1

0

บทนำ

 

 

“ตับ” เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่สำคัญ หากตับมีความผิดปรกติ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต และปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้ตับมีปัญหาคือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ เพื่อดูแลตับให้ทำหน้าที่ได้อย่างปกติจึงควรละหรือเลิกเหล้า ผู้ที่ดื่มในปริมาณมากหรือดื่มต่อเนื่องมายาวนาน ควรตรวจสุขภาพหรือวัดเอนไซม์ตับ

โรคตับคร่าชีวิตและทำให้สูญเสียปีสุขภาวะ

ด้วยตับมีหน้าที่สำคัญในฐานะผู้ผลิตภูมิคุ้มกัน โปรตีน น้ำดี ฮอร์โมน และส่วนประกอบของเลือด ทั้งยังช่วยกักเก็บพลังงานไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการหรือมีภาวะฉุกเฉิน รวมไปถึงกำจัดเชื้อโรคหรือสารพิษตกค้างในกระแสเลือดต่าง ๆ

นั่นจึงทำให้ตับไม่ควรถูกละเลยหรือขาดการเอาใจใส่ แต่จากสถิติที่ผ่านมา โรคเกี่ยวกับตับ อาทิ โรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ นับเป็นหนึ่งปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี 2556 พบว่า มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันควรสูงเป็นอันดับ 1 ของคนไทย และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ในผู้ชาย และอันดับ 3 ในผู้หญิง

ข้อมูลระบบประกันสุขภาพ สำนักงานประกันสุขภาพ ในปี 2553 พบว่าผู้ป่วยมะเร็งตับที่รักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 34,125 ราย มีอัตราตายร้อยละ 12

ด้วยโรคตับแข็งและโรคตับเรื้อรังอื่น ๆ คร่าชีวิตคนไทยถึง 15,476 คน สูญเสียปีสุขภาวะ 594,124 ปี (ปีสุขภาวะ คือ จำนวนปีที่คนไทยสูญเสียไปกับการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร)

กลุ่มอายุ 30 ถึง 59 ปีสูญเสียปีสุขภาวะจากโรคตับแข็ง โรคตับเรื้อรังอื่น ๆ 452,975 ปี มะเร็งตับ 292,761 ปี

ปี 2562 โรคมะเร็งตับคร่าชีวิตคนไทยจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ คือ บุหรี่ 3,357 ราย แอลกอฮอล์ 1,844 ราย และน้ำตาลในเลือดสูง 1,281 ราย

เหล้า-บุหรี่ … ภัยคุกคามตับ!

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้คนไทยต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพตับคือ เหล้า-บุหรี่

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดโรคตับและมะเร็งตับทั่วโลก การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับมากขึ้น 1.16 เท่า

การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการเกิดมะเร็งตับ เนื่องจากทำให้เกิดสารในกระบวนการย่อยสลาย เอทานอล แอซีทัลดีไฮด์ และสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นส่งผลทำลายสารพันธุกรรม ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมในเนื้อเยื่อตับที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดมะเร็งตับ

มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับได้ร้อยละ 6-7 ต่อปี การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ต้องใช้เวลานานกว่า 20 ปี เพื่อจะทำให้ความเสี่ยงของผู้ป่วยตับแข็งลดลงมาเท่าเทียมกับผู้ที่ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์เลย

 

 

ส่วนการสูบบุหรี่นั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ ในผู้ที่สูบบุหรี่มักตรวจพบความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเนื้อตับได้บ่อย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ยังทำให้มีการผลิตสารอนุมูลอิสระชนิดต่าง ๆ ซึ่งไปทำลายสารพันธุกรรมและก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ ในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี การสูบบุหรี่มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ

 

 

ตรวจตับ เลิกเหล้า สุขภาพดี

การเลิกสูบ เลิกดื่ม ไม่ต่างกับเป็นการฟื้นคืนชีวิตให้ตับและเพิ่มปีสุขภาพดี

คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะที่ดื่มเป็นประจำหรือดื่มต่อเนื่องมายาวนานมีความจำเป็นที่ต้องตรวจสุขภาพตับ ซึ่งรวมถึงการวัดระดับเอนไซม์ในเลือด เพราะสามารถช่วยตรวจพบโรคตับและความผิดปกติของตับได้ในระยะเริ่มแรก การตรวจหาสภาวะเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้การรักษามีประสิทธิผลมากขึ้น และสามารถเป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงทำให้คุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้น

การตรวจพบค่าเอนไซม์ตับสูงหรือเรียกกันทั่วไปค่าตับสูง อาจมาจากตับเกิดการอักเสบหรือเกิดความเสียหายของเซลล์ในตับ มีเอนไซม์ตับรั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด​ ซึ่งพบได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ  ตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมขับเคลื่อนการจัดการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการวัดค่าเอนไซม์ตับ โดยร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ความรู้ด้านสุขภาพ เสริมพลัง ให้คำปรึกษาทุกคำถาม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการและสามารถเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนมีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยการเจาะเลือดเพื่อเช็คตับ สามารถรับบริการได้ที่หน่วยสุขภาพใกล้บ้าน

ฟื้นสมรรถภาพตับด้วยอาหาร

อาหารมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพตับ รวมถึงการฟื้นฟูสำหรับคนที่หยุดดื่ม เพื่อให้สมรรถภาพของตับกลับมาดี ตัวอย่างอาหารบางส่วนที่ช่วยตับได้ เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์และถั่ว อาทิ ไก่ วัว เต้าหู้, คาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ธัญพืช หรือขนมปังโฮลเกรน, ไขมันจากปลา ธัญพืช ปลาทู แซลมอน ปลากะพง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง, ผลไม้ เช่น กล้วยและตระกูลเบอร์รี่, ผัก เช่น บรอกโคลี ผักโขม ผักกาดหวาน พริก เป็นต้น
 

 

ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ของหมักดอง ไส้กรอก อาหารแช่แข็ง และหากปัสสาวะเป็นสีเข้มควรดื่มน้ำเพิ่ม

อ้างอิง

สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สารอาหารฟื้นตับ บำรุงร่างกายสำหรับคนเลิกเหล้า, 25 กันยายน

2566, https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/9VE4
สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ, ทวงคืน ตับ! ทวงคืนปีสุขภาพดีคนไทย, 20 กันยายน 2566,

https://www.thaihealth.or.th/ทวงคืน-ตับ-ทวงคืนปีสุขภ/

คณะกรรมการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทยปี พ.ศ. 2564 สมาคมโรคตับแห่งประเทศ

ไทย, แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทยปี พ.ศ. 2564 (ฉบับปรับปรุง), 8 เมษายน 2564, https://thasl.org/thasl-guideline/

โรงพยาบาลบีเอ็นเอช, โรคไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ค่าตับสูง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการเป็นอย่างไร ควรทำอย่างไร, https://mbrace.bnhhospital.com/โรคไขมันพอกตับ/

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

รับมือความ Toxic อย่างไรดี
defaultuser.png

อภิรักษ์ รุ่งเรือง

รับมือความ Toxic อย่างไรดี

ถึงเวลาเลิกพฤติกรรมเนือยนิ่ง เสริมแกร่งร่างกายห่างไกลโรค
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ถึงเวลาเลิกพฤติกรรมเนือยนิ่ง เสริมแกร่งร่างกายห่างไกลโรค

การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
defaultuser.png

Don Admin

การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)

เกี่ยวกับเรา
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

เกี่ยวกับเรา

มหัศจรรย์แห่งการอ่านสร้างพัฒนาการเด็ก ขับเคลื่อนสวัสดิการหนังสือ ‘อ่านสร้างลูก ลูกสร้างโลก’
1708931705.jpg

Super Admin ID1

มหัศจรรย์แห่งการอ่านสร้างพัฒนาการเด็ก ขับเคลื่อนสวัสดิการหนังสือ ‘อ่าน...

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 15%  ดังนั้นผู้ใหญ่ควรมีเวลานอนระหว่าง 7-9 ชั่วโมงต่อคืนจะช่วยรักษาร่างกายและจิตใจให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่สุด

การนอนไม่พอเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น อัลไซเมอร์, โรคหัวใจและหลอดเลือด,                   การทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะซึมเศร้า โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และยังส่งผลต่อพฤติกรรม ความรู้สึกของร่างกาย สมาธิ อารมณ์ และแม้กระทั่งความคิด

ข้อแนะนำช่วยให้นอนหลับ ต้องเลิกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเตียงนอน หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการนอนหลับ ตลอดจนควรทำให้ห้องนอนเงียบสงบ เย็นสบาย และมืดสลัว ฯลฯ