0

0

บทนำ

สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนไทยมีตัวเลขที่ชวนตกใจ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพในประชากรกลุ่มนี้ และมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
 

เด็กไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า อัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของคนไทยอายุ 15 ปี เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ผลจากการสำรวจภายใต้โครงการขององค์การอนามัยโลกในปี 2565 พบว่าเด็กและเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.3 เท่า จากร้อยละ 3.3 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 17.6 ในปี 2565
ตัวเลขนี้นำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข และป้องกันอย่างเร่งด่วน
 

บุหรี่ไฟฟ้ามีสารเสพติดอันตราย

บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินที่มีผลทำลายสมองของเด็กตั้งแต่ในครรภ์ถึงอายุ 25 ปี ซึ่งยังเติบโตไม่เต็มที่ โดยเฉพาะต่อระบบความจำ ทำให้ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับการเรียน ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ชัก หัวใจล้มเหลว ฯลฯ
บุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อปอด ทำให้เกิดโรคปอดข้าวโพดคั่ว (Popcorn Lung) ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
บุหรี่ไฟฟ้าสร้างภาพให้เข้าใจว่า ไม่มีพิษภัยและอันตรายน้อยกว่ายาสูบรูปแบบเดิม แต่กลับมีนิโคตินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 5-9 เท่า จัดเป็นกลุ่มสารเสพติดชนิดใหม่ โดยในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเสพติดกว่า 2,000 ชนิด ซึ่งไม่เคยรู้จัก และไม่เคยพบในบุหรี่มวนมาก่อน


 

กลิ่นรสหอมหวานเคลือบพิษ

เด็กและเยาวชนตกเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาดของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้า Gen 5 หรือ Toy Pod ถูกออกแบบมาให้เข้ากับความชอบของคนรุ่นใหม่ เพื่อดึงดูดและหลอกล่อให้ทดลองสูบ โดยมีรูปโฉมคล้ายตุ๊กตา การ์ตูน ของเล่น กล่องขนม ขวดน้ำผลไม้ เครื่องเขียน ฯลฯ ทั้งยังมีขนาดเล็ก สีสันสะดุดตา ทำให้พิเศษ เช่น มีชื่อเฉพาะ ขายเป็นชุดให้สะสม เป็นต้น
บุหรี่ไฟฟ้ารุ่นใหม่มีหลากกลิ่นรส หอมหวาน สูบง่าย ไม่ระคายคอ โดยใช้นิโคตินสังเคราะห์ที่มีนิโคตินสูงร้อยละ 3-5 สูบได้นานถึง 8,000-15,000 พัฟฟ์
องค์การอนามัยโลกระบุว่า เมื่อปี 2564 มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ารสชาติต่าง ๆ กว่า 16,000 ชนิด ปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ 20,000 ชนิด ด้วยควันที่ไม่มีกลิ่นทำให้เด็ก ๆ คิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย




 

เข้าถึงเป้าหมายผ่านสื่อออนไลน์

บุหรี่ไฟฟ้าลักลอบขายผ่านสื่อโซเชียลซึ่งเข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนได้ง่าย พบโฆษณาและการส่งเสริมการขายทางอินเตอร์เน็ตจากร้อยละ 27 ในปี 2558 เพิ่มเป็นร้อยละ 48 ในปี 2565
จากรายงานการเฝ้าระวังการตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อออนไลน์ ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า มีการลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อออนไลน์จำนวน 309 บัญชีรายชื่อ มีการโพสต์ 605 ครั้ง โดยใช้แพลตฟอร์มเอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) ร้อยละ 29.1  เฟซบุ๊ก ร้อยละ 26.9 อินสตาแกรม  ร้อยละ 17.5 เว็บไซต์ ร้อยละ 15.2 ไลน์ ร้อยละ 7.4 ติ๊กต๊อก ร้อยละ 3.6 และยูทูบ ร้อยละ 0.3  
โดยเน้นโพสต์เพื่อสร้างการรับรู้ถึงตัวผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า มีการดึงดูดใจด้วยลดราคา แจก แถม จัดส่งฟรีถึงบ้าน มีเก็บเงินปลายทาง ฯลฯ

 

เร่งเครื่องสกัดบุหรี่ไฟฟ้า

ผลวิจัยพบว่า นักสูบหน้าใหม่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ในประเทศไทยบุหรี่ไฟฟ้าระบาดในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมขึ้นไป ที่น่าตกใจคือ พบเด็กอายุ 7 ขวบ พกบุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบกล่องนมเข้าไปโรงเรียน
นั่นทำให้พ่อแม่ ครู และโรงเรียน ต้องรู้จักพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ ต้องเฝ้าระวังและรู้เท่าทันกลยุทธ์ของผู้ผลิตและจำหน่าย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลกับประชาชน และเร่งรัดบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องจริงจัง จับกุมผู้กระทำความผิดที่ลักลอบนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าบนสื่อออนไลน์ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า โดยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทุกภาคส่วน

 

อ้างอิง

- สสส. เดินหน้ารณรงค์ “วาเลนไทน์ ฟิน อิน เลิฟ” ชวนวัยรุ่นไทย ใส่ใจสุขภาพ ห่วงเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่ม 5.3 เท่า เข้าถึงโฆษณา-แหล่งขายออนไลน์ 48%, https://shorturl.asia/0tIvc
- อึ้ง! บุหรี่ไฟฟ้าแปลงร่างเป็น “Toy pod ” พบลักลอบขายออนไลน์ อื้อ! ชี้รัฐต้องบังคับใช้กม.จริงจัง, https://shorturl.asia/341oY
- พิษร้าย "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำลายสมองเด็ก วิจัยพบสารเคมี 2 พันชนิด, https://shorturl.asia/341oY
- ชี้เล่ห์บุหรี่ไฟฟ้าเลียนแบบของเล่น, https://shorturl.asia/341oY
 

0 ถูกใจ 546 การเข้าชม

งานบทความที่กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ

อิทธิพลของเอลนีโญต่อฝุ่น PM2.5 ปี 2567 กับภัยคุกคามสุขภาพที่รุนแรงขึ้น
1708931705.jpg

Super Admin ID1

อิทธิพลของเอลนีโญต่อฝุ่น PM2.5 ปี 2567 กับภัยคุกคามสุขภาพที่รุนแรงขึ้น

การสื่อสารระหว่าง Generation Gap เปลี่ยน ‘ช่องว่าง’ ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์
1708931705.jpg

Super Admin ID1

การสื่อสารระหว่าง Generation Gap เปลี่ยน ‘ช่องว่าง’ ให้เป็นพื้นที่สร้า...

ส่วนที่ 2 กระบวนการและกลไกสร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อจัดการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางถนน
1708932589.JPG

Writer Don ID2

ส่วนที่ 2 กระบวนการและกลไกสร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อจัดการแก้ไขปัจจัยเสี่...

รู้เท่าทัน ‘ไข้เลือดออก’ ภัยร้ายคุกคามชีวิต
1708931705.jpg

Super Admin ID1

รู้เท่าทัน ‘ไข้เลือดออก’ ภัยร้ายคุกคามชีวิต

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน   ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป
1708931705.jpg

Super Admin ID1

เมื่อเข้าใจหัวอกพนักงาน ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ก็จะหมดไป

งานบทความที่เกี่ยวข้อง

admin

บุหรี่เป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้าน

หนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสารอื่น ๆ เช่น กัญชา

บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กกว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน