคงทางอาหารอย่างเป็นรูปธรรม
ภายใต้โครงการ “หนองสนิทโมเดล” สสส.สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้วิธีการจัดการระบบอาหารโดยชุมชนท้องถิ่น การทำงานระดับเครือข่าย การส่งเสริมการเข้าถึงอาหารของคนทุกกลุ่ม รวมทั้งออกแบบและกําหนดเป้าหมายบูรณาการขับเคลื่อนระบบอาหารโดยชุมชนท้องถิ่นให้กับ อบต.หนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
ชุมชนมีการจัดสรรพื้นที่สาธารณะจำนวน 18 ไร่ให้ผู้ไม่มีที่ดินทำกิน และผู้มีความจำเป็นรวม 70 ครอบครัว ในการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการบริโภคและสร้างรายได้ สสส.ยังมีบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนระบบอาหารชุมชนท้องถิ่น ต่อยอดขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ที่ชาวหนองสนิททำกันต่อเนื่องมานาน 24 ปี รวมไปถึงการตรวจหาสารเคมีในเลือด ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียนและเป็นต้นแบบของพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะที่ดี
ด้วยผลสำเร็จในการดำเนินงาน ทำให้หนองสนิทเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ แม้ในช่วงโควิด-19 ก็มีความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่การเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างตลาดอาหาร เชื่อมโยงผลผลิตสู่ผู้บริโภค พัฒนาทักษะและสื่อสารความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ และเสริมความเข้มแข็งด้านอาหารในพื้นที่อย่างเป็นระบบมากขึ้นในอนาคต


 

ต่อยอดขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะที่ยั่งยืน

หนองสนิทโมเดลเป็นโครงการต้นแบบที่พร้อมนําไปปรับใช้และขยายผลเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนทั่วประเทศ โดย สสส. หนุนนำแนวคิดเรื่องระบบอาหารที่ยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ ช่วยภาคีเครือข่ายต่อยอดยกระดับงานอาหารเพื่อสุขภาวะในระดับพื้นที่ นำไปสู่องค์ความรู้ที่สร้างความเข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพของบุคคล ชุมชน และองค์กร ทั้งยังส่งเสริมให้มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ สร้างให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ และเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร
อีกทั้งยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาและนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาช่วยสร้างสมรรถนะให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน พร้อมการมีส่วนร่วมบูรณาการของภาคีเครือข่ายเพื่อสุขภาวะอย่างสมดุลภายใต้ระบบอาหารที่ยั่งยืน เสริมความเข้มแข็งด้านอาหารในทุกพื้นที่ทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ความสำเร็จของพื้นที่ต้นแบบอย่างหนองสนิทสามารถขยายผลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 155 แห่ง ซึ่งเป็นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของ สสส. ใน 46 จังหวัดทั่วประเทศ
“หนองสนิทโมเดล” จึงเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งสามารถขับเคลื่อนไปสู่นโยบายสาธารณะ พร้อมจุดประกายความหวังในการต่อสู้กับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหาร และก่อร่างอนาคตอันยั่งยืนสำหรับทุกคน

 

อ้างอิง

  • “หนองสนิทโมเดล” ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง-อาหารปลอดภัย ต้นแบบความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน ขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะที่ยั่งยืน https://shorturl.asia/8N9yx
  • จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567 ThaiHealth Watch 2024, https://shorturl.asia/hkuQP

0 ถูกใจ 552 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าเติบโต เสี่ยงผลกระทบสุขภาพวัยรุ่น
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าเติบโต เสี่ยงผลกระทบสุขภาพวัยรุ่น

ถึงเวลาเลิกพฤติกรรมเนือยนิ่ง เสริมแกร่งร่างกายห่างไกลโรค
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ถึงเวลาเลิกพฤติกรรมเนือยนิ่ง เสริมแกร่งร่างกายห่างไกลโรค

มลพิษ ‘ไมโครพลาสติก’ คุกคามบลูคาร์บอนป่าชายเลน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

มลพิษ ‘ไมโครพลาสติก’ คุกคามบลูคาร์บอนป่าชายเลน

“ติดเค็ม” … สะเทือนไต  คนวัยทำงาน ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรค
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“ติดเค็ม” … สะเทือนไต คนวัยทำงาน ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรค

ทำบุญให้ได้บุญอย่างแท้จริง เลือกอาหารเพื่อสุขภาพถวายพระสงฆ์
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ทำบุญให้ได้บุญอย่างแท้จริง เลือกอาหารเพื่อสุขภาพถวายพระสงฆ์

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

เชียงใหม่ ต้องเผชิญกับวิกฤตฝุ่น PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ไฟป่า ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์
เพื่อจัดการกับปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงชุมชนในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการช่วยดูแลป้องกันไฟป่า อย่างเช่น ชุมชนปงใต้ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่