0

0

บทนำ

“อวัยวะใดมีรูปร่างคล้ายถั่ว ?”

คำตอบคือ “ไต” ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพโดยรวมของร่างกาย

ไตมีหน้าที่เป็นตัวกรองขจัดของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือด ทั้งยังช่วยควบคุมความดันโลหิต ผลิตฮอร์โมน และมีส่วนช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

หากไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงอาจทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้

ที่ผ่านมา โรคไตนับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนนับล้านในแต่ละปี จากข้อมูลทั่วโลกพบว่าในปี 2562 โรคไตเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร 1.4 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20 จากปี 2553 และนับเป็นเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสำคัญ 1 ใน 10 ของโลก

โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของไทย ที่ผ่านมามีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น จากปี 2559 ถึงปี 2563 ประมาณการมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไตเรื้อรังปีละ 10,000 คน โดยผู้เสียชีวิตเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

และเพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักต่อภัยร้ายจากโรคไต ทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคม องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้เป็น วันไตโลก (World Kidney Day)

 

 

 

 

โรคไตเกิดจากอะไร ?

“กินเค็มระวังเป็นโรคไตนะ”

ใช่ การบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูงเป็นสาเหตุของโรคไตได้ และยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไต ทั้งพันธุกรรมและพฤติกรรม

ในปัจจุบันพบว่าสาเหตุหลักของการเกิดไตวายเรื้อรังคือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตหรือโรคอ้วน

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อาทิ การใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป การรับประทานอาหารแปรรูป ดื่มน้ำไม่เพียงพอ การกินเนื้อสัตว์และกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไป การสูบบุหรี่-ดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การนั่งนิ่งเป็นเวลานาน ฯลฯ

ทั้งหมดล้วนเชื่อมโยงกับการเกิดของโรคไต ดังนั้น เพื่อสุขภาพไตที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้

อาหารจากพืชและสุขภาพไต

หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันและชะลอการลุกลามของโรคไตเรื้อรังคือ การเปลี่ยนแปลงอาหาร

การเลือกรับประทานอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบหลัก (Plant-based Food) มีประโยชน์ต่อสุขภาพไต ไม่ว่าจะผัก ผลไม้ ธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว สามารถช่วยป้องกัน ปรับปรุงการทำงานของไตในผู้ที่เป็นโรคไต และชะลอการลุกลามของโรคไตเรื้อรังได้

 

- อาหารจากพืชโดยทั่วไปมีโปรตีน โซเดียม และฟอสฟอรัสต่ำ อาหารที่มีโปรตีนสูงสามารถเพิ่มภาระงานของไต ขณะที่อาหารที่มีโซเดียมสูงอาจทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทั่วไปสำหรับโรคไต ส่วนผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับฟอสฟอรัสจะลดลง ทำให้เกิดการคั่งของฟอสฟอรัสในเลือดได้ จำต้องควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือดให้เหมาะสม

- อาหารจากพืชอุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดการอักเสบ ปรับปรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไตวายเรื้อรัง

 

 

บางด้านของอาหารแพลนต์เบส

แม้ว่าการรับประทานอาหารที่มีพืชเป็นหลักจะเป็นประโยชน์ต่อโรคไต แต่ก็มีบางสิ่งที่ต้องระวังคือ

- อาหารจากพืชบางชนิดมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจสร้างปัญหาสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะลุกลาม

- อาหารจากพืชอาจมีสารอาหารบางอย่างต่ำ เช่น วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และแคลเซียม จึงต้องให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอ

- ผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ทดแทน ชีสวีแกน ฯลฯ อาจมีโซเดียมและสารเติมแต่งในปริมาณสูง ต้องอ่านฉลากและเลือกอย่างระวัง

- ควรเน้นบริโภคอาหารจากพืชที่ไม่ผ่านการแปรรูป

- สำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพควรอยู่ในการดูแลของนักโภชนาการหรือผู้เชี่ยวชาญ

 

โรคไตนับว่าเป็นภัยเงียบซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน ถึงเวลาแล้วที่เราจะทำลายความเงียบนั้น แล้วหันมาให้ความสำคัญ

ทุกคนสามารถดูแลรักษาป้องกันสุขภาพไตด้วยตัวเองได้ ด้วยความพยายามเพียงเล็กน้อยในวันนี้ สามารถช่วยรักษาสุขภาพไตของเราได้ในระยะยาว มาทำดีกับไตของเรากันเถอะ !

 

อ้างอิง

https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1308820220905025852.pdf

https://www.kidney.org/content/10-common-habits-that-may-harm-your-kidneys

https://www.kidney.org/atoz/content/plant-based

https://www.kidney.org/atoz/content/what-plant-based-diet-and-it-good-kidney-disease

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ส่วนที่ 4 ผลการประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้
1708932589.JPG

Writer Don ID2

ส่วนที่ 4 ผลการประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้

เข้าใจความหลากหลายในบ้าน สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก LGBTQ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เข้าใจความหลากหลายในบ้าน สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก LGBTQ

“บ้านปงใต้” ต้นแบบชุมชนป้องกันไฟป่า ลดแหล่งกำเนิด PM 2.5 เชียงใหม่
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“บ้านปงใต้” ต้นแบบชุมชนป้องกันไฟป่า ลดแหล่งกำเนิด PM 2.5 เชียงใหม่

Self management
defaultuser.png

ORAPIN WIMONPHUSIT

Self management

หมั่นคอยดูแลและรักษา “ไต” เรื่องควรรู้ … เพื่อสุขภาพ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

หมั่นคอยดูแลและรักษา “ไต” เรื่องควรรู้ … เพื่อสุขภาพ

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 15%  ดังนั้นผู้ใหญ่ควรมีเวลานอนระหว่าง 7-9 ชั่วโมงต่อคืนจะช่วยรักษาร่างกายและจิตใจให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่สุด

การนอนไม่พอเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น อัลไซเมอร์, โรคหัวใจและหลอดเลือด,                   การทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะซึมเศร้า โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และยังส่งผลต่อพฤติกรรม ความรู้สึกของร่างกาย สมาธิ อารมณ์ และแม้กระทั่งความคิด

ข้อแนะนำช่วยให้นอนหลับ ต้องเลิกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเตียงนอน หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการนอนหลับ ตลอดจนควรทำให้ห้องนอนเงียบสงบ เย็นสบาย และมืดสลัว ฯลฯ