2

0

บทนำ

 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาความนิยมของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่เด็กและวัยรุ่นไทย ทำให้เกิดความกังวล เพราะความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นที่ถกเถียง  ทั้งยังมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยอันตราย รวมไปถึงผลกระทบในระยะยาวที่เชื่อมโยงกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

 

สถิติบุหรี่ไฟฟ้ากับวัยรุ่นไทย

ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุม ห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่าย ห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า แต่ยังพบว่า มีการลักลอบนำเข้า จำหน่าย และส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะทางสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เข้าถึงได้ง่าย ขณะที่การบังคับใช้กฎหมายควบคุมยังมีจุดอ่อน

จากงานวิจัย “การสำรวจเยาวชนไทยในสถานศึกษา ปี 2564” พบว่า เยาวชนอายุ 15 – 24 ปี ที่ศึกษาอยู่ระดับมัธยมปลาย อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 3.4 (สูบบุหรี่มวน ร้อยละ 42 สูบทั้งคู่ ร้อยละ 2.4)

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า คือ การที่เยาวชนเข้าชมสื่อสังคมออนไลน์ โดยหากเข้าชมเกือบทุกวัน มีโอกาสใช้บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 3.7 และเพิ่มโอกาสใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากกว่า 7.7 เท่า ของคนที่ไม่เคยเข้าชม

ผลการศึกษาในปี 2566 พบแหล่งจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อสังคมออนไลน์ถึง 436 ร้าน หากเปรียบเทียบข้อมูลย้อนกลับไปประมาณ 3 ปีก่อน จะพบว่า ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อสังคมออนไลน์เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 45.3 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยบุหรี่ไฟฟ้าราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 250-350 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้

เป้าหมายสำคัญของบุหรี่ไฟฟ้า คือ เด็กและเยาวชน อายุ 10 – 15 ปี จึงมีความพยายามที่จะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น โดยมีบุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่ล่าสุด เรียกว่า บุหรี่ไฟฟ้า GEN 5 เกิดขึ้น มีการออกแบบให้คล้ายตุ๊กตาหรือของเล่น (Toy Pod) ทำให้ผู้ปกครองไม่รู้ว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้า มีรสชาติต่าง ๆ มีการตั้งชื่อ และบรรยายสรรพคุณให้ดึงดูดความสนใจสำหรับเด็ก ทั้งยังมีราคาถูก สั่งซื้อได้ง่ายผ่านทางออนไลน์

เหตุผลที่ทำให้วัยรุ่นอยากสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพราะลักษณะเหมือนของเล่น เสพแล้วไม่มีกลิ่นควัน เลือกกลิ่นและรสชาติได้หลากหลาย ที่สำคัญคือ ผู้เสพไม่ตระหนักถึงพิษร้ายที่ซ่อนอยู่ในสารนิโคตินและสารเคมีอื่นๆ

 

 

กลิ่นหอมซ่อนอันตราย

ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าเข้าปอดได้ลึกกว่า ยากต่อการขับออกโดยธรรมชาติของร่างกาย จึงน่ากังวลเรื่องอันตราย

นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าสามารถส่งผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังและปอดอักเสบได้ อีกทั้งยังเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสาเหตุของโรคปอดป๊อบคอร์น (Popcorn Lung) มีอาการคล้ายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หายใจถี่ ไอแห้งเรื้อรัง ซึ่งในสหรัฐฯ เป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 68 คน

นอกจากนี้ยังพบภาวการณ์อักเสบของหลอดลมทางเดินหายใจที่เล็กที่สุดในปอดจากการสัมผัสสารไดอะซิติล (Diacetyl) ซึ่งใช้ในการสร้างรสชาติ พบได้ในโรงงานทำข้าวโพดคั่วไมโครเวฟ และโรงงานบุหรี่ไฟฟ้า

ในประเทศไทยพบว่า มีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าอายุ 20-30 ปี ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ EVALI ที่ทำให้มีอาการเหนื่อย ไอ เกิดฝ้าขาวในปอด นอกจากนี้ในคนอายุน้อยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ายังพบโรคปอดแฟบ โรคปอดบวมจากการแพ้สารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้าได้อีกด้วย

          นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้พบว่า บุหรี่ไฟฟ้ายังมีฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ปอดได้ง่าย จากผลการศึกษาในประเทศจีน พบฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก ทั้ง PM 10

PM 2.5 และ PM 1.0 ซึ่งมีขนาดเล็กไม่เกิน 1 ไมครอน ซึ่งพบได้มากถึง 98% ด้วยอนุภาคที่เล็กมากจะสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและปอด และส่งผลให้ปอดทำงานบกพร่อง เกิดการอักเสบ จนเกิดโรคทางเดินหายใจ รวมถึงโรคมะเร็งปอด

 

6)6รมควบคุมโรค (จ

 

นบุหรี่ไฟฟ้าaahkคณะกรรมการอำ

 

ผลกระทบต่อสมองวัยรุ่น

ในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน ซึ่งหลังจากสูบในช่วง 10 วินาทีแรก จะไปกระตุ้นเซลล์สมอง หลอกให้รู้สึกมีความสุข สมองจะจดจำสารกระตุ้นนี้ไว้ เมื่อถูกกระตุ้นซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง จึงทำให้เลิกสูบไม่ได้ สารนิโคตินทำลายเซลล์สมอง โดยเฉพาะระบบความจำ และทำลายระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการหายใจไม่ออก ไอ จาม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มึนงง สับสน ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น

งานวิจัยจากสหรัฐฯ พบว่า เด็ก ๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดสภาวะสมองล้ามากขึ้น หากเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าก่อนอายุ 14 ปี เด็กที่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มสมองล้าสูงกว่าเด็กที่ไม่เคยสูบ 3 - 4 เท่า ส่วนในระยะยาว นิโคตินอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มฟันอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ ต้อกระจก หัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ชัก หัวใจล้มเหลว ซึมเศร้า เป็นต้น

 

พ่อแม่ปกป้องลูกจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าได้

เพื่อป้องกันเด็กและวัยรุ่นจากบุหรี่ไฟฟ้า จิตแพทย์เด็กแนะนำพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้  

  • พ่อแม่ต้องรู้จักอุปกรณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้า ศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสาร
  • พ่อแม่ต้องมีเวลาพูดคุยกับลูกเรื่องพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า และสอนทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้สูบ
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก หากมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ก้าวร้าว สนใจการเรียนลดลง หรือมีกลิ่นหอมผิดปกติติดตัว แต่ควรหลีกเลี่ยงการทำให้ลูกรู้สึกว่ากำลังถูกจับผิด
  • ลดความเครียดที่ไม่จำเป็น เช่น การตำหนิ เปรียบเทียบกับคนอื่น การกดดัน ฯลฯ ซึ่งทำให้เด็ก ๆ เครียด และอาจนำไปสู่การสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้
  • ช่วยสร้างความนับถือตัวเอง ความภูมิใจในตัวเอง ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาการเสพติดได้
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว พูดคุยด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรุนแรง
  • หากต้องการความช่วยเหลือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600
อ้างอิง

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, ห่วงเยาวชนไทยเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย หลังพบขายบุหรี่

ไฟฟ้าในสังคมออนไลน์จำนวนมาก, 9 พฤษภาคม 2565, https://www.trc.or.th/th/ข่าวสาร/ข่าวเผยแพร่/ข่าวสารบุหรี่/645-ห่วงเยาวชนไทยเข้าถึง บุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย-หลังพบขายบุหรี่ไฟฟ้าในสังคมออนไลน์จำนวนมาก.html

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, พิษสงไอหอมของบุหรี่ไฟฟ้า, 25 กันยายน 2566,

https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/8c6caff9-815b-ee11-80ff-00155db45636?isSuccess=False

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, ThaiHealth Watch 2023 : บุหรี่ไฟฟ้าทำลายสมองวัยรุ่น,

4 กันยายน 2566, https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/0896bbc8-054b-ee11-80ff-00155db45636?isSuccess=False

Hfocus, กรมควบคุมโรค เตือน! ควันบุหรี่ไฟฟ้ามีฝุ่นจิ๋ว PM 1.0 มากถึง 98%, 10 ธันวาคม 2566,

https://www.hfocus.org/content/2023/12/29209

Khaosod Online, อึ้ง 9 ขวบสูบบุหรี่ไฟฟ้า จิตแพทย์ แนะ7วิธีป้องกัน ชี้สูบอายุน้อยกระทบสมอง, 4

กันยายน 2566 https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7849467

ThaiPBS, “บุหรี่ไฟฟ้า GEN 5” ภัยร้าย เจาะเป้าหมายเด็ก-เยาวชน, 11 สิงหาคม 2566,

https://www.thaipbs.or.th/news/content/330545

 

 

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
defaultuser.png

Don Admin

การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)

“ธนาคารเวลา”  เสริมสร้างคุณภาพชีวิตสูงวัย ด้วยนวัตกรรมทางสังคม
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“ธนาคารเวลา” เสริมสร้างคุณภาพชีวิตสูงวัย ด้วยนวัตกรรมทางสังคม

อุบัติเหตุบนท้องถนน คนเดินเท้าเสี่ยงเสียชีวิต-บาดเจ็บมากสุด
1708931705.jpg

Super Admin ID1

อุบัติเหตุบนท้องถนน คนเดินเท้าเสี่ยงเสียชีวิต-บาดเจ็บมากสุด

‘ภาวะหมดไฟ’ ด้านมืดของอิสรภาพในโลกฟรีแลนซ์
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ภาวะหมดไฟ’ ด้านมืดของอิสรภาพในโลกฟรีแลนซ์

เพิ่มพลังนม เพื่อสุขภาพ (และส่วนสูง) เด็กไทย!
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เพิ่มพลังนม เพื่อสุขภาพ (และส่วนสูง) เด็กไทย!

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

admin

บุหรี่เป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้าน

หนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสารอื่น ๆ เช่น กัญชา

บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กกว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน