0

0

บทนำ

วันอากาศดีในกรุงเทพฯ เริ่มหายากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับที่ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษเพิ่มสูงขึ้น เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการหาแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ "ปทุมวันโมเดล" โครงการพื้นที่ต้นแบบเขตมลพิษต่ำจึงถือกำเนิดขึ้นมา
 

ปี 2566 กรุงเทพฯ มีวันอากาศดี แค่ 31 วัน

กรุงเทพฯ มีวันที่สภาพอากาศดีลดลงเรื่อย ๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งยังมีวันที่ฝุ่นในอากาศอยู่ในระดับกระทบต่อสุขภาพมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้า
จากผลสำรวจของ Rocket Media Lab พบว่า ในปี 2566 กรุงเทพฯ มีวันสภาพอากาศดีที่ค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีเขียวทั้งหมด 31 วัน ซึ่งน้อยกว่าปี 2565 ที่มี 49 วัน และน้อยกว่าปี 2564 ที่มี 90 วัน วันที่คุณภาพอากาศปานกลางในระดับสีเหลืองมี 241 วัน ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มี 261 วัน
วันที่คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ในระดับสีส้มมี 78 วัน มากกว่าปีก่อนหน้าที่มี 52 วัน และวันที่คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ในระดับสีแดงมี 14 วัน สูงกว่าปีก่อนหน้าที่มีเพียง 3 วัน
ในปี 2566 กรุงเทพ ฯ มีอากาศเลวร้ายที่สุดในเดือน เม.ย. ปีนี้มีเดือนที่อากาศเลวร้ายเพิ่มจำนวนเดือนมากขึ้น และมีระยะเวลาติดต่อกันนานขึ้น
 

คนกรุงสูด PM2.5 เทียบเท่าสูบบุหรี่ 1,370 มวน/ปี

เมื่อคำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่น PM2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่า ในปี 2566 คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมดจำนวน 1,370.09 มวน เพิ่มมากขึ้นจากปี 2564 และ ปี 2565
สำหรับเดือน เม.ย. ที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดของปี 2566 คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 157.45 มวน หรือเฉลี่ยวันละ 5.24 มวน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2565
ขณะที่เดือนที่มีอากาศดีที่สุดในปี 2566 คือ ก.ย. คนกรุงเทพฯยังคงสูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 70.14 มวน เฉลี่ยวันละ 2.33 มวน น้อยลงกว่าเดิมเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนที่อากาศดีที่สุดในปี 2565


 

มาตรการคุมฝุ่นของกรุงเทพฯ

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 จากรายงานของกรุงเทพมหานคร คือ โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ และการเผาชีวมวล โดยเฉพาะจากรถยนต์ดีเซล รวมทั้งฝุ่นจากนอกพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงที่ค่าฝุ่นสูง
เพื่อแก้ไขได้จึงจัดทำมาตรการลดฝุ่น 365 วัน เช่น การลดควันดำด้วยการกำจัดต้นตอฝุ่น โดยมีการตรวจวัดควันดำรถยนต์ ตรวจสถานประกอบการและสถานที่ก่อสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงการปรับปรุงรถควันขาว เชิญชวนให้ประชาชนเปลี่ยนไส้กรองอากาศรถยนต์ และนโยบายระยะยาวคือ การเปลี่ยนน้ำมันให้เป็นมาตรฐานยูโร5
แผนจัดการฝุ่นในระยะวิกฤต กรุงเทพมหานครร่วมกับเครือข่ายใช้มาตรการ Work From Home เพื่อลดฝุ่นจากการจราจร และให้ประชาชนปลอดภัยอยู่ในบ้าน ทั้งยังเปิดคลินิกมลพิษทางอากาศและขยายห้องเรียนปลอดฝุ่น
สำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนทั้งใช้แรงจูงใจและเชิงบังคับด้วยนโยบายและกฎหมาย
 

พื้นที่ต้นแบบเขตมลพิษต่ำ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายนำแนวคิดจากประเทศอังกฤษ มาประยุกต์ใช้ เกิดเป็น “ปทุมวันโมเดล” หรือ โมเดล Low Emission Zone (LEZ) เน้นสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ วัด และประชาชนในพื้นที่เขตปทุมวัน เกิดเป็นถนนอากาศสะอาดระยะทางกว่า 1 กม. ตั้งแต่แยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์


โครงการในระยะที่ 1 ได้พัฒนานวัตกรรม คือ
-ระบบฐานข้อมูลออนไลน์กรุงเทพธุรกิจอากาศสะอาดต้นแบบ (BMA-BLEZ) รายงานการตรวจสอบสภาพรถและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถในเขตปทุมวัน
-บริการรถสาธารณะพลังงานไฟฟ้า บริเวณศูนย์การค้าและสถานประกอบการในพื้นที่
-ระบบเซ็นเซอร์วัดค่า PM2.5 ที่แสดงผลทันที เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ทั้งหมดลดการปล่อยมลพิษทางอากาศลงร้อยละ 10
โครงการในระยะที่ 2 จะขยายเขตมลพิษต่ำเพิ่มที่เขตคลองสาน ป้อมปราบศัตรูพ่าย คลองเตย และ บางรัก รวมทั้งผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการต้นแบบลดมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น

การกอบกู้วันอากาศดีในกรุงเทพฯ ให้กลับคืนมาเป็นเรื่องท้าทาย และโมเดลปทุมวันเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือกันสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกซึ่งจับต้องได้
 

อ้างอิง

- กทม.จมฝุ่น PM2.5 อากาศเลวร้ายทุกปี, https://shorturl.asia/gbAhq
- กทม.โชว์ผลงานมาตรการลดฝุ่น 1 ปี 30 กว่าเรื่อง เตรียมปรับเกณฑ์ Work from Home, https://shorturl.asia/vbBtz
- สสส. ผลักดันผู้ประกอบการต้นแบบ ลดมลพิษทางอากาศ เพิ่ม 100 องค์กร ในปี 67 เร่งขยายผล 4 พื้นที่กรุงเทพฯ เอื้อต่อการมีสุขภาวะดีของประชาชน, https://shorturl.asia/zR2X6
- ชู นวัตกรรม นำร่องตรวจสภาพรถ หนุนใช้รถพลังงานไฟฟ้าสาธารณะ เซ็นเซอร์วัดมลพิษเรียลไทม์ เล็งขยายผลเฟส 2 อีก 4 เขตที่สถิติค่าฝุ่นสูงสุดปี 2567, https://shorturl.asia/jdaBT
 

0 ถูกใจ 670 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

การสื่อสารระหว่าง Generation Gap เปลี่ยน ‘ช่องว่าง’ ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์
1708931705.jpg

Super Admin ID1

การสื่อสารระหว่าง Generation Gap เปลี่ยน ‘ช่องว่าง’ ให้เป็นพื้นที่สร้า...

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน   ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป

ปกป้องชีวิตเด็กไทยด้วยหมวกนิรภัย
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ปกป้องชีวิตเด็กไทยด้วยหมวกนิรภัย

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ปทุมวันโมเดล’ พื้นที่นำร่อง เขตควบคุมมลพิษต่ำเพื่อสุขภาพคนกรุง

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว
1717644549.jpg

เบนจี้ ชลพรรษ

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

หนึ่งในแนวทางการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นคือ การจัดตั้งและการอนุรักษ์ป่าชุมชน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลังและมีผลกระทบในวงกว้าง