0

0

บทนำ

เนื้อหาสาระของส่วนนี้จะเป็นการขยายความเข้าใจคำอธิบายคำย่อต่างๆ แสดงรายการเอกสารอ้างอิง และลิงค์ (Link) ดาวน์โหลดรายงานที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบค้น ค้นคว้าเพิ่มเติม รวมทั้ง ระบุทำเนียบหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนน ไว้สำหรับเชื่อมร้อยภาคีเครือข่าย และ/หรือ ติดต่อขอข้อมูลเชิงลึกได้ต่อไป

 

5.1 คำอธิบายคำย่อ

คำย่อ

คำเต็ม

คณะกรรมการ นปถ.

คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ

คปอ.

คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จป.

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ชรบ.

ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

ปภ.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

พชอ.

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

พชต.

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล

มนป.

มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย

มสช.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

ศปถ.จังหวัด

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด

ศปถ.ส่วนกลาง

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนส่วนกลาง

ศปถ.อปท.

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ศปถ.อำเภอ

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ

ศวปถ.

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน

สคบ.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

สคอ.

สำนักเครือข่ายลดอุบัติเหตุ 

สพฉ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 

สอจร.

แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด

อปพร.

อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

อสม.

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

 

 

5.2 ทำเนียบหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนน

ชื่อหน่วยงาน

ผลงานสำคัญ

สถานที่ติดต่อ

 

ภาคนโยบาย

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

ผลการดำเนินงานประจำปี 2564 http://roadsafety.disaster.go.th

เลขที่ 3/12 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทร 02-243-0030

http://roadsafety.disaster.go.th/in.roadsafety-1.196/

 

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

-ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ (IDCC) ให้บริการด้านข้อมูลการบาดเจ็บ ชุดข้อมูล กราฟประกอบการตัดสินใจและบริการอบรมให้กับผู้สนใจ

-การจัดทำ e-Book (คู่มือผู้เรียน หนังสือออนไลน์)

-e-Learning หลักสูตรการเรียนรู้การทำงานด้านข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน

-ได้ทำสื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ อินโฟกราฟฟิก

ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ เลขที่ 88/21 อาคาร 10 ชั้น 5 กรมควบคุมโรค ถนนติวานนท์ ตำบลลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

โทร. 02-590-3889 dip.ddc.moph.go.th

 

กระทรวงคมนาคม

กรมการขนส่งทางบก

- กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสำคัญ

- ยกระดับความปลอดภัยทางถนนด้วยการนำเทคโนโลยี GPS และระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ

- ศึกษาวิจัยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของยานพาหนะและลดอุบัติเหตุของผู้ใช้รถใช้ถนน

- พัฒนาช่องทางการสื่อสารความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ “ขับขี่ปลอดภัย by DLT”

-  จัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งโทรศัพท์สายด่วน โทร 1584 หรือ Mobile Application: DLT GPS หรือ Application Line: @1584DLT ฯลฯ

กรมการขนส่งทางบก

1032 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900.

โทรศัพท์ (หมายเลขกลาง):0-2271-8888

โทรสาร : 0-2271-8805 (เฉพาะวันเละเวลาราชการเท่านั้น)                    อีเมล : webmaster@dlt.mail.go.th

 

 

กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน : กปถ. (Road Safety Fund) กำหนดให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกนำหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยมออกประมูลเพื่อนำเงินที่ได้ทั้งหมดเข้ากองทุนฯ

- จัดประมูลหมายเลขทะเบียนรถทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

- โอนเงินให้กระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการที่ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางถนน

- ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย  ฯลฯ

กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

อาคาร 2 ชั้น 5 กรมการขนส่งทางบก เลขที่ 1032 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม.10900 โทร 02-2718888

roadsafefund.dit.go.th

 

 

 

กรมทางหลวง

-มีบริการทางหลวงสำหรับประชาชน เช่น แอปพลิเคชั่น DOH to Travel สำหรับผู้ใช้ทางหลวงในการค้นหาสถานที่และแนะนำเส้นทาง

-คู่มือการเดินทาง เช่น แนะนำเส้นทางเลือกช่วงเทศกาล สายทางที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินทางของรถ

-หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ เช่น ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม (1356) ตำรวจทางหลวง (1193) หน่วยแพทย์กู้ชีพ (1554) สอบถามสภาพจราจร (1543) เป็นต้น

 

 

 

สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 

- อำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลและวันหยุดยาว

- บูรณาการการทำงานร่วมกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รวมทั้งภาคีเครือข่าย สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน 

 -จัดทำรายงานวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2559 , 2560 , 2562

 -จัดทำคู่มือและมาตรฐานเครื่องหมายจราจร 7 เล่ม เช่น คู่มือการใช้เครื่องหมายจราจรบริเวณโรงเรียนและสถานศึกษา ฯลฯ

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

เลขที่ 35 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ : 0-2215-1515 ,0-2215-6687 , 0-2215-5410 ,0-2216-2852

โทรสาร : 0-2216-4168

E-mail : webmaster@otp.go.th

 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

1. ศูนย์บริหารงานจราจร (ศจร.ตร.)

- ให้บริการด้านการจราจรและลดอุบัติเหตุทางถนน เช่น จัดทำคลิปรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันและลดอุบัติเหตุบนทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์

(https://www.youtube.com/watch?v=kELpvrRJqek)

- ทดสอบและพัฒนาตำรวจจราจรให้มีความรู้ความสามารถในข้อกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ

- จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อติดตามสถานการณ์อุบัติเหตุและการจราจรทุกวันในช่วง 7 วันควบคุมเข้มข้น 

- สร้างจิตสำนึกการขับขี่ปลอดภัยตามกฎหมายจราจรให้กับสังคม โดยจัดทำโครงการอาสาตาจราจร ร่วมกับมูลนิธิเมาไม่ขับ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) จส.100 และ สวพ.91

กองบัญชาการตำรวจจราจร

23 หมู่ 2 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว

เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

โทร. 02515-3111

Fax. 02515-3111

email : webmaster.trafficpolice@gmail.com

http://www.trafficpolice.go.th

โทร. 1193 ตำรวจทางหลวงทั่วประเทศ

โทร. 1197 กองบังคับการตำรวจจราจร (สำหรับใน กทม. และ ปริมณฑล)

โทร 191 หรือ 1599 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

 

 

2. กองบังคับการตำรวจจราจร รับผิดชอบพื้นที่กทม.และปริมณฑลครอบคลุมงานสายตรวจ การตรวจพิสูจน์/สถิติวิจัย ศูนย์ควบคุมจราจรทางด่วน ศูนย์ควบคุมจราจรพื้นที่ ศูนย์ข้อมูลใบสั่ง และฝ่ายปฏิบัติงานพิเศษจราจร โดยมีการแสดงแผนที่แสดงระบบจราจรและระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV เพื่อดูสภาพความหนาแน่นของจราจรบนเส้นทางถนนหลัก และมีกองบังคับการตำรวจทางหลวงดูแลพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ  ให้บริการประชาชนที่สอบถามส้นทาง แจ้งเหตุหรือขอความช่วยเหลือ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

- คัดกรองผู้กระทำผิดคดีขับรถขณะเมาสุราโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

- จัดกิจกรรมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชน ณ จุดบริการประชาชน ด่านตรวจค้นและด่านชุมชน

-จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การขับขี่อย่างปลอดภัย

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 4,6 เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม.10210

โทรศัพท์ 0-2141-4749

โทรสาร 0-2143-8824

www.probation.go.th

 

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

-พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้ทุกคนเข้าถึงการบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียม มีคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยผู้ประสบอุบัติเหตุหรือผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน 1669

-เผยแพร่งานวิชาการ เช่น คู่มือการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (Journal of Emergency Medical Services of Thailand) ที่เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์

88/40 หมู่ที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัพท์:028721600 ต่อ 716

โทรสาร: 028721604

E-mail : niem1669@niems.go.th

https://www.niems.go.th/1/?redirect=True&lang=TH

 

ภาควิชาการ

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย

-ศวปถ. มีส่วนในการผลักดันองค์ความรู้สู่หน่วยงานระดับส่วนกลาง เพื่อกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ นโยบายสาธารณะ

-ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงาน “สัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนน” ทุก ๆ 2 ปี

-พัฒนาชุดความรู้และข้อเสนอนโยบายที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการความเสี่ยงรถจักรยานยนต์ พร้อมทั้งผลักดันให้กลไกจัดการระดับพื้นที่มีการพัฒนาระบบงานเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เลขที่ 1 ห้อง 407-408 ชั้น 4 อาคารพร้อมพันธุ์ 2 ซอยลาดพร้าว 3 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

โทร: 0-2938-8490 โทรสาร: 0-2938-8827

http://www.roadsafetythai.org                     อีเมล: admin@roadsafetythai.org

 

แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย

- มี สอจร. ใน 7 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้. ทุกภาคมีคณะกรรมการบริหารภาคและทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง สอจร.) และภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน

-การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง สอจร.เพื่อเติมเต็มความรู้และทักษะในการทำงานให้กลุ่มพี่เลี้ยงระดับจังหวัดและอำเภอ

-การทบทวนบทเรียนการทำงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามภาคข้ามจังหวัดในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุจราจรตามบริบทพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

-การนิเทศติดตามประเมินการทำงานแบบเสริมพลัง และเกิดการตั้งวงประชุมร่วมสรุปบทเรียนและจัดทำรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุจราจรทั้ง 75 จังหวัด

-การเชื่อมประสานกับโครงการอื่นๆ ภายใต้คณะทำงานขับเคลื่อนงาน สอจร. อาทิ โครงการพัฒนาจังหวัดเชิงประเด็น เชิงพื้นที่ 41 โครงการได้รับการคัดเลือกเป็นผลงานเด่นและเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในเวทีวุฒิสภา 11 พื้นที่ 6 ประเด็น หรือโครงการขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนส่งผลให้เกิดองค์กรต้นแบบที่มีการคาดเข็มขัดและสวมหมวกนิรภัย 100%

www.rswgsthai.com

 

มูลนิธิไทยโรดส์ (ThaiRoads Foundation)

-สำรวจอัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน

-สำรวจอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทย

-สำรวจพฤติกรรมการใช้ความเร็วบนทางหลวงสายหลัก

-สำรวจพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนและทัศนคติต่อการบังคับใช้กฎหมาย

-พัฒนาระบบรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนโดยหน่วยกู้ชีพ/กู้ภัย

-จัดทำคู่มือการกำหนดความเร็วจำกัดในเขตเมืองและเทศบาล

-งานวิจัยต่างๆ เช่น การศึกษาการลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจากการชนท้าย กรณีศึกษาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 การศึกษาความแตกต่างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ฯลฯ

เลขที่ 307-308 ชั้น 3 อาคารพร้อมพันธุ์ 2 ซอยลาดพร้าว 3 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

โทร 02-938-4376

โทรสาร 02-513-4485

http://www.thairoads.org/

info@thairoads.org

 

เครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Watch: TRSO) ประกอบด้วย มูลนิธิไทยโรดส์ และสถาบันอุดมศึกษา 8 แห่งทั่วทุกภูมิภาค ได้แก่

- ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) รับผิดชอบเครือข่ายภาคกลาง

- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับผิดชอบเครือข่ายภาคเหนือตอนบน

- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยนเรศวร รับผิดชอบเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยนครพนม รับผิดชอบเครือข่าย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

- สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รับผิดชอบเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

- คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา รับผิดชอบเครือข่ายภาคตะวันออก

- สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับผิดชอบเครือข่ายภาคใต้ตอนบน

- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิศวกรรมโยธา มหาวิทยาสงขลานครินทร์ รับผิดชอบเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง

- คลังความรู้ของหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นรวบรวมจัดเก็บองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย ในรูปแบบของดิจิตอลไฟล์ ประกอบด้วยบทความวิชาการ ผลงานศึกษาวิจัย เอกสารเผยแพร่ และอื่นๆ เพื่อให้เป็นฐานความรู้ที่สำคัญต่อการติดตามสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน การกำหนดทิศทางของนโยบายและออกแบบมาตรการต่างๆ รวมถึงการวิจัยและการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยทางถนนของประเทศ

- สถิติและข้อมูลสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย แบ่งเป็น 7 หมวดหมู่ ได้แก่ ตัวชี้วัดระดับประเทศ (สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในภาพรวม กลุ่มเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง) แผนที่สะท้อนสถานการณ์ที่สำคัญ พฤติกรรมเสี่ยง ตัวชี้วัดระดับจังหวัด สรุปสถานการณ์ล่าสุดรายจังหวัด อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และอัตราการสวมหมวกนิรภัย

เลขที่ 307-308 ชั้น 3 อาคารพร้อมพันธุ์ 2 ซอยลาดพร้าว 3 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

โทร 02-938-4376

โทรสาร 02-513-4485

อีเมล์ : trso@thairoads.org

http://trso.thairoads.org

 

ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

-การศึกษาอุบัติเหตุในเชิงลึก โดยการสืบค้นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและการฟื้นฟูสภาพการเกิดอุบัติเหตุ การวิเคราะห์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด มีการจัดตั้งทีมสืบค้นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุขึ้น ทำการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุอย่างละเอียด ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาบันทึกในฐานข้อมูลอุบัติเหตุของศูนย์วิจัยฯ ที่ได้พัฒนาขึ้น ทีมวิจัยจะวิเคราะห์อุบัติเหตุอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สาเหตุการบาดเจ็บของผู้ประสบอุบัติเหตุและองค์ประกอบที่เป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ในกรณีที่ข้อมูลความเสียหายของรถและหลักฐานความเสียหายต่างๆ มีความสมบูรณ์ ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการฟื้นฟูสภาพการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถแสดงภาพจำลองการเคลื่อนไหว (simulation)

-การจัดทำระบบฐานข้อมูลทางด้านการสืบค้นสาเหตุและการฟื้นฟูสภาพการเกิดอุบัติเหตุ เป็นซอฟท์แวร์ที่จัดเก็บปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุและข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาในเชิงลึกของอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นระบบ โดยซอฟแวร์นี้จะพัฒนาเป็นระบบ Client Server ที่สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลบน เครื่องServer ร่วมกันได้

- การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ( TARC ) เป็นผู้ริเริ่มกระบวนการทางด้านการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนทั้งในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

- การฝึกอบรมและการสัมมนา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยและเผยแพร่ความรู้ทางด้านความปลอดภัยทางถนนให้กับหน่วยงานต่างๆ

ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ภาควิชาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยี

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ตู้ ป.ณ.4 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์:(662) 524 6419 แฟกซ์:(662) 524 5509 Email: info@tarc.or.th

 

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

-งานศึกษาวิจัย คลิปความรู้ บทความและอื่นๆ ในประเด็นวิจัย: ระบบขนส่งสาธารณะ

- TDRI Web report: ช่องทางติดตามข้อมูลอุบัติเหตุ โดยแสดงผลการติดตามและประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนรายไตรมาส และการเสียชีวิตตามประเภทกลุ่มผู้ใช้งาน 3 กลุ่ม คือ หน่วยงานระดับนโยบาย หน่วยงานผู้ปฎิบัติงานด้านความปลอดภัยทางถนน และประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ http://tdri.or.th/road-safety

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

565 ซอยรามคำแหง 39 (เทพลีลา) ถนนรามคำแหง

แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

โทรศัพท์: 02-718-5460 หรือ 0-2718-5683-8

โทรสาร: 02-718-5461–2

https://tdri.or.th/about/contact/

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

มีแหล่งความรู้และข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยและนวัตกรรมของ สกสว. ที่นำเสนอรูปแบบต่าง ๆ เช่น โครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ บทความ Podcast วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์และเอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเปิดเผยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เข้าถึงได้ที่ https://www.tsri.or.th/knowledge/

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

ชั้น 14 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02 278 8200

โทรสาร  02 298 0476

E-mail webmaster@tsri.or.th,

 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

มีคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR: Thai National Research Repository) สำหรับสืบค้นโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ข้อมูลผลงานวิจัย ข้อมูลนักวิจัย และองค์ความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม https://tnrr.nriis.go.th/#/

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

96  ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร

กรุงเทพฯ 10900

โทรศัพท์ : 0-2579-1370 ถึง 9 และ 0-2561-2445

โทรสาร : 0-2579-2289

e-mail : saraban@nrct.go.th

 

ภาคประชาสังคมและเอกชน

สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.)

-สื่อสารเพื่อผลักดันนโยบายหรือสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบาย

-ดำเนินงานร่วมกับภาคีเดิมที่ทำ MOU ร่วมกัน และภาคี สสส.

-เพิ่มภาคีเครือข่ายหมออนามัยในการดำเนินงานให้เกิดพื้นที่ต้นแบบในภูมิภาค รพ.สต. ต้นแบบการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และคณะนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เดิม

-ประเด็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์เน้นเรื่อง “ความเร็ว” เป็นประเด็นหลักประเด็นเร่งด่วนของสังคมในสถานการณ์ปัจจุบัน และยึดประเด็นรถจักรยานยนต์ปลอดภัย การสวมหมวกนิรภัย และการดำเนินการร่วมกับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง

-จัด Campaign รณรงค์ การผลิตและกระจายสื่อที่มีคุณภาพ รวมถึงการปรับปรุงเว็บไซต์ Fanpage ให้ทันสมัยและมีความน่าสนใจ

ชั้น 1 อาคารราชประชาสมาศัย กรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง

จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัพท์ : 0-2588-3769

โทรสาร : 0-2580-0518

E-mail: accident2561@gmail.com

www.accident.or.th

 

มูลนิธิเมาไม่ขับ (Don’t Drive Drunk Foundation)

-สนับสนุนการจัดกิจกรรมรณรงค์เมาไม่ขับในเทศกาลสำคัญ

-เผยแพร่ข้อมูลน่ารู้ เช่น กฎหมายจราจร สถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ฯลฯ

-จัดทำสื่อรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ เช่น สติ๊กเกอร์ แผ่นพับ โปสเตอร์ หนังสือ เพลง

-รายงานความคืบหน้าคดีดัง

-ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สสส. และภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุภาครัฐ ภาคเอกชน สนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกลาง คือ ชมรมคนห่วงหัว (head awareness club) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อแสวงหาความร่วมมือในทุกรูปแบบในการรณรงค์ให้คนไทยหันมาใส่ใจในการสวมหมวกกันน็อกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

เลขที่ 21 หมู่บ้านประชานิเวศน์ 2 ซอยสามัคคี 58 แยกสามัคคี 58/26 ถนนสามัคคี ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัพท์ 02-575-0044

โทรสาร 02-575-0101

email : ddd@ddd.or.th

https://www.ddd.or.th/

 

เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ (มูลนิธิเมาไม่ขับสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับให้เป็นองค์กรที่มีลักษณะถาวร โดยมีการจัดตั้งสำนักงานเหยื่อเมาแล้วขับในส่วนกลาง และศูนย์ประสานงานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับในส่วนภูมิภาคขึ้น)

เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับระดับจังหวัดจัดกิจกรรมรณรงค์เมาไม่ขับในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง

 

สายด่วนเมาไม่ขับ 1717

ตู้ ปณ. 1717 ปณฝ. นานา

กรุงเทพฯ 10112

 

สมาคมเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ

-ร่วมมือกับ สสส.ในการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหมออนามัยหรือผู้นำหมออนามัยแนวใหม่ (Mohanamai Academy)  2 รุ่นโดย

-พัฒนางานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยการวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research: R2R)

-การสร้างนวัตกรรมทางสุขภาพ โดยหมออนามัยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพเป็นผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้ประสานและร่วมในการจัดการพัฒนาเชิงพื้นที่ สามารถเชื่อมต่อและหนุนเสริมระบบและกลไกให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น

https://www.facebook.com/mohanamainetwork2018/?locale=th_TH

 

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

-ให้บริการรับคำร้องขอและจ่ายค่าสินไหมทดแทน

-การรับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

-ข้อมูลของบริษัทกลางฯ เป็น 1 ใน 3 ฐานในระบบการบูรณาการการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

เลขที่ 26 ซอย สุขุมวิท 64/2 ถนน สุขุมวิท แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260

โทรศัพท์ :  0-2100-9191

โทรสาร : 0-2396-2093-4 Call Center 1791     www/rvp.co.th

 

5.3 รายการเอกสารอ้างอิง

1.รายงานผลการดำเนินงานการประมวลองค์ความรู้สุขภาวะเชิงประเด็น “ลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนน”อย่างเป็นระบบ (Systematic Review)

2.รายงานฉบับสมบูรณ์การประมวลองค์ความรู้สุขภาวะเชิงประเด็นการจัดการอุบัติเหตุในท้องถิ่นและชุมชน ตามกลุ่มเป้าหมาย (Matrix)

*ทำ Link download เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

อ้างอิง

สุจิตราภรณ์ คำสอาด.(2566). รายงานผลการดำเนินงานการประมวลองค์ความรู้สุขภาวะเชิงประเด็น   
 “ลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนน”อย่างเป็นระบบ (Systematic Review).สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเพลินพาดีภายใต้โครงการทบทวนและประมวลองค์ความรู้สุขภาวะเชิงประเด็นเพื่อสนับสนุนการสื่อสารและขยายผล   ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

“ปทุมวันโมเดล” ต้นแบบเขตมลพิษต่ำ การต่อสู้กับ PM2.5 ของกรุงเทพฯ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“ปทุมวันโมเดล” ต้นแบบเขตมลพิษต่ำ การต่อสู้กับ PM2.5 ของกรุงเทพฯ

“ธนาคารเวลา”  เสริมสร้างคุณภาพชีวิตสูงวัย ด้วยนวัตกรรมทางสังคม
1708931705.jpg

Super Admin ID1

“ธนาคารเวลา” เสริมสร้างคุณภาพชีวิตสูงวัย ด้วยนวัตกรรมทางสังคม

ดนตรีบำบัด: เครื่องมือทรงพลังเชิงบวก ช่วยรักษาอาการป่วยทางกายและจิตใจ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ดนตรีบำบัด: เครื่องมือทรงพลังเชิงบวก ช่วยรักษาอาการป่วยทางกายและจิตใจ

การจราจรซ้ายมือและขวามือ
1708932589.JPG

Writer Don ID2

การจราจรซ้ายมือและขวามือ

‘ฝนราชการ’ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ วิธีรับมือเพื่อสุขภาพดีและไร้อุบัติเหตุ
1708931705.jpg

Super Admin ID1

‘ฝนราชการ’ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ วิธีรับมือเพื่อสุขภาพดีและไร้อุบัติเหตุ

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

Writer Don ID2

ส่วนนี้มุ่งขยายความเข้าใจถึง โครงสร้างกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันด้วยบทบาทของหน่วยงานต่างๆ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึง บทบาทของ สสส. ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึง 2563 ทำให้เกิดขบวนขับเคลื่อนงานทางสังคมและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งประมวลเป็นองค์ความรู้ขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ด้วยแนวคิด 5 เสาหลัก (5 pillars)