0

0

บทนำ

Highlight
หญ้าทะเล ลุ่มน้ำเค็ม และป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศสำคัญในการดูดซับคาร์บอน มีอัตราการกักเก็บที่รวดเร็วในระยะยาว และถึงแม้จะมีพื้นที่เพียง 0.5% ของพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลก แต่สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ถึง 5% ของปริมาณคาร์บอนทั้งหมดของโลก
ไมโครพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อป่าชายเลน โดยมีการประมาณการว่าขยะพลาสติกถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทรมากถึง 12.7 ล้านตันในปี 2010 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าในปี 2025 
ขนาดไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดจากการเก็บตัวอย่างคือ 100-330 ไมครอน ซึ่งพลาสติกเหล่านี้เกิดจากกิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น การซักผ้า และถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนมากับขยะอาหาร
 

คาร์บอนสีน้ำเงิน

มหาสมุทรและระบบนิเวศชายฝั่ง นับเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ เรียกว่า “คาร์บอนสีน้ำเงิน” หรือ “บลูคาร์บอน (Blue Carbon)” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการชะลอวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน เนื่องจากจะช่วย 'ล็อก' คาร์บอนไว้ และลดแรงกดดันจากก๊าซเรือนกระจก

หญ้าทะเล ลุ่มน้ำเค็ม และป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศสำคัญในการดูดซับคาร์บอน มีอัตราการกักเก็บที่รวดเร็วในระยะยาว และถึงแม้จะมีพื้นที่เพียง 0.5% ของพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลก แต่สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ถึง 5% ของปริมาณคาร์บอนทั้งหมดของโลก แต่กิจกรรมของมนุษย์กำลังคุกคามความอยู่รอดของระบบนิเวศเหล่านี้ และเสี่ยงที่จะทำให้คาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ปล่อยกลับสู่บรรยากาศ และยิ่งจะทำให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น

มลพิษจาก “ไมโครพลาสติก” ที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ “ป่าชายเลน” เศษพลาสติกขนาดจิ๋วเหล่านี้มาจากทั้งแหล่งต้นทางโดยตรง เช่น ไมโครบีดส์ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และเกิดจากการย่อยสลายของพลาสติกชิ้นใหญ่ เช่น ขวดและถุงพลาสติก เคยมีการประมาณการไว้ว่าขยะพลาสติกถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทรมากถึง 12.7 ล้านตันในปี 2010 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าในปี 2025 และจะแพร่กระจายไปทั่วโลกผ่านลมและกระแสน้ำ หากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม



รองศาสตราจารย์ เผิงจาง จากมหาวิทยาลัยกว่างตง โอเชียน ประเทศจีน ได้นำทีมสำรวจการสะสมไมโครพลาสติกในบริเวณป่าชายเลนของอ่าวกึ่งปิดจ้านเจียงที่มีแหล่งต้นน้ำมาจากแม่น้ำหนานหลิว ลู่ถังและซุยซี ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองจ้านเจียงและโรงงานอุตสาหกรรมตามแนวลำน้ำที่ขึ้นชื่อเรื่องมลพิษน้ำเสียจากเมืองและน้ำทิ้งจากภาคเกษตร เพื่อประเมินผลกระทบต่อการกักเก็บคาร์บอน

ผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Marine Science พบว่า มีปริมาณไมโครพลาสติกสะสมในตัวอย่างจากป่าชายเลนสูงถึง 618 ชิ้นต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า เมื่อเทียบกับบริเวณนอกป่า 264 ชิ้นต่อกิโลกรัม โดยพบปริมาณสูงสุดในจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว สันนิษฐานว่า เกิดจากการจัดการขยะที่ไม่ดีพอ โดยเฉพาะจากขยะอาหาร และเครื่องดื่ม

ขนาดไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดในทุกตัวอย่างคือ 100-330 ไมครอน โดยมากกว่าครึ่งมีขนาดน้อยกว่า 500 ไมครอน และแบ่งตามเฉดสีได้ถึง 12 สี แต่ที่พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนคือ สีหลายสี ใส และน้ำเงิน ซึ่งพลาสติกเหล่านี้เกิดจากกิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น การซักผ้า และถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนมากับขยะอาหารและรูปแบบพลาสติกที่เป็นชิ้นส่วนถูกพบมากที่สุดทั้งในเขตป่าชายเลน คิดเป็น 70% และบริเวณนอกป่าชายเลน 49% รองลงมาคือ เส้นใย ประมาณ 37% และ 12% ตามลำดับ สันนิษฐานว่า มาจากอุปกรณ์ประมงที่เป็นพลาสติก เช่น อวน

จากการวิจัยนี้แม้ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนจากการสะสมไมโครพลาสติก คาดว่าเป็นเพราะข้อมูลยังไม่เพียงพอ โดยมีแผนจะทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป อย่างไรก็ตาม ทางคณะวิจัยยังพบแนวโน้มปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฏจักรคาร์บอนในระบบนิเวศที่สูงขึ้นในตัวอย่างตะกอนจากป่าชายเลนเมื่อเทียบกับตะกอนนอกป่าชายเลน



มลพิษจากไมโครพลาสติกรบกวนกระบวนการดูดซับออกซิเจนและแร่ธาตุของป่าชายเลน คุกคามการเจริญเติบโตและการขยายตัวของพื้นที่ป่า และความสามารถในการแปรสภาพคาร์บอนในบรรยากาศ ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาจเข้าใจผิดว่าพลาสติกจิ๋วเหล่านี้คืออาหาร

ดังนั้น การควบคุมมลพิษไมโครพลาสติกทั้งแหล่งกำเนิดใหม่และที่มีอยู่แล้ว จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับผลกระทบจากฝีมือมนุษย์ และการรักษาแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติที่สำคัญอย่างป่าชายเลนให้คงอยู่ต่อไป

 

อ้างอิง

Mangrove blue carbon at higher risk of microplastic pollution, https://shorturl.asia/CDr2L
 

0 ถูกใจ 674 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

ส่วนที่ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสืบค้น
defaultuser.png

Admin ID3

ส่วนที่ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสืบค้น

เพิ่มพลังนม เพื่อสุขภาพ (และส่วนสูง) เด็กไทย!
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เพิ่มพลังนม เพื่อสุขภาพ (และส่วนสูง) เด็กไทย!

Self management
defaultuser.png

ORAPIN WIMONPHUSIT

Self management

‘ฝนราชการ’ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ วิธีรับมือเพื่อสุขภาพดีและไร้อุบัติเหตุ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ฝนราชการ’ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ วิธีรับมือเพื่อสุขภาพดีและไร้อุบัติเหตุ

ข้ามพ้นภาวะเครียดช่วงโควิด-19 รักษาสุขภาพใจ ลดผลกระทบระยะยาว
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ข้ามพ้นภาวะเครียดช่วงโควิด-19 รักษาสุขภาพใจ ลดผลกระทบระยะยาว

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Hilight

• “ปทุมวันโมเดล” มีวัตถุประสงค์กระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยสร้างความร่วมมือใช้รถปล่อยมลพิษต่ำและส่งเสริมการใช้รถสาธารณะพลังงานสะอาด

• โครงการนี้นำแนวคิดมาจากเขตควบคุมมลพิษต่ำ (Low Emission Zone) ซึ่งมีต้นแบบจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมาประยุกต์ใช้ โดยกำหนดพื้นที่นำร่องถนนพระราม 1 ระยะทางจากแยกราชประสงค์ถึงแยกปทุมวัน โดยจะดำเนินการตลอดปี 2565

• แบ่งการดำเนินงานโครงการออกเป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 รถยนต์พนักงานจะให้บริการตรวจไอเสียรถยนต์ ตรวจควันดำ ระดับที่ 2 ผู้ทำการค้าร่วมกับทางห้าง เช่น ซับพลายเออร์ที่มาส่งของหรือสินค้าที่จะใช้รถมีมลพิษต่ำ และระดับที่ 3 ลูกค้า ห้างร้านจะชักจูงให้ลูกค้าใช้บริการขนส่งสาธารณะ

 

----------