0

0

บทนำ

“งานหนักไม่เคยฆ่าใคร …”

อย่าเชื่อ ! ถ้ามีใครมาบอกคุณอย่างนั้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแสดงให้เห็นแล้วว่า งานหนักทำให้คนตายได้ จากผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกที่เผยแพร่ในปี 2564 ระบุว่า ในหนึ่งปีมีมากกว่า 7 แสนคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไปจนส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

“งานหนัก” พาไปสู่ “ความตาย” อย่างไร

เพราะว่า การทำงานหนักมากเกินไปส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้อ่อนล้า มีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ส่งผลให้เกิดความเครียด กระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

การทำงานหนักเกินไปสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เพราะเมื่อเครียดหนัก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอลที่มีผลต่อกระบวนการทำงานของระบบหัวใจ เสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในสมองแตก

เรียนรู้จาก “คาโรชิ” โรคทำงานหนักจนตาย

ทำงานหนักมากจนตายมีอยู่จริงและที่ญี่ปุ่นเรียกว่า โรคคาโรชิ (Karoshi Syndrome) ถูกพบครั้งแรกเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว

คาโรชิ คือ อาการจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมทั้งพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เครียดสะสม เสียสุขภาพ ก่อเกิดอาการร้ายแรงซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า คนอายุ 45-74 ปี ที่ทำงานหนักจนเกินไปหรือมีชั่วโมงทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เสียชีวิตด้วยสาเหตุโรคหัวใจ ร้อยละ 42 และเส้นเลือดในสมอง ร้อยละ19

ในประเทศญี่ปุ่นมีการจัดตั้ง Karoshi Hotlines โทรศัพท์สายตรงที่จัดไว้ให้คำปรึกษา ที่ผ่านมารัฐบาลยังพยายามปฏิรูปรูปแบบการทำงานโดยลดชั่วโมงทำงานลง มีการเสนอให้ทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น

นอกเหนือจากญี่ปุ่น โรคคาโรชิยังพบได้บ่อยในไต้หวันและเกาหลีใต้ เพราะต่างเป็นประเทศที่มีสังคมกดดันเรื่องการทำงานอย่างหนัก

ไทยกับการทำงานหนักเกินไป

สำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ในปี 2565 จากการจัดอันดับเมืองที่ผู้คนทำงานหนักเกินไป (Most Overworked Cities) ของ getkisi.com พบว่า กรุงเทพฯ ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลก ทั้งยังพบว่า พนักงานประจำในกรุงเทพฯ ร้อยละ 15.10 มีการทำงานล่วงเวลามากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การทำงานหนักเกินไปยังนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะมีผลต่อร่างกาย จิตใจและการทำงาน

 

สัญญาณสู่ … คาโรชิ

อาการที่แสดงให้เห็นว่าคุณทำงานหนักเกินไป เช่น ออนไลน์เรื่องงานตลอดเวลาแม้ในวันหยุดหรือนอกเวลางาน รับผิดชอบงานแทนคนอื่นมากเกินไป ทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ หมดแพสชั่น ไม่รู้สึกถูกเติมเต็มหรือตื่นเต้นเรื่องงาน ฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิ ผลิตภาพ (Productivity) ลดลง สุขภาพแย่ลง มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เป็นต้น  

และอาการซึ่งบ่งบอกว่า คุณอาจจะมีโอกาสเป็นโรคทำงานจนตาย คือ  

  • คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา สมองไม่ได้พักผ่อนจนอาจเก็บไปฝัน
  • ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  • ใช้เวลาในการทำงานมากติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน ไม่ได้ใช้วันลา
  • เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
  • นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท อ่อนเพลียจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ไม่มีเวลาพักผ่อน
  • ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนรอบตัว ฯลฯ
ทำงานหนักจนตาย … ป้องกันได้

หากรู้ตัวว่าเริ่มมีพฤติกรรมการทำงานที่หนักเกินไป จนทำให้เกิดความเครียดและมีผลกระทบอาจนำไปสู่การเสียชีวิต นี่คือ หนทางป้องกันที่ทำได้

  • หยุดงาน ออกไปท่องเที่ยวหาประสบการณ์และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าและความเครียด
  • แบ่งเวลาทำกิจกรรมที่ชอบหรือไปพบปะเพื่อนฝูงหรือคนที่เรารัก
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีปัญหากับการนอน ควรปรึกษาแพทย์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • รู้จักปล่อยวางความคิด
  • ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้านหรือคิดเรื่องงานที่บ้านมากจนเกินไป
  • ปรึกษาผู้บังคับบัญชา หากรู้สึกว่าทำงานมากเกิน เพื่อหาทางออก ฯลฯ

 

จริงอยู่ที่งานมีความสำคัญ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต ความสำเร็จในอาชีพไม่ได้มาด้วยการทำงานมากเกินไป แต่เป็นการทำงานอย่างชาญฉลาดในขอบเขตที่เหมาะสมและสมดุล

ถึงตอนนี้ ถ้าคุณยังคิดว่างานหนักไม่เคยฆ่าใคร ให้คุณคิดใหม่ หรือย้อนกลับไปอ่านข้างบนอีกรอบ

อ้างอิง

https://www.prachachat.net/world-news/news-940358

https://www.getkisi.com/work-life-balance-2022

https://www.forbes.com/sites/carolinecastrillon/2022/06/12/10-critical-signs-you-are-being-overworked/?sh=7ab579632ee1

https://www.brandcase.co/31223

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2622695

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ส่วนที่ 1 : สถานการณ์ระดับประเทศและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนของ สสส.และภาคีเครือข่าย
1708932589.JPG

Writer Don ID2

ส่วนที่ 1 : สถานการณ์ระดับประเทศและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนของ สสส.และภาคี...

“ติดเค็ม” … สะเทือนไต  คนวัยทำงาน ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรค
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“ติดเค็ม” … สะเทือนไต คนวัยทำงาน ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรค

เยาวชน เหยื่อรายใหม่ของบุหรี่ไฟฟ้า
defaultuser.png

ชลธิดา เณรบำรุง

เยาวชน เหยื่อรายใหม่ของบุหรี่ไฟฟ้า

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว
1717644549.jpg

เบนจี้ ชลพรรษ

Here to heal ...พื้นที่แห่งการดูแลจิตใจใกล้ตัว

มหัศจรรย์แห่งการอ่านสร้างพัฒนาการเด็ก ขับเคลื่อนสวัสดิการหนังสือ ‘อ่านสร้างลูก ลูกสร้างโลก’
1708931705.jpg

Super Admin ID1

มหัศจรรย์แห่งการอ่านสร้างพัฒนาการเด็ก ขับเคลื่อนสวัสดิการหนังสือ ‘อ่าน...

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

• ผลสำรวจความสุขคนทำงานในระดับประเทศ ปี 2564 พบว่าคะแนนในภาพรวมเพิ่มขึ้นทุกมิติ ยกเว้นมิติสุขภาพกายดี เนื่องจากสถานการณ์โควิด คนทำงานในองค์กรทางการศึกษามีความสุขมากที่สุด อันดับรองลงมาเป็นอุตสาหกรรมทางการเงินและประกันภัย

• ภาคการผลิตคนทำงานมีความสุขต่ำ แม้จะไม่ได้ต่ำสุด โดยตัวชี้วัดคือ ความไม่ชัดเจนในการเติบโตในงานที่ทำ, ความเหมาะสมในการพิจารณาเลื่อนขั้น ปรับค่าจ้าง, การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นกับนายจ้าง, ความพึงพอใจกับสวัสดิการ, ความคุ้มค่าระหว่างค่าตอบแทนและความเสี่ยงจากงาน ฯลฯ

• ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่มีความรวดเร็ว องค์กรจะต้องปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับเสียงของพนักงาน ในแต่ละเจเนอเรชั่นให้มากกว่าเดิม เพราะคนทำงานเริ่มมองหาคุณค่า ความหมาย ประโยชน์ต่อสังคมจากงานที่เขาทำ

เมื่อโลกขับเคลื่อนไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ โรคระบาด รวมทั้งเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้หลายองค์กรต้องรับมือกับความอยู่รอดไปพร้อม ๆ กับการดูแลบุคลากรอันเป็นฟันเฟืองสำคัญไปสู่ความสำเร็จ

ในสถานการณ์เช่นนี้นับเป็นความท้าทายขององค์กรและคนทำงานที่ต้องปรับตัว ติดอาวุธทักษะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมกับต้องดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพื่อร่วมกันเผชิญการเปลี่ยนแปลงและสร้างองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน

การสร้างเสริมสุขภาวะให้กลายเป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) จึงเป็นแนวคิดที่ถูกนำมาใช้พัฒนาบุคลากรและปรับเปลี่ยนการทำงานให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้คนทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งมีผลต่อการยกระดับขีดความสามารถขององค์กร โดยใช้ความสุขพื้นฐาน 8 ประการ (Happy 8) คือ Happy Body สุขภาพร่างกายดี, Happy Heart น้ำใจงามมีน้ำใจต่อกัน, Happy Society สังคมดีมีความรักสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชนของตน, Happy Relax ผ่อนคลายต่อสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต, Happy Brain ศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ, Happy Soul สงบ มีสติ มีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต, Happy Money ปลอดหนี้ มีเงิน รู้จักเก็บรู้จักใช้ และ Happy Family ครอบครัวดี รักครอบครัว ครอบครัวอบอุ่นและมั่นคง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (สำนัก 8) มีการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา ช่วยวางแผน เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาคนในองค์กรให้มีสุขภาวะที่ดี                  รวมพลังทุกภาคส่วนเพื่อสร้างองค์กรสุขภาวะ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาได้นำหลักด้านแนวคิดองค์กรสุขภาวะเข้าสู่ระบบขององค์กรเพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงาน

 

ความสำคัญของหลักการ Happy 8 หรือ Happy Workplace  ไม่ได้เกี่ยวเฉพาะคนทำงาน แต่รวมถึงครอบครัวและสังคมไทย ซึ่งมีคนวัยทำงานอยู่ราว  37 ล้านคน โดยคนเหล่านี้ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตอยู่ในที่ทำงาน แต่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีความสุขน้อยลง  มีความเครียดมากขึ้น ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การระบาดของโควิด-19 อีกทั้งสังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย ซึ่งจะเป็นประเด็นสำคัญใน 4-5 ปีข้างหน้า เมื่อสัดส่วนคนทำงาน คนหารายได้ให้กับครอบครัว  มีสัดส่วนลดลงในทุกองค์กร บุคลากรจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่ง สสส. มีเครื่องมือและชุดความรู้ที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้