บทนำ
สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนไทยมีตัวเลขที่ชวนตกใจ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพในประชากรกลุ่มนี้ และมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
เด็กไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
ตัวเลขนี้นำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน
บุหรี่ไฟฟ้ามีสารเสพติดอันตราย
บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินที่มีผลทำลายสมองของเด็กตั้งแต่ในครรภ์ และในวัยเรียนจะกระทบต่อระบบความจำ ทำให้ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับการเรียน ทั้งยังส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ชัก หัวใจล้มเหลว ฯลฯ
บุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อปอด ทำให้เกิดโรคปอดข้าวโพดคั่ว (Popcorn Lung) หลอดลมขนาดเล็กอักเสบและตีบตัน หายใจลำบาก โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถกลับคืนสู่ปกติได้
บุหรี่ไฟฟ้าถูกสร้างภาพให้เข้าใจว่า ไม่มีพิษภัยและอันตรายน้อยกว่ายาสูบรูปแบบเดิม แต่ข้อเท็จจริงกลับมีนิโคตินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 5-9 เท่า จัดเป็นกลุ่มสารเสพติดชนิดใหม่ โดยในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเสพติดกว่า 2,000 ชนิด ซึ่งบางชนิดไม่เคยพบในบุหรี่มวนมาก่อน
ด้วยกลไกการทำงานที่ไม่มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ธรรมดา
ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้
กลิ่น-รสหอมหวานเคลือบพิษ
เด็กและเยาวชนตกเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาดของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า โดยบุหรี่ไฟฟ้า Gen 5 หรือ Toy Pod ถูกออกแบบมาให้เข้ากับความชอบของคนรุ่นใหม่ เพื่อดึงดูดและหลอกล่อให้ทดลองสูบ มีรูปโฉมคล้ายตุ๊กตา การ์ตูน ของเล่น กล่องขนม ขวดน้ำผลไม้ เครื่องเขียน ฯลฯ ทั้งยังมีขนาดเล็ก สีสันสะดุดตา มีความพิเศษ เช่น มีชื่อเฉพาะ ขายเป็นชุดให้สะสม เป็นต้น
บุหรี่ไฟฟ้ารุ่นใหม่มีหลากกลิ่นรส หอมหวาน สูบง่าย ไม่ระคายคอ โดยใช้นิโคตินสังเคราะห์ที่มีนิโคตินสูงร้อยละ 3-5 สูบได้นานถึง 8,000-15,000 พัฟฟ์ (หน่วยต่อหนึ่งการสูบ)
องค์การอนามัยโลกระบุว่า เมื่อปี 2564 มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ารสชาติต่าง ๆ กว่า 16,000 ชนิด ปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ 20,000 ชนิด ด้วยการแต่งกลิ่นและรสชาติล่อใจเด็กๆ ทำให้รู้สึกว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย
ด้วยกลไกการทำงานที่ไม่มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ธรรมดา ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่าและจับกับเนื้อเยื่อปอด ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว
เข้าถึงเป้าหมายผ่านสื่อออนไลน์
บุหรี่ไฟฟ้าลักลอบขายผ่านสื่อโซเชียลซึ่งเข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนได้ง่าย พบโฆษณาและการส่งเสริมการขายทางอินเตอร์เน็ตจากร้อยละ 27 ในปี 2558 เพิ่มเป็นร้อยละ 48 ในปี 2565
จากรายงานการเฝ้าระวังการตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อออนไลน์ ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีการลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อออนไลน์จำนวน 309 บัญชีรายชื่อ มีการโพสต์ 605 ครั้ง โดยใช้แพลตฟอร์มเอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) ร้อยละ 29.1 / เฟซบุ๊ก ร้อยละ 26.9 / อินสตาแกรม ร้อยละ 17.5 / เว็บไซต์ ร้อยละ 15.2 / ไลน์ ร้อยละ 7.4 / ติ๊กต๊อก ร้อยละ 3.6 และยูทูบ ร้อยละ 0.3
โดยเน้นโพสต์เพื่อสร้างการรับรู้ถึงตัวผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า มีการดึงดูดใจด้วยการลดราคา แจก แถม จัดส่งฟรีถึงบ้าน มีเก็บเงินปลายทาง ฯลฯ
เร่งเครื่องสกัดบุหรี่ไฟฟ้า
ผลวิจัยพบว่า นักสูบหน้าใหม่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ในประเทศไทยบุหรี่ไฟฟ้าระบาดในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมขึ้นไป ที่น่าตกใจคือ พบเด็กอายุ 7 ขวบ พกบุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบกล่องนมเข้าไปโรงเรียน
นั่นทำให้พ่อแม่ ครู และโรงเรียน ต้องรู้จักพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ คอยเฝ้าระวังและรู้เท่าทันกลยุทธ์ของผู้ผลิตและจำหน่าย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลกับประชาชน และเร่งรัดบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องจริงจัง จับกุมผู้กระทำความผิดที่ลักลอบนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าบนสื่อออนไลน์ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า โดยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทุกภาคส่วน
อ้างอิง
- สสส. เดินหน้ารณรงค์ “วาเลนไทน์ ฟิน อิน เลิฟ” ชวนวัยรุ่นไทย ใส่ใจสุขภาพ ห่วงเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่ม 5.3 เท่า เข้าถึงโฆษณา-แหล่งขายออนไลน์ 48%, https://shorturl.asia/0tIvc
- อึ้ง! บุหรี่ไฟฟ้าแปลงร่างเป็น “Toy pod ” พบลักลอบขายออนไลน์ อื้อ! ชี้รัฐต้องบังคับใช้กม.จริงจัง, https://shorturl.asia/341oY
- พิษร้าย "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำลายสมองเด็ก วิจัยพบสารเคมี 2 พันชนิด, https://shorturl.asia/341oY
- ชี้เล่ห์บุหรี่ไฟฟ้าเลียนแบบของเล่น, https://shorturl.asia/341oY
- หมอรามาฯ เผยเด็กประถมปลายลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 43% นร.หญิงสูบมากกว่าชาย, https://shorturl.asia/JQCvH
0 ถูกใจ 872 การเข้าชม
งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ
งานบทความที่เกี่ยวข้อง
เข้าสู่ระบบเพื่อโพสต์ความคิดเห็น
ความคิดเห็น 0