0

0

บทนำ

Highlight

• Big Quit คือปรากฏการณ์ที่พนักงานจำนวนมากลาออกจากงานโดยสมัครใจ ซึ่งเริ่มมีตั้งแต่ต้นปี 2564 ในสหรัฐอเมริกา สาเหตุเพราะค่าจ้างที่ชะงักงันท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้น หรือไม่ก็เพราะความไม่พอใจต่อหน้าที่การงานที่ทำมาอย่างยาวนาน

ผลการสำรวจเรื่อง Are you Listening?(นายจ้าง คุณฟังฉันอยู่หรือเปล่า?) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า 56% ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดที่จะออกจากงาน เนื่องจากสุขภาพจิตที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ และอีกสาเหตุมาจากภาวะหมดไฟ

องค์กรต้องปรับตัวและเข้าใจสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น ตระหนักถึงการทำงานที่ยืดหยุ่น สนับสนุนให้พนักงานลาพักงานได้โดยจ่ายเงิน หรือให้ความสำคัญกับวันหยุดพักร้อนเพื่อลดภาวะหมดไฟ

 

การลาออกครั้งใหญ่ (Great Resignation)

การลาออกครั้งใหญ่ (Great Resignation) หรือที่รู้จักกันในชื่อการออกจากงานครั้งใหญ่ (Big Quit) คือปรากฏการณ์ที่พนักงานจำนวนมากลาออกจากงานโดยสมัครใจ ซึ่งเริ่มมีตั้งแต่ต้นปี 2564 โดยหลัก ๆ เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สาเหตุอาจเพราะค่าจ้างที่ชะงักงันท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้น หรือไม่ก็เพราะพนักงานบริษัทมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้นจากเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจากโควิด-19 ที่ได้รับจากรัฐบาล รวมถึงความไม่พอใจต่อหน้าที่การงานที่ทำมาอย่างยาวนาน

จากการสำรวจในเดือนตุลาคม 2564 โดย Joblist ซึ่งครอบคลุมพนักงานจากหลากหลายอุตสาหกรรม ผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่า พวกเขามองหาความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น มองหาค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีขึ้น และเปลี่ยนลำดับความสำคัญในชีวิตของพวกเขาหลังเกิดการระบาดใหญ่ ส่งผลให้เกือบสามในสี่ (73%) ของพนักงานกล่าวว่า พวกเขากำลังคิดที่จะลาออกจากงาน

 

แต่ “ความไม่พอใจต่อหน้าที่การงานที่ทำมาอย่างยาวนาน” ดูเหมือนจะเป็นรากเหง้าของทุกสาเหตุที่ทำให้พนักงานบริษัทตัดสินใจว่าจะไม่อยู่กับบริษัทนี้อีกแล้ว ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้มีแค่เรื่องค่าแรงที่หยุดชะงัก หรือเรื่องสภาพการทำงานที่เปลี่ยนไปเพราะการระบาดใหญ่ของโควิด-19

 

การลาออกครั้งใหญ่อาจเป็นโอกาสของพนักงานเหมือนอย่างที่เกริ่นเอาไว้ตอนแรกว่า “พนักงานบริษัทมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น” เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาล (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) ทำให้พวกเขามีทางเลือกให้ชีวิตมากขึ้น มากกว่าทำงานที่จำเจเหมือนเดิม แต่สำหรับนายจ้างแล้วการลาออกครั้งใหญ่ คือวิกฤตการณ์อย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพราะมันทำให้การดำเนินการทางธุรกิจสั่นคลอนและสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งหลายคนในเวลาเดียวกัน

 

ดังนั้น ก่อนที่นายจ้างจะต้องทุกข์หนักกับการลาออกครั้งใหญ่ พวกเขาจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่าสิ่งที่รบกวนจิตใจของพนักงานคืออะไรและมันทำให้พวกเขาคิดที่จะลาออกครั้งใหญ่หรือไม่?

 

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 Uprise Health ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง Are you Listening?(นายจ้าง คุณฟังฉันอยู่หรือเปล่า?)  ถึงสิ่งที่พนักงานคาดหวังจากนายจ้างเพื่อการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต โดยทำการสำรวจผู้ใหญ่ 1,100 คน เกี่ยวกับความรู้สึกของพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาคาดหวังจากนายจ้างในอนาคต

 

การสำรวจพบว่า 56% ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดที่จะออกจากงานในช่วงการระบาดใหญ่ และหนึ่งในสี่ยอมรับว่า เหตุผลหนึ่งในการลาออกจากงานคือเรื่องของสภาพจิตใจ อีก 78% กล่าวว่า สุขภาพจิตได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ เหตุผลหลัก ได้แก่ ความรู้สึกทำงานหนักเกินไป (43%) ความคับข้องใจกับเพื่อนร่วมงานและความเป็นผู้นำ (39%) และไม่ได้รับการยอมรับในการทำงาน (28%)

 

อีกปัญหาคือการ burnout  หรือ “หมดไฟ” ในแบบสำรวจตลาดเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในปี 2561 ที่จัดทำโดย Deloitte ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 8 ใน 10 คนบอกว่า พวกเขาเคยประสบกับภาวะหมดไฟในการทำงานที่ทำอยู่ตอนนี้ อย่างไรก็ตาม เกือบ 70% ของตัวอย่างการสำรวจกล่าวว่านายจ้างของพวกเขาไม่ได้ทำอะไรมากพอที่จะลดความเหนื่อยหน่ายของพนักงานให้เหลือน้อยที่สุด และมากกว่า 20% อ้างว่าบริษัทของพวกเขาไม่ได้ทำอะไรเลย

 

 

ยิ่งในช่วงการระบาดใหญ่ภาวะ burnout ผสมเข้ากับรูปแบบการทำงานใหม่ที่มีข้อจำกัดมากขึ้น ดร.เจย์ สเปนซ์ นักจิตวิทยาคลินิกที่ Uprise Health กล่าวว่า การระบาดใหญ่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดไฟ ดังนั้นผู้นำองค์กรจะต้องใส่ใจในการยกระดับการสนับสนุนเรื่องสุขภาพจิตของทีมงานให้มากขึ้น

 

ปรากฏว่าออฟฟิศต่าง ๆ ตอบรับแนวโน้มนี้ด้วยดี ด้วยการใส่ใจกับปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 83% กล่าวว่าที่ทำงานของพวกเขาสนับสนุนประเด็นสุขภาพจิต และ 60% บอกว่ารู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับผู้จัดการเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัวของพวกเขา

 

ดร.เจย์ สเปนซ์ บอกกับ Insurance Business ว่า เทียบกับปีที่แล้ว (2564) ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก หมายความว่าที่ทำงานต่าง ๆ พยายามลบภาพลักษณ์ไม่ดีเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตออกไปและเริ่มที่จะใส่ใจกับมันมากขึ้น และตระหนักว่าการเข้าใจในปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานกระทบต่อการดึงตัวและรักษาตัวบุคลากรที่มีความสามารถเอาไว้ได้อย่างไร

 

การเข้าใจปัญหาสุขภาพจิตยังเป็นการตอบรับเทรนด์พนักงานรุ่นใหม่ด้วย เพราะเราเห็นผลกระทบของภาวะสุขภาพจิตนั้นมีผลต่อพนักงานที่อายุน้อยกว่า โดยพบว่าคนทำงานในช่วงอายุ 18-29 ปี มีอัตราส่วนถึงหนึ่งในสามเปลี่ยนงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความเครียดจากการระบาดใหญ่

 

ดร.เจย์ สเปนซ์ชี้ว่า ถ้าออฟฟิศไหนมีนโยบายดึงเอาคนรุ่น  Gen Z มาร่วมงานโดยใส่ใจปัญหาสุขภาพจิตและไม่ทำให้มันเป็นเรื่องที่น่าอับอาย มันจะทำให้คนรุ่นนี้เป็นกังวลน้อยลงเพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่รอยด่างในชีวิตอีก และพวกเขาต้องการเยียวยาจิตใจเหมือนกับความเจ็บป่วยทางกาย

 

โปรแกรมการฝึกความยืดหยุ่นและการฝึกสอนช่วยให้พนักงานจัดการกับความเครียดที่พวกเขาต้องเผชิญ และการทำแบบนี้จะต้องทำร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทีม ดร.เจย์ สเปนซ์ กล่าว และเมื่อพนักงานได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมทั้งแบบรายบุคคลและในทีม จะนำไปสู่การมีส่วนร่วม การรักษาลูกค้า และประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นสำหรับทั้งองค์กร

 

“ความยืดหยุ่น” ดูเหมือนจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหานี้ บทความใน Mindful ของ เจน ฟิเชอร์เสนอแนะว่า ในช่วงการระบาดใหญ่ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เราตระหนักถึงทางเลือกในการทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาหรือป้องกันความเหนื่อยหน่าย/หมดไฟในการทำงานได้ แต่สิ่งสำคัญไม่ได้มีแค่นี้ ฝ่ายบริหารจะต้องปรับวิธีคิดด้วยและต้องมีการเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยสนับสนุนให้พนักงานใช้ชีวิตที่สมดุลนอกเวลาทำงาน ไม่ใช่ว่าการทำงานที่ “ยืดหยุ่น” คือการไม่ต้องทำงานที่ออฟฟิศ แต่กลับคาดหวังว่าพนักงานจะออนไลน์ตลอดเวลาซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพหรือทำให้เกิดความยั่งยืนกับองค์กร

แนวทางหนึ่งในการสร้างออฟฟิศที่ยืดหยุ่นคือ ริเริ่มโปรแกรมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมาใช้และสนับสนุนระบบ PTO (ให้หยุดพักงานโดยจ่ายเงิน) แต่เท่านี้ก็ยังไม่พอ และไม่ควรริเริ่มแค่การนำโครงการสุขภาพกายสุขภาพจิตดีมาใช้แค่บางวันในสัปดาห์ วัฒนธรรมบริษัทจะต้องยอมรับแนวคิดที่ว่าผู้คนต้องการ “วันหยุดพักร้อน” และต้องสนับสนุนให้พนักงานพักร้อน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา burnout ได้ เพราะตามรายงานประจำปีของ U.S. Travel Association พบว่าชาวอเมริกันมากกว่าครึ่งไม่ได้ใช้วันหยุดพักผ่อนตามระบบ PTO ที่พวกเขาพึงทำและพึงได้

 

เจน ฟิเชอร์ ผู้เขียนบทความให้กับ Mindful บอกเล่าประสบการณ์การจัดการปัญหา burnout ของเธอเองให้ฟังว่า เมื่อหลายปีก่อนเธออยู่ในกลุ่มที่หมดไฟ แม้ว่าจะสามารถมีเวลาว่างได้มากพอสมควร แต่ก็ใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวในแต่ละปีเพื่อพักร้อน ไม่ใช่เพราะองค์กรไม่อนุญาต แต่เพราะเธอไม่ได้อนุญาตตัวเอง และเธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเธอต้องการเวลาพักผ่อนเหล่านั้นจริง ๆ หรือเปล่า

 

แต่ตอนนี้เธอลาพักร้อนตลอดทั้งปี และบอกกับตัวเองว่า แม้แต่เวลาพักร้อนจะต้องไม่เช็คอีเมลงาน ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเองแต่เพราะเธอเป็นผู้นำ และฐานะผู้นำจึงมีความคาดหวังจากคนในทีมของเธอว่าควรประพฤติตัวตามหัวหน้าอย่างไร เธอบอกว่าเธอต้องการให้คนในทีมของเธอไปพักผ่อนในวันหยุดเพื่อให้พวกเขาสามารถปลดปล่อยตัวเองจากการงานออกได้อย่างสมบูรณ์และใช้ชีวิตของพวกเขาเองได้อย่างเต็มที่

 

เจน ฟิเชอร์ สรุปแนวทางของเธอเอาไว้ว่า

1. หัวหน้าต้องทำเป็นตัวอย่าง เมื่อหัวหน้าไม่ได้ลาพักร้อน ทีมจะสังเกตเห็นและปฏิบัติตาม หัวหน้าจึงต้องแสดงให้ทีมเห็นว่าการพักผ่อนและการฟื้นตัวเป็นสิ่งที่ทำได้และจำเป็น

2. การลาพักร้อนจะต้องไม่ทำอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ เจน ฟิเชอร์ ชี้ว่าวันหยุดพักผ่อนหรือแม้กระทั่งวันส่งเสริมสุขภาพจิต ไม่ควรเป็นสิ่งที่เราต้องปิดบัง ตรงกันข้ามเธอบอกว่า “เพื่อนร่วมงานควรเปิดเผยและซื่อสัตย์เกี่ยวกับการพักผ่อนและความต้องการในการฟื้นฟูซึ่งกันและกัน เพราะท้ายที่สุดแล้ว ทีมงานจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นหากทุกคนทำผลงานได้ดีที่สุด”

3. ส่งเสริมช่วงพักสั้น ๆ การพักไม่ได้หมายถึงการพักร้อนนานเป็นสัปดาห์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพักช่วงสั้น ๆ ระหว่างเวลาทำงาน การไปรับประทานอาหารกลางวันข้างนอก หรือเดินเล่นสักพัก

 

นี่คือวิธีการเยียวยาสุขภาพจิตของคนทำงานออฟฟิศที่ “วินวิน” ด้วยกันทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง การทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำและอยู่ในกรอบเกินไป โดยเฉพาะ “ความไม่ยืดหยุ่น” รังแต่จะทำให้พนักงานหมดไฟและหมดความกระตือรือร้นที่จะก้าวต่อ ทำให้พวกเขาร่วมขบวน “การลาออกครั้งใหญ่”

 

หากองค์กรไหนเข้าใจถึงปัญหาพื้นฐานที่อยู่ในสุขภาพใจของคนทำงานแล้ว พวกเขาจะสามารถรักษาบุคลากรและทีมเอาไว้ได้ ไม่ต้องเสียเวลากับการรับคนใหม่หรือต้องรื้อโครงสร้างองค์กรกันใหม่ เพราะไม่มีใครอยากมาทำงานด้วย

 

ฉะนั้น องค์กรที่ต้องการให้คนในออฟฟิศคิดใหม่ทำใหม่ จะต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้นำองค์กรที่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างให้การพักหรือการพักร้อนเป็นวัฒนธรรม สร้างความยืดหยุ่น และหมั่นเติมไฟ เพื่อไม่ให้เกิด “การลาออกครั้งใหญ่” ของคนในองค์กร

อ้างอิง

Nath, Surina. (Febuary 17, 2022) "Mental health & the great resignation". Insurance Business.

Fisher, Jane. (December 15, 2021). "Worried About the Great Resignation? How Leaders Can Walk Their Well-Being Talk". Mindful.

0 ถูกใจ 573 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

พลิกวิกฤตการระบาดโควิด - 19 สู่บริการระบบสุขภาพวิถีใหม่
1708931705.jpg

Super Admin ID1

พลิกวิกฤตการระบาดโควิด - 19 สู่บริการระบบสุขภาพวิถีใหม่

ติดต่อเรา
1719481749.jpeg

Super Admin ID2

ติดต่อเรา

เอาชนะการตื่นนอนกลางดึก ปัญหาสุขภาพที่ถูกมองข้าม
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เอาชนะการตื่นนอนกลางดึก ปัญหาสุขภาพที่ถูกมองข้าม

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ลดความเสี่ยงโรคและตัวชี้วัดสุขภาพที่ดี s
1708931705.jpg

Super Admin ID1

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ลดความเสี่ยงโรคและตัวชี้วัดสุขภาพที่ดี s

ฝุ่น PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็ง เสี่ยงเสียชีวิตสูง ตายปีละ 7 หมื่นคน
1708931705.jpg

Super Admin ID1

ฝุ่น PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็ง เสี่ยงเสียชีวิตสูง ตายปีละ 7 หมื่นคน

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

surachet@thaihealth.or.th

Highlight

• ผลสำรวจความสุขคนทำงานในระดับประเทศ ปี 2564 พบว่าคะแนนในภาพรวมเพิ่มขึ้นทุกมิติ ยกเว้นมิติสุขภาพกายดี เนื่องจากสถานการณ์โควิด คนทำงานในองค์กรทางการศึกษามีความสุขมากที่สุด อันดับรองลงมาเป็นอุตสาหกรรมทางการเงินและประกันภัย

• ภาคการผลิตคนทำงานมีความสุขต่ำ แม้จะไม่ได้ต่ำสุด โดยตัวชี้วัดคือ ความไม่ชัดเจนในการเติบโตในงานที่ทำ, ความเหมาะสมในการพิจารณาเลื่อนขั้น ปรับค่าจ้าง, การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นกับนายจ้าง, ความพึงพอใจกับสวัสดิการ, ความคุ้มค่าระหว่างค่าตอบแทนและความเสี่ยงจากงาน ฯลฯ

• ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่มีความรวดเร็ว องค์กรจะต้องปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับเสียงของพนักงาน ในแต่ละเจเนอเรชั่นให้มากกว่าเดิม เพราะคนทำงานเริ่มมองหาคุณค่า ความหมาย ประโยชน์ต่อสังคมจากงานที่เขาทำ

เมื่อโลกขับเคลื่อนไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ โรคระบาด รวมทั้งเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้หลายองค์กรต้องรับมือกับความอยู่รอดไปพร้อม ๆ กับการดูแลบุคลากรอันเป็นฟันเฟืองสำคัญไปสู่ความสำเร็จ

ในสถานการณ์เช่นนี้นับเป็นความท้าทายขององค์กรและคนทำงานที่ต้องปรับตัว ติดอาวุธทักษะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมกับต้องดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพื่อร่วมกันเผชิญการเปลี่ยนแปลงและสร้างองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน

การสร้างเสริมสุขภาวะให้กลายเป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) จึงเป็นแนวคิดที่ถูกนำมาใช้พัฒนาบุคลากรและปรับเปลี่ยนการทำงานให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้คนทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งมีผลต่อการยกระดับขีดความสามารถขององค์กร โดยใช้ความสุขพื้นฐาน 8 ประการ (Happy 8) คือ Happy Body สุขภาพร่างกายดี, Happy Heart น้ำใจงามมีน้ำใจต่อกัน, Happy Society สังคมดีมีความรักสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชนของตน, Happy Relax ผ่อนคลายต่อสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต, Happy Brain ศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ, Happy Soul สงบ มีสติ มีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต, Happy Money ปลอดหนี้ มีเงิน รู้จักเก็บรู้จักใช้ และ Happy Family ครอบครัวดี รักครอบครัว ครอบครัวอบอุ่นและมั่นคง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (สำนัก 8) มีการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา ช่วยวางแผน เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาคนในองค์กรให้มีสุขภาวะที่ดี                  รวมพลังทุกภาคส่วนเพื่อสร้างองค์กรสุขภาวะ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาได้นำหลักด้านแนวคิดองค์กรสุขภาวะเข้าสู่ระบบขององค์กรเพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงาน

 

ความสำคัญของหลักการ Happy 8 หรือ Happy Workplace  ไม่ได้เกี่ยวเฉพาะคนทำงาน แต่รวมถึงครอบครัวและสังคมไทย ซึ่งมีคนวัยทำงานอยู่ราว  37 ล้านคน โดยคนเหล่านี้ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตอยู่ในที่ทำงาน แต่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีความสุขน้อยลง  มีความเครียดมากขึ้น ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การระบาดของโควิด-19 อีกทั้งสังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย ซึ่งจะเป็นประเด็นสำคัญใน 4-5 ปีข้างหน้า เมื่อสัดส่วนคนทำงาน คนหารายได้ให้กับครอบครัว  มีสัดส่วนลดลงในทุกองค์กร บุคลากรจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่ง สสส. มีเครื่องมือและชุดความรู้ที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้