1

0

บทนำ

บุหรี่เป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้าน

หนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสารอื่น ๆ เช่น กัญชา

บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กกว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน

สารเคมีในบุหรี่

ไส้บุหรี่นั้น ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี และมีการเพิ่มสารอื่น ๆ ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (en:mutagenic) และสารก่อมะเร็ง (en:carcinogen) สารเคมีที่มีอยู่ในบุหรี่ได้แก่

  • อะซีโตน (Acetone)
  • อะลูมิเนียม (Aluminiam)
  • แอมโมเนีย (Ammonia)
  • สารหนู (Arsenic)
  • เบนซีน (Benzene)
  • บิวเทน (Butane)
  • แคดเมียม (Cadmium)
  • คาเฟอีน (Caffeine)
  • คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
  • คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)
  • คลอโรฟอร์ม (Chloroform)
  • ทองแดง (Copper)
  • ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogen cyanide)
  • ดีดีที/ดีลดริน (DDT/Dieldrin)
  • เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethenol)
  • ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
  • ตะกั่ว (Lead)
  • แมกนีเซียม (Magnesium)
  • มีเทน (Methane)
  • เมทิลแอลกอฮอล์ (Methanol)
  • ปรอท (Mercury)
  • นิโคตีน (Nicotine)
  • พอโลเนียม (Polonium)
  • ทาร์ (Tar)
  • ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride)
  • โพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate)
ผลต่อสุขภาพ

ที่มา : สูบบุหรี่เสี่ยงป่วย 'วัณโรค' ซ้ำ - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ลิขสิทธิ์: kenishirotie/123RF

การสูบบุหรี่และยาสูบอื่น ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด (ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (en:emphysema) หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ดังนั้นอาจส่งผลให้ผู้สูบมีน้ำหนักลดลง

นิโคติน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท (en:stimulant) ในบุหรี่นั้น มีผลเป็นสารเสพติด (en:addictive) และลดการอยากอาหาร (en:appetite suppressant) ผู้ที่เลิกการสูบบุหรี่มักจะทดแทนอาการอยากบุหรี่ด้วยการกินขนม ซึ่งส่งผลให้หนึ่งในสามของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นนิโคตินยังอาจเป็นสารพิษ หากเด็กหรือสัตว์รับประทานก้นบุหรี่โดยอุบัติเหตุ

โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสจะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 11-17% หรือ 10-20 เท่าของคนที่ไม่สูบ การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง ไร่ยาสูบในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี เนื่องจากการใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณฟอสเฟตสูง

บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขต่อบุหรี่

ข้อมูลจาก : กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค

เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2548 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์ห้ามตั้งแสดงซองบุหรี่ตามร้านค้าปลีก โดยร้านค้าปลีกใดที่มีบุหรี่จำหน่าย ให้ติดกระดาษขนาด A4 เขียนข้อความไว้ว่า "ที่นี่มีบุหรี่ขาย" เพราะถือเป็นการโฆษณาสินค้าบุหรี่ ณ จุดขาย หากร้านค้าปลีกใดละเมิด จะมีความผิดมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535

 

 

อ้างอิง

Stub icon

 

บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์)

1 ถูกใจ 1.1K การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ส่วนที่ 4 ผลการประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้
1708932589.JPG

Writer Don ID2

ส่วนที่ 4 ผลการประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้

ส่วนที่ 2 : กระบวนการ และกลไก สร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อส่งเสริมจัดการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 2 : กระบวนการ และกลไก สร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อส่งเสริมจัดการแก้...

ป่าชุมชนต่อสู้ภาวะโลกร้อน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ป่าชุมชนต่อสู้ภาวะโลกร้อน

เครื่องดื่ม ‘น้ำตาล 0%’  อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของสุขภาพและรอบเอว!
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เครื่องดื่ม ‘น้ำตาล 0%’ อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของสุขภาพและรอบเอว!

Brown-out Syndrome ‘ภาวะหมดใจ’ วิกฤตเงียบในที่ทำงาน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

Brown-out Syndrome ‘ภาวะหมดใจ’ วิกฤตเงียบในที่ทำงาน

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนไทยมีตัวเลขที่ชวนตกใจ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพในประชากรกลุ่มนี้ และมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน